ย่านชุมชนเก่าบ้านหนองบัว


ละติจูด 19.0885367053 , ลองจิจูด 100.785588661

พิกัด

บ้านหนองบัว หมู่ที่ 4 ตำบลป่าคา อำเภออำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน รหัสไปรษณีย์ 55140

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

ย่านชุมชนเก่า

ความสำคัญ/ลักษณะ

ประวัติศาสตร์ย่านชุมชน : ชุมชนบ้านหนองบัวเป็นชาวไทลื้อที่สืบเชื้อสายมาจากเมืองล้า แคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  ส่วนตำบลป่าคาจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2547  ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่  23 กุมภาพันธ์  2540

           ภูมิประเทศ : ที่ราบลุ่มแม่น้าน่านทางทิศเหนือของจังหวัด ในอำเภอท่าวังผาและอำเภอปัว เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์       คำว่า “ท่าวังผา” บ่งบอกให้เห็นสภาพภูมิประเทศซึ่งมีลักษณะเป็น “วัง” อุดมด้วยปลานานาชนิด สองฝั่งแม่น้ำน่านขนาบด้วยหน้าผาสูงชันสายน้ำสายนี้ในอดีตเคยเป็นเส้นทางขนส่งของป่า

           กายภาพสำคัญ : ครอบครัวไทลื้อเป็นครอบครัวใหญ่มีสืบทอดวงศ์ตระกูลจากรุ่นสู่รุ่น จึงมีการสืบสานประเพณีโบราณไว้อย่างถาวรแม้กาลเวลาจะผ่านมาเกือบ  200  ปี ได้แก่ การทำการเกษตรเป็นอาชีพหลักของคนในชุมชน การทำไม้กวาด จักสานไม้ไผ่ นอกจากนั้นชุมชนบ้านหนองบัว มีประเพณีกำเมือง ตลอดถึงการทำบุญวันสำคัญทางศาสนา การแต่งกายด้วยผ้าทอ (ลายน้ำไหลไทลื้อ)  ที่เป็นอาชีพทำรายได้ให้กับชุมชน  ภาษาไทลื้อที่ใช้สื่อสารในชุมชน ดนตรีพื้นบ้าน การฟ้อนไทลื้อ  อีกทั้งด้านอาหารทำให้คนทั่วประเทศได้รู้จักบ้านหนองบัว คือสาหร่าย ไก และมีอาหารพื้นเมืองที่ต้อนรับนักท่องเที่ยว และคณะศึกษาดูงานต่างๆ เช่น ไกยี ไกแผ่น  แกงแคไก่เมือง  หัวอิยอ(บุกวุ้น)  ไข่ป่าม  น้ำพริกตาแดง  น้ำพริกน้ำผัก  ตลอดถึงการทำขนมปาด  ขนมเทียนแก้ว  ข้าวต้มมัด  ข้าวแคบ    

          สังคม-เศรษฐกิจ : สังคมเกษตรกรรมชนบทยังมีการอนุรักษ์กิจกรรมประเพณีโบราณไว้ มีการพัฒนากลุ่มอาชีพขนาดเล็กของชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยว มีกองทุนในหมู่บ้านอีกมากมาย เพื่อส่งเสริมอาชีพต่างๆ

          ชาติพันธุ์ : ไทยลื้อ

ชุมชนบ้านหนองบัว สภาพพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1,310 ไร่ หรือ 2.096 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่อาศัย 361 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 869 ไร่ และที่สาธารณะ 80 ไร่ การใช้พื้นที่ย่านชุมชนเก่าหนองบัว  แบ่งเป็นด่านใน (ในหมู่บ้าน)  90 เปอร์เซ็นต์ ที่ชาวไทลื้อได้ใช้ในด้านศิลปะ วัฒนธรรม การแสดงประเพณีวัฒนธรรม และพิธีกรรมต่างๆ ของชุมชนบ้านหนองบัว ตลอดทั้งการแปรรูปสาหร่าย การทอผ้า การจักสาน การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่บริเวณหนองบัวหรือหนองหยิบ และกิจกรรมอื่นๆ จะอยู่บริเวณไจกลางบ้านชุมชนในส่วนการประกอบอาชีพการเกษตรจะใช้ด่านนอก ลูกหลานไทลื้อบ้านหนองบัวได้สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามในการดำเนินตามวิถีชีวิต ทุกๆ  ด้านจนถึงปัจจุบัน แม้โลก   จะแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา  บ้านเรือนที่อยู่อาศัยได้สร้างแบบยุคปัจจุบัน  แต่ยังคงให้ลูกหลานได้ดูบ้านจำลองไทลื้อ  อาหารพื้นเมืองชุมชนที่บรรพบุรุษกินกันมาเกือบ 200 ปี การได้นำวัสดุในชุมชนมาแปรรูปเป็นสินค้า OTOP หนึ่งเดียวของประเทศ และเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ทั้งในและนอกประเทศ คือสาหร่ายน้ำจืด หรือบ้านเราเรียก  ไก

ย่านชุมชนเก่าบ้านหนองบัว  เป็นชุมชนไทลื้อที่สืบเชื้อสายมาจากแคว้นสิบสิงปันนา  มากกว่า 199 ปี  แต่ยังคงรักษาลักษณะทางกายภาพของการตั้งถิ่นฐาน และอาคารบ้านเรือน  แม้จะมีการปลูกสร้างแบบสมัยใหม่ตามยุคปัจจุบันแต่คงรักษาความเป็นย่านชุมชนเก่า คือความสะอาดของชุมชน  ซึ่งนับเป็นความภูมิใจของชาวไทลื้อ ที่นักท่องเที่ยวและคณะศึกษาดูงานได้ชื่นชมจนได้รับเป็นส่วนดีของจังหวัดน่านเป็นหมู่บ้านที่สะอาดที่สุด ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีกำเมืองที่ลูกหลานไทลื้อ ยังคงรักษาไว้อย่างมั่นคงถาวรจนถึงปัจจุบัน  

ย่านชุมชนเก่าบ้านหนองบัว  ถึงแม้จะผ่านมาหลายร้อยปี มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพไปตามพัฒนาการ แต่ยังคงปรากฏลักษณะอาคารบ้านเรือนแบบดั้งเดิมให้เห็นอยู่ รวมถึงองค์ประกอบสำคัญ เช่นวัด และประเพณีกำเมือง เป็นประเพณีที่ชาวไทลื้อปฏิบัติสืบทอดกันทุกๆ สามปี คือ ประเพณีกำเมือง เป็นประเพณีเลี้ยงเทวดาหลวง  หรือเจ้าหลวงเมืองล้า ของชาวไทลื้อบ้านหนองบัว   ซึ่งมีบรรพบุรุษที่สืบเชื้อสายมาจากเมืองล้า  แคว้นสิบสองปันนา  มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  ประเพณีบวงสรวงเจ้าหลวงเมืองล้า “ประเพณีกำเมือง” จะจัดทุกๆ 3 ปี หรือเรียกว่า “3 ปี 4 รวงข้าว” (คือก่อนปลูกข้าวครั้งที่ 4)  โดยชาวไทลื้อจะต้องเข้าพิธี “เข้ากรรม” ห้ามออกจากหมู่บ้านตลอด 3 วัน และห้ามคนต่างถิ่นเข้ามาในหมู่บ้าน ประเพณีจะเกิดขึ้นในเดือนข้างขึ้น 13 ค่ำ หรือประมาณเดือนธันวาคม  ซึ่งในพิธีจะมีการถวายหมู 2 ตัว ควาย 1 ตัว วัว 1 ตัวและ ไก่ 12 ตัว เพื่อเลี้ยงเทวดาในวันที่ 2 ของงาน ประเพณีนี้จะเป็นการรวมตัวกันของลูกหลานในชุมชนบ้านหนองบัว ที่ไปอาศัยต่างจังหวัดหรือต่างพื้นที่จะกลับเข้ามาร่วมพิธีกรรมทุกคน   โดยยึดเอาเจ้าหลวงเมืองล้า  เป็นจุดศูนย์รวมใจ และสิ่งยึดเหนี่ยวของคนในชุมชน

แม้กาลเวลาจะผ่านมาร้อยกว่าปี ย่านชุมชนเก่าบ้านหนองบัว ได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ ด้านสิ่งปลูกสร้าง ถนนหนทางสัญจรไปมาสะดวกสบายความรวดเร็ว  ส่วนด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้เจริญตามยุคโลกาภิวัตน์  แต่ในความเป็นอยู่ของคนไทลื้อ ยังคงได้มีการสืบสานและสืบทอดภูมิปัญญาที่มีความดั้งเดิมอยู่ ตัวอาคารบ้านเรือน วิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมยังแสดงถึงความเป็นย่านชุมชนเก่าบ้านหนองบัว ดังนี้

         “5 ภูมิวัฒนธรรม ”  นำย่านชุมชนเก่าหนองบัวเข้มแข็ง (199 ปี)

         1  ภูมิหลัง  ชาวไทลื้อหนองบัวที่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษมาจากเมืองล้า แคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนาน  ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีเชื้อสายชาตินักรบมีความอดทนอดกลั้นและกล้าหาญ รักสามัคคี โดยได้อพยพมาตั้งรกรากที่จังหวัดน่าน ในสมัยพญามหายศเป็นเจ้าผู้ครองเมืองน่าน  ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2365 ,ค.ศ. 1822) จนถึงปัจจุบัน

         2  ภูมิเมือง  การบริหารจัดการแผนผังของหมู่บ้าน การวางผังเมืองที่ตั้งของชุมชนที่เหมาะสมเป็นระเบียบสะอาด และมีความเป็นอยู่แบบพอเพียงมีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สะท้อนตำนานความเป็นมาของชุมชน และมาจากผลผลิตของชุมชนที่มีจุดขาย ได้แก่ ผ้าทอไทลื้อ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสาหร่ายน้ำจืด  หริแ ไก ชุมชน้านหนองบัวมีความพร้อมที่จะทำการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิถีชีวิตเชิงวัฒนธรรมได้มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรมของไทลื้อ (แคว้นสิบสองปันนา)

         3  ภูมิวงศ์  ต้นตระกูลอพยพมาจากบ้านต๋อมหนองบัว อำเภอเมืองล้า แคว้นสิบสองปันนา (เชียงรุ้ง) ประเทศจีนชุมชนบ้านหนองบัว มีระบบการสืบทอดเชื้อสาย การสืบทอดระบบเครือญาติมานาน ระบบเครือญาติรู้จักกันเกือบทั้งหมด ในหมู่บ้าน ซึ่งตระกูลใหญ่ๆ  ในหมู่บ้านประกอบด้วย ปรารมภ์  อินต๊ะแสน  ภิมาลย์  เทพเสน  จันต๊ะยอด  ท้าวฮ้าย ฯลฯ ทำให้การทะเลาวิวาทจึงมีน้อยหรือแทบจะไม่มี

         4  ภูมิธรรม  (ประเพณี ศาสนา ความเชื่อ) ประเพณีที่ชาวไทลื้อปฏิบัติสืบทอดกันทุกๆ สามปี คือ ประเพณีกำเมือง  เป็นประเพณีเลี้ยงเทวดาหลวง หรือเจ้าหลวงเมืองล้า ของชาวไทลื้อบ้านหนองบัว  ซึ่งมีบรรพบุรุษที่สืบเชื้อสายมาจากเมืองล้า แคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเพณีบวงสรวงเจ้าหลวงเมืองล้า “ประเพณีกำเมือง”  จะจัดทุกๆ 3 ปีหรือเรียกว่า “3 ปี 4 รวงข้าว” (คือก่อนปลูกข้าวครั้งที่ 4) โดยชาวไทลื้อจะต้องเข้าพิธี “เข้ากรรม” ห้ามออกจากหมู่บ้านตลอด 3 วัน และห้ามคนต่างถิ่นเข้ามาในหมู่บ้าน ประเพณีจะเกิดขึ้นเดือนขึ้น 13 ค่ำ หรือประมาณเดือนธันวาคม ซึ่งในพิธีจะมีการถวายหมู 2 ตัว ควาย 1 ตัว   วัว 1 ตัวและ ไก่ 12 ตัว เพื่อเลี้ยงเทวดาในวันที่ 2 ของงาน ประเพณีนี้จะเป็นการรวมตัวกันของลูกหลานในชุมชนหนองบัวที่ไปอาศัยต่างจังหวัดหรือต่างพื้นที่จะกลับเข้ามา ร่วมพิธีกรรมทุกคน โดยยึดเอาเจ้าหลวงเมืองล้า  เป็นจุดศูนย์รวมใจ และสิ่งยึดเหนี่ยวของคนในชุมชน

         5  ภูมิปัญญา  ชุมชนบ้านบ้านหนองบัวมีภาษาท้องถิ่นที่ใช้ในการสื่อสารที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน คือ ภาษาไทลื้อด้านศิลปวัฒนธรรม มีจิตรกรรมฝาผนังวัดหนองบัว ซึ่งเป็นภาพเขียนจันทรคราสชาดก เป็นภาพเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา  ซึ่งคนวาดมาจากลาวพวน มีอายุประมาณ 154 ปี (พ.ศ.2410)  1. ด้านการแต่งกาย มีการทอผ้าซึ่งเป็นศิลปะของชาวไทลื้อคือ ผ้าทอไทลื้อ ซึ่งมีตำนานต้นกำเนิดมา ตั้งแต่การก่อตั้งซึ่งมีปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารวัดหนองบัว โดยมีลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ได้แก่ “ซิ่นม่านลายยกดอก, ซิ่นม่านลายมัดก่าน” เป็นต้น  2. ด้านอาหาร ที่หลากหลาย และที่ขึ้นชื่อคือ สาหร่ายไก ซึ่งเป็นสาหร่ายท้องถิ่น จะมีอยู่ในเฉพาะที่แหล่งน้ำไหลผ่านและมีความสะอาดโดยแปลรูปออกเป็น ห่อนึ่งไก ไกแผ่น ไกหยี่ คั่วไก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชุมชน และมีอาหารพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อใช้รับรองนักท่องเที่ยว ได้แก่ แกงแคปลาย่างจากผักสมุนไพรพื้นบ้าน, น้ำพริกน้ำผัก, ข้าวแคบ, ไข่โอม (ไข่ปาม), หัวอิย่อ เป็นต้น 3. ด้านดนตรีซะล้อ ซอ ปิน เป็นดนตรีพื้นเมืองล้านนา  ฟ้อนไทลื้อ ฟ้อนปั่นฝ้าย  การทำบายศรีสู่ขวัญ 4. บ้านจำลองไทลื้อมีจำนวน 2 หลัง ที่วัดหนองบัว และโฮมสเตย์บ้านไทลื้อ เนื่องจากเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา เนื่องจากบ้านมีสภาพเก่าและเกิดน้ำท่วม จึงมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงบ้านเรือนที่อยู่อาศัย 5. ด้านสมุนไพร สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย จะนำสมุนไพรมาใช้ประกอบอาหาร เช่น จะข่านใส่แกงแค แกงบอน แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ,ใบเตย,ต้นสปายควาย,ปู่เลย (ไพร) ,ต้นฮ่อม ( รักษาอาการไข้โดยใช้ใบมาคั้นน้ำและต้มกิน)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

ย่านชุมชนเก่าหนองบัว ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา  เช่น ด้านสิ่งปลูกสร้าง  ถนนหนทางสะดวกสบายความรวดเร็ว  ส่วนทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม ได้เจริญตามยุคโลกาภิวัตน์ แต่ในความเป็นอยู่ของคนไทลื้อ ยังคงได้สืบสานและสืบทอดภูมิปัญญาที่มีความดั้งเดิมให้เห็นอยู่จนถึงปัจจุบัน เพราะลูกหลานไทลื้อได้ช่วยกันดูแลและสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นเพราะได้ตระหนักถึง  5  ภูมิวัฒธรรม อยู่ในสายเลือดที่ยาวนาน

แก้ไขเมื่อ

2021-10-20

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร