วัดผดุงสุข (จารึกวัดถิ่นตุง)


ละติจูด 18.004901 , ลองจิจูด 103.064643

พิกัด

ตำบลวัดหลวง อำเภออำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย รหัสไปรษณีย์ 20140

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดผดุงสุข หรือวัดถิ่นตุง สันนิษฐานว่าเป็นวัดดังเดิมที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ชื่อว่าวัดศรีสุวรรณ สิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่ ศิลาจารึก มีลักษณะเป็นรูปใบเสมา โดยศิลาจารึกวัดผดุงสุขนี้ มี 2 หลัก กรมศิลปากร พบในขณะสำรวจเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งเดิมปักอยู่หน้าพระประธาน ภายหลังสร้างโบสถ์ใหม่ย้ายมาปักไว้ด้านหลังโบสถ์ เนื้อหาโดยสังเขปของศิลาจารึก ด้านที่ 1 พระยาปากเจ้า (เจ้าเมืองปากห้วยหลวง) และเจ้านายอื่น ๆ ได้อุทิศที่ดินแก่พระเถระฝ่ายอรัญวาสี เมื่อปี พ.ศ. 2113 ด้านที่ 2 ปรากฏนามพระสุมังคลไอยโกโพธิสัตว์ ข้อความต่อจากนี้ชำรุด ตอนท้ายกล่าวถึงการอุทิศที่ดิน และอาณาเขตของที่ดินที่อุทิศ ใน ปี พ.ศ. 2115 สามารถกำหนดอายุของศิลาจารึกได้จากข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 932 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2113 และข้อความจารึกด้านที่ 2 บรรทัดที่ 7 ระบุศักราช 934 คือ จ.ศ. 934 ตรงกับ พ.ศ. 2115 อันเป็นช่วงปลายสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2093-2115) ถึงต้นสมัยพระสุมังคลไอยโกโพธิสัตว์ (พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย) (ครั้งที่ 1 ; พ.ศ. 2115-2117) ปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2022-11-08

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร