วัดมณีโคตร (ปากห้วยหลวง)


ละติจูด 18.01879 , ลองจิจูด 103.07735

พิกัด

ตำบลจุมพล อำเภออำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย รหัสไปรษณีย์ 43120

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดมณีโคตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 ตามหลักศิลาจารึกด้วยตัวหนังสือไทยน้อย ได้กล่าวว่าพระโพธิวรวงศาได้มีพระราชโองการอุทิศที่ดินแก่วัดที่เมืองปากห้วยหลวง (ชื่อเดิมของอำเภอโพนพิสัย) ต่อมาทางการได้เปลี่ยนชื่อวัดปากห้วยหลวง เป็น วัดมณีโคตร ซึ่งแปลว่าแก้วอันมีค่า วัดมณีโคตรจึงแปลว่าวัดที่มีมณีอันมีค่ามาก เป็นวัดที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระเสี่ยง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่กษัตริย์ล้านช้างสร้างขึ้นให้เป็นพระเสี่ยงทายประจำเมือง และใช้เป็นพระเสี่ยงทายในโอกาสเสด็จขึ้นครองราชย์ หรือมีเหตุการณ์สำคัญ ในโอกาสต่าง ๆ กาลต่อมาเมื่อมีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้น และเพื่อความปลอดภัย จึงได้อัญเชิญมาจากอาณาจักรล้านช้าง ในคราวเดียวกันกับการอัญเชิญหลวงพ่อพระสุก พระเสริม พระใส และประดิษฐานไว้ที่วัดมณีโคตร อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย เพื่ออัญเชิญเข้าสู่เมืองหลวงของสยามประเทศ โดยอัญเชิญพระเสี่ยงขึ้นบนหลังช้าง ซึ่งพระเสี่ยงได้แสดงอภินิหาร ให้ช้างหนักจนไม่สามารถเดินทางไปได้ แล้วตกลงจากหลังช้าง เป็นเหตุให้พระกรรณบิ่น พระเกศคด ชาวเมืองจึงเชื่อว่า วัดมณีโคตร น่าจะเป็นสถานที่ประดิษฐานถาวร จึงได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ที่นี่ ตั้งแต่บัดนั้นจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังพบจารึกวัดมณีโคตร มีเนื้อหาโดยสังเขป คือ เป็นพระราชโองการของสมเด็จพระโพธิวรวงศา อุทิศที่ดินแก่วัดที่เมืองปากห้วยหลวง และได้กล่าวถึงพระนามสมเด็จสังฆราชวัดกลาง เมืองจันทบุรี (เวียงจันทน์) และพระนามของ พระเจ้าชมพู และพระเจ้าตนหล้า ซึ่งเป็นกษัตริย์ของล้านช้าง อีกด้วย สามารถกำหนดอายุได้ตามข้อความจารึกด้านที่ 2 บรรทัดที่ 20 ระบุ จ.ศ. 963 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2144 อันเป็นสมัยที่พระวรวงศาธรรมิกราชปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ. 2141-2165) (ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย กำหนดอายุจารึกหลักนี้เป็น พ.ศ. 2118)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2022-11-08

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร