ละติจูด 18.775688 , ลองจิจูด 100.771769
พิกัด
ตำบลผาสิงห์ อำเภออำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน รหัสไปรษณีย์ 55000
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
เมืองเก่า เมืองประวัติศาสตร์
ความสำคัญ/ลักษณะ
เมืองน่านปรากฏครั้งแรกในหลักศิลาจารึกสุโขทัยราวปี พ.ศ.1915 ในปี พ.ศ.2317 เจ้าเมืองน่านยอมสวามิภักดิ์กับฝ่ายไทย ในปี พ.ศ. 2331 ต่อมาในปี พ.ศ.2360 เมืองน่านเกิดอุทกภัย จึงได้ย้ายเมืองไปตั้งขึ้นใหม่ ณ บริเวณดงพระเนตรช้างทางตอนเหนือเรียกว่าเมืองเวียงเหนือ เมืองน่านตั้งอยู่ที่เมืองเวียงเหนือมาจนถึงปี พ.ศ.2398 แม่น้ำน่านได้เปลี่ยนเส้นทางออกห่างจากบริเวณกำแพงเมืองเก่าไปมาก จึงได้ย้ายเมืองกลับไปตั้งยังที่เดิมและสร้างกำแพงเมืองขึ้นใหม่ ใน ปี พ.ศ.2474 ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครจึงถูกยุบนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมืองน่านก็ได้กลายเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของน่านที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งโบราณคดีเขาหินแก้ว แหล่งโบราณคดีเขาชมพู แหล่งโบราณคดีดอยปู่แก้ว แหล่งโบราณคดีดอยภูทอก แหล่งโบราณคดีบ้านนามน แหล่งโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มี ได้แก่ เตาเผาบ้านบ่อสวก จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีจะเห็นได้ว่าเมืองน่านเป็นชุมชนและเมืองโบราณที่มีอายุเก่าแก่เมืองหนึ่งในดินแดนล้านนาตะวันออกโดยที่ตั้งของตัวจังหวัดปัจจุบันตั้งซ้อนทับบนตัวเมืองโบราณเดิม มีการย้ายถิ่นฐานและสร้างเมืองใหม่อยู่หลายครั้ง เนื่องมาจากการปรับที่ตั้งให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และปัจจัยด้านอื่น ๆ เช่น ความต้องการที่จะเชื่อมต่อกับเมืองและอาณาจักรใกล้เคียง ความจำเป็นในการขยายเมืองเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ฯลฯ ทั้งนี้ พบว่าในเขตเมืองน่านมีเมืองโบราณที่สำคัญ 3 แห่ง ด้วยกัน คือ 1) เวียงพระธาตุแช่แห้ง ในสมัยสุโขทัย (พ.ศ.1902) ได้สร้างกำแพงเมือง-คูเมืองล้อมรอบพระธาตุแช่แห้ง ลักษณะผังเมืองเวียงพระธาตุแช่แห้งในสมัยโบราณ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน กว้างประมาณ 350 เมตร ยาวประมาณ 500 เมตร โดยมีองค์พระธาตุแช่แห้งซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาเป็นศูนย์กลางของเมืองและชุมชน ปัจจุบันคูน้ำคันดินที่เป็นคูเมืองและกำแพงเมืองถูกทำลายไปเกือบหมดคงเหลือแต่แนวคันดิน ด้านทิศเหนือและทิศใต้ ซึ่งมีพันธุ์ไม้รกเรื้อปกคลุมอยู่ และนอกเมืองทางทิศตะวันตกมีหนองน้ำขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 25 – 30 เมตร เรียกว่าหนองเต่า 2) เมืองน่าน ประมาณ พ.ศ.1911 เวียงพระธาตุแช่แห้งเกิดความแห้งแล้งกันดาร จึงย้ายที่ตั้งเมืองข้ามมาทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน และสร้างกำแพงเมือง-คูเมืองล้อมรอบที่ราบบริเวณที่สูงกว่าระดับแม่น้ำน่านท่วม ลักษณะของกำแพงเมือง-คูเมืองเป็นรูปแบบตามที่พัฒนาจากเมืองป้อมภูเขา มีการขุดคูลึกต่างระดับบนขอบเนินเพื่อใช้ในการระบายและกักเก็บน้ำเป็นบางส่วน บนขอบคูด้านในเมืองยกคันดินสูงใช้ในการป้องกัน พ.ศ.1969 มีการก่อกำแพงเมืองขึ้นใหม่โดยใช้ไม้ซุงทั้งท่อนตามแนวกำแพงเมืองเดิมเพื่อเป็นป้อมปราการชั้นนอก 3) เวียงดงพระเนตร ในปี พ.ศ.2360 เมื่อน่านเกิดอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ จึงย้ายเมืองขึ้นไปตั้งบนที่ดอนบริเวณดงเพนียดช้างหรือดงพระเนตรทางตอนเหนือของเมืองน่าน โดยสร้างกำแพงเมือง- คูเมืองล้อมรอบบริเวณขึ้นใหม่เรียกว่าเวียงเหนือ ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านมหาโพธิ์ และบ้านเวียงเหนือ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองน่าน ห่างจากตัวเมืองน่านขึ้นไปทางเหนือระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร กำแพงเมืองและคูเมืองสร้างขึ้นเป็นแบบเส้นตรงรูปสี่เหลี่ยม ล้อมรอบบริเวณ 2 ชั้น ชั้นนอก ขนาด 1,328x1,531 เมตร คูขุดลึกใช้ระบายและกักเก็บน้ำเป็นช่วง ๆ ขอบคูด้านในเป็นคันดินสูงมีป้อมและเชิงเทินใช้ประโยชน์ในการป้องกัน ชั้นในขุดเป็นคูคันดินล้อมรอบบริเวณกว้างยาว 394x678 เมตร กำแพงเมือง-คูเมืองด้านติดแม่น้ำน่าน ไม่พบหลักฐานว่าเคยมีอยู่แต่เดิมหรือไม่ แต่ได้พบหลักฐานการกัดเซาะของแม่น้ำน่านทำให้แผ่นดินติดแม่น้ำพังลง ปัจจุบันมีการสำรวจพบส่วนของป้อมก่ออิฐทรงแปดเหลี่ยมบริเวณค่ายทหารสุริยพงษ์ สันนิษฐานว่าเป็นส่วนหนึ่งของป้อมกำแพงคุ้มหลวงหรือคุ้มแก้ว อย่างไรก็ตามแนวคูเมืองกำแพงเมืองนั้นได้ สูญหายไปหมดแล้วเนื่องจากการพัฒนาเมือง และสันนิษฐานว่า เวียงดงพระเนตรอาจมีวัดมหาโพธิ์เป็นวัดหลวงเนื่องจากบริเวณบ้านมหาโพธิ์เป็นที่ตั้งของชุมชนซึ่งเป็นศูนย์กลางของเวียงเหนือ
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
1. ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าน่าน เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2549
แก้ไขเมื่อ
2018-11-08
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | รายละเอียด | งบประมาณ | เอกสาร | สถานะ |
---|
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | งบประมาณ | วันที่รายงาน | เอกสาร |
---|