ย่านชุมชนเก่าบ้านหนองม่วง


ละติจูด 19.0748015043 , ลองจิจูด 100.794868376

พิกัด

บ้านหนองม่วง หมู่ที่ 4 ตำบลป่าคา อำเภออำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน รหัสไปรษณีย์ 55140

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

ย่านชุมชนเก่า

ความสำคัญ/ลักษณะ

ชุมชนบ้านหนองม่วง : เมื่อปี พ.ศ. 2310  มีพ่อหลวงแสน แม่คำเอื้อย คำวัง เป็นผู้ริเริ่มปลูกบ้านขึ้นทางทิศตะวันตกของฝั่งหนองน้ำ และมีต้นมะม่วงต้นใหญ่ขึ้นอยู่ริมขอบหนองน้ำนั้น ต่อมาชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านหนองม่วง” ซึ่งเป็นชนชาติพันธุ์ไตรเขินตามประวัติอันยาวนานอพยพมาจากเมืองเชียงตุง ประเทศเมียนมา เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 ผ่านมาร่วม 250 ปี มีเอกลักษณ์ของชาติพันธุคือภาษาพูดไตรเขิน เป็นภาษาไทยพื้นเมืองผสมกับไทยลื้อ มีการแต่งกายชุดประจำชาติพันธุ์ คือชุดไตรเขิน มีการฟ้อนรำไตรเขิน การแสดงศิลปะพื้นบ้าน การละเล่น การตีกลองปู่จา อาหารพื้นเมืองเช่นห่อนึ่งไก ตำเตา แกงหน่อ น้ำพริกน้ำหน่อ คั่วหน่อ แกงผักปัง ห่อนึ่งกบ ห่อนึ่งเขียด ชาวบ้านไตรเขินรักท้องถิ่นตนเองมีทีทำกินไร่นา สวนการเกษตรเป็นอาชีพหลักมีป่าชุมชนเป็นของหมู่บ้านพื้นที่กว้างปราณ 500 กว่าไร่ บนดอยภูกวง อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน มีพื้นที่นาสวนไร่ประมาณ 1,000 กว่าไร่ชาวบ้านรักธรรมชาติพื้นที่ทำกิน ป่าชุมชนเป็นต้นน้ำ ลำคลองไหลผ่านหมู่บ้านใช้ทำนาข้าว ไร่ผักพืชการเกษตรตลอดปี ที่สำคัญชาวไตรเขินบ้านหนองม่วงมีวัฒนธรรมของตนเอง มีการจัดงานประจำปี คือ งานรำลึกบรรพบุรุษชาวไตรเขิน จัดขึ้นหลังเสร็จนาข้าวเดือนธันวาคม ของทุกปี จัดทำพิธีสำคัญคือกราบไหว้บรรพบุรุษปู่ย่าชาวไตรเขินโดยเฉพาะไหว้สาดวงวิญญาณตุ๊ลุงพระครูวงศาภิวัฒน์ ที่ท่านก่อสร้างวัดหนองม่วง เป็นศูนย์รวมจิตใจพี้น้องชาวบ้านหนองม่วงทุกคนกราบไหว้นับถือ

          ภูมิประเทศ/ภูมินิเวศ ชุมชนบ้านหนองม่วง เป็นพื้นที่ราบเดิมบ้านหนองม่วงตั้งรกรากอยู่ริมแม่น้ำน่านทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านหนองม่วง ในปัจจุบันห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1,000 เมตร เป็นที่ราบกว้างขวาง ทุกที่จะประสบปัญหาน้ำท่วมเพราะพื้นที่ติดกับแม่น้ำน่าน ชาวบ้านหนองม่วงจึงได้โยกย้ายมาสถานที่พื้นที่สูงติดหนองน้ำใหญ่ เป็นที่ราบในปัจจุบันนี้ที่กว้างขวาง

           กายภาพสำคัญ : เป็นหมู่บ้านพื้นที่ปกติมีทุ่งนาขนาดใหญ่ ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เป็นพื้นที่นาข้าวประมาณ1,000 กว่าไร่ มีที่ทำกินเป็นสวนพืชผักแปลงใหญ่ หลังการเก็บเก็บข้าวนาปี ชาวบ้านทำการเกษตร ข้าวโพด พริก มะเขือ กะหล่ำปลี หมุนเวียนตลอดทั้งปี สร้างรายได้แก่ชุมชนบ้านหนองม่วง ให้มีฐานะดีกันทั่วไป

           สังคม-เศรษฐกิจ : เป็นชุมชนขนาดเล็กที่มีการทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก

           ชาติพันธุ์ : ชาวไทเขิน

           ศิลปะและวัฒนธรรม  ชุมชนบ้านหนองม่วง มีวัฒนธรรมประเพณีพิธีกรรมและศิลปกรรมด้านดนตรีและการแสดงในงานพิธีสำคัญๆ เช่น การฟ้อนรำไทเขิน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนตามชาติพันธุ์ไทเขิน  จะมีการปฏิบัติกันซึ่งถือเป็นงานประจำปีของชุมชนบ้านหนองม่วง

ชุมชนบ้านหนองม่วง สภาพพื้นที่ของชุมชนเป็นพื้นที่ราบกว้างริมแม่น้ำน่านมีหนองน้ำสาธารณะบริเวณที่นาของชุมชนบ้านหนองม่วง พื้นที่ส่วนใหญ่จะทำนาข้าว หลังฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วจะทำการเกษตรกันเป็นจำนวนมาก ปลูกพืชผักในที่นาสวนเกษตรพืชผักการเกษตรตามฤดูกาล ในฤดูฝนจะมีน้ำหลาก ท่วมพื้นที่นา สวนการเกษตรผลไม้ตามฤดูกาล เช่น ลำไย มะม่วง ลิ้นจี่ หากในฤดูฝนน้ำไหลหลาก แม่น้ำน่านจะท่วมพื้นที่สวนไร่นาการเกษตรของชุมชนทุกปี

            สำหรับพื้นที่ไร่นาสวนผสม  การปลูกพืชการเกษตรจะสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน ผลผลิตขายส่งไปต่างจังหวัดทางภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออก ทุกๆ ปี สามารถจัดเป็นที่ท่องเที่ยวด้านการเกษตรเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ได้ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ในชุมชน เพิ่มผลผลิต เศรษฐกิจของชุมชนบ้านหนองม่วงที่มีคุณค่าอีกต่อไป

ชุมชนบ้านหนองม่วง เป็นชนชาติพันธุ์ไตรเขินตามประวัติอันยาวนาน  มีเอกลักษณ์ของชาติพันธุคือภาษาพูดไตรเขิน เป็นภาษาไทย

พื้นเมืองผสมกับไทยลื้อ มีการแต่งกายชุดประจำชาติพันธุ์ คือชุดไตรเขิน มีการฟ้อนรำไตรเขิน การแสดงศิลปะพื้นบ้านการละเล่น การตีกลอง

ปู่จา อาหารพื้นเมืองเช่นห่อนึ่งไก ตำเตา แกงหน่อ น้ำพริกน้ำหน่อ คั่วหน่อ แกงผักปัง ห่อนั่งกบ ห่อนึ่งเขียด    

            ชาวบ้านไตรเขิน  มีความผูกพันฉันญาติมิตร รักท้องถิ่นตนเองมีทีทำกินไร่นา สวนการเกษตรเป็นอาชีพหลัก  มีป่าชุมชนเป็นของ

หมู่บ้านพื้นที่กว้างปราณ 125 กว่าไร่ บนดอยภูกวง อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน  มีพื้นที่นาสวนไร่ประมาณ 1,000 กว่าไร่ และชาวชุมชน    

บ้านหนองม่วงรักธรรมชาติพื้นที่ทำกิน ป่าชุมชนเป็นต้นน้ำลำคลองไหลผ่านหมู่บ้านใช้ทำนาข้าว ไร่ผักพืชการเกษตรตลอดปี ที่สำคัญชาวไทเขินบ้านหนองม่วงมีวัฒนธรรมของตนเอง มีการจัดงานประจำปี คือ งานรำลึกบรรพบุรุษชาวไตรเขิน จัดขึ้นหลังเสร็จนาข้าวเดือนธันวาคม ของทุกปี จัดทำพิธีสำคัญคือกราบไหว้บรรพบุรุษปู่ย่าชาวไตรเขินโดยเฉพาะไหว้สาดวงวิญญาณตุ๊ลุง พระครูวงศาภิวัฒน์ที่ท่านก่อสร้างวัดหนองม่วง เป็นศูนย์รวมจิตใจพี้น้องชาวบ้านหนองม่วงทุกคนกราบไหว้นับถือ

ย่านชุมชนบ้านหนองม่วง เป็นชุมชนชาติพันธุ์ไทเขิน เป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตัวเอง เช่น ภาษา การแต่งกาย และ

การจัดประเพณีท้องถิ่น คือ ประเพณีบวงสรวงบรรพบุรุษไทเขิน ประเพณีการบวงสรวงเจ้าหลวงพญาแก้วเสี้ยวบ้าน ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ ประเพณีการลงแขกดำนา ประเพณีทานสลากภัต ซึ่งความโดดเด่นของชุมชนบ้านหนองม่วง  คือเป็นหมู่บ้านเกษตรกรรม จะเห็นได้ว่าพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งหมดประมาณ 1,270 ไร่ จะแบ่งเป็นพื้นที่ตั้งที่อยู่อาศัยของชุมชนประมาณ 110 ไร่ และที่เหลือประมาณ 1,160 ไร่ จะเป็นพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด เช่น  ข้าว  ข้าวโพด พริก  และชุมชนบ้านหนองม่วงจะประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่  ถือเป็นอาชีพหลักที่สร้างรายได้ให้กับประชาชน และทำให้ชุมชนบ้านหนองม่วงมีความเป็นอยู่ที่ดีตลอดมา

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

         ชุมชนบ้านหนองม่วง  เป็นชุมชนชาติพันธุ์ไตรเขิน มีเอกลักษณ์ของตัวเอง ชาวมีที่ทำกินไร่นาสวนพืชผัก ป่าชุมชนพื้นที่กว้างขวาง จำนวน 500 ไร่ ชาวบ้านดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ปลูก เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติเกิดต้นน้ำลำธารใช้น้ำมาปลูกข้าวนาปี ด้านการเกษตรกรรม ปลูกพืชผักเศรษฐกิจ พืชผักสวนครัวเป็นอาชีพหลัก แต่ก็มีความเสี่ยงจากภัยจากธรรมชาติจากน้ำท่วมทุกๆ ปี

    ชุมชนบ้านหนองม่วง เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวไตเขิน เมื่อปี พ.ศ. 2310 มีพ่อหลวงแสน – แม่คำเอื้อย คำวัง เป็นผู้ริเริ่มปลูกบ้านขึ้นทางทิศตะวันตกของฝั่งหนองน้ำ ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านที่อยู่ปัจจุบัน (พ.ศ. 2555) ซึ่งมีต้นมะม่วงต้นใหญ่ขึ้นอยู่ริมขอบหนองน้ำต่อมาจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านหนองม่วง" ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเกษตรกรรม มีหนองน้ำขนาดใหญ่ มีเรือนพักอาศัยสองชั้นใต้ถุนโล่ง มีการตีเกล็ดไม้ของฝาเรือนที่มีลักษณะโดดเด่น เป็นชุมชนขนาดเล็ก ที่มีการทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก       

ชุมชนบ้านหนองม่วง มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง และมีการจัดงานประจำปีของหมู่บ้านคือ งานรำลึกบวรสรวงบรรพบุรุษไตรเขิน ในเดือนธันวาคม ของทุกๆ ปี  โดยใช้วัดหนองม่วง เป็นศูนย์กลาง ลานเอนกประสงค์ในชุมชนเป็นที่จัดนันทนาการของชุมชน

แก้ไขเมื่อ

2021-10-20

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร