วัดหินหมากเป้ง


ละติจูด 17.98363 , ลองจิจูด 102.42864

พิกัด

ตำบลพระพุทธบาท อำเภออำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดหินหมากเป้ง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2482 เป็นสถานที่เก็บรวบรวมหลักหินและเสมาหิน โดยเฉพาะเสมาหินสมัยทวารวดี ที่นำมาจากบริเวณวัดอรัญญา (ดงนาคำ) อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย ตามประวัติกล่าวว่ามีจำนวน 52 ชิ้น คำว่า หินหมากเป้งเป็นชื่อหิน 3 ก้อน ที่ตั้งเรียงรายกันอยู่ริมฝั่งโขง ด้านทิศเหนือของวัด ซึ่งมีลักษณะคล้ายลูกตุ้มเครื่องชั่งทองคำสมัยโบราณ คนพื้นถิ่นเรียกว่า เต็งหรือเป้งยอย (หมากเป้งเป็นผลของต้นไม้ตระกูลปาล์มหรือหมากชนิดหนึ่ง) ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่าหินก้อนที่ 1 เป็นของหลวงพระบาง หินก้อนที่ 2 เป็นของบางกอก ส่วนหินก้อนที่ 3 เป็นของเวียงจันทร์ (หินทั้ง 3 ก้อน จะมองเห็นได้เฉพาะในมุมมองจากแม่น้ำโขง หรือมุมมองจากฝั่งลาว) วัดหินหมากเป้ง ปัจจุบันเป็นหนึ่งในวัดสำคัญของพระสายวิปัสสนากรรมฐาน ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมากในสมัยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์) ลูกศิษย์รูปหนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่ได้เข้ามาจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้เมื่อ พ.ศ.2508 และได้ริเริ่มจัดตั้งให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของภิกษุสงฆ์ แม่ชี และผู้แสวงบุญทั้งหลาย สิ่งสำคัญภายในวัดหินหมากเป้งคือ หลักหินและเสมาหินมากกว่า 20 หลัก ปักอยู่ในพื้นดินด้านหน้าอาคารหอสมุดของวัด มีทั้งที่ค่อนข้างสมบูรณ์และเป็นชิ้นส่วนแตกหักขนาดเล็ก ในจำนวนนี้มีเสมา 6 หลักที่ปรากฏภาพสลักสถูป (ข้อมูลจากเว็ปไซต์ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน) http://sac.or.th/)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -