พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์


ละติจูด 15.807522 , ลองจิจูด 104.167873

พิกัด

ตำบลในเมือง อำเภออำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร รหัสไปรษณีย์ 35000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์ [2] หรือพระแก้วหยดน้ำค้างเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิศิลปะสมัยเชียงแสนในอดีตนั้นเคยประดิษฐานอยู่คู่กับพระแก้วมรกตในหอพระแก้วเมืองเชียงใหม่เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2011 และประทับอยู่เป็นสิริมงคลนานถึง 78 ปีหลังพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จมาครองนครหลวงพระบางจึงมีความเห็นว่าสมควรอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระแก้วขาวไปไว้ที่ราชธานีล้านช้างเพื่อให้ห่างไกลจากเงื้อมมือพม่าข้าศึกจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานพระแก้วมรกตประทับอยู่ร่วมกันอีกครั้งต่อมาได้มีผู้ลักพาพระแก้วขาวออกจากนครหลวงพระบางไปซ่อนไว้ที่เขาส้มป่อยและมีนายพราน 2 พี่น้องชื่อพรานทิ้งและพรานเทืองไปพบว่าจมอยู่ใต้สระน้ำจึงนำขึ้นมาความเลื่องลือไปถึงเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์จึงให้ท้าวเพียผู้ใหญ่ไปสืบเอาพระแก้วขาวมาขณะอัญเชิญมาถึงตำบลแห่งหนึ่งริมฝั่งแม่น้ำเซโดนได้พากันพักแรมหนึ่งคืนพอรุ่งเช้าปรากฏว่าพระแก้วขาวหายไปจึงให้คนเที่ยวค้นหามีผู้ไปพบอยู่ที่บ้านพรานที่งดังเดิมท้าวเพียได้ทำพิธีขอขมาคารวะพระแก้วขาวโดยขออัญเชิญไปยังนครจำปาศักดิ์ได้สะดวกอย่าได้ลักหนีไปอีกเลย แต่ในระหว่างทางเกิดพายุทำให้พระแก้วขาวตกลงไปในน้ำหาอย่างไรก็ไม่พบเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรทรงกระทำพิธีกรรมบวงสรวงเทพารักษ์ตั้งสัตยาธิษฐานขอให้ได้พระแก้วขาวกลับคืนมาเป็นสิริมงคลเมื่อสัมฤทธิผลจึงจัดงานฉลองสมโภชเป็นเวลา 3 วัน 3 คืนต่อมาเมื่อเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (เจ้าฝ่ายหน้า) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ลำดับที่ 3 ได้ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันอังคารขึ้น 2 ค่ำเดือน 10 ปีมะแมตรีศกจุลศักราช 1173 (พ.ศ. 2354) ครองเมืองนครจำปาศักดิ์ได้ 21 ปีพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยากลาโหมราชเสนาเป็นข้าหลวงแทนพระองค์ไปพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชและจัดการราชการบ้านเมืองนครจำปาศักดิ์เมื่อทำการปลงศพของเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชเสร็จแล้วพระยากลาโหมราชเสนาพร้อมด้วยแสนท้าวพระยาในเมืองจึงก่อเจดีย์บรรจุอัฐิของท่านไว้ที่วัดเหนือ (ปัจจุบันคือวัดหอพระแก้ว) ในเมืองเก่าคันเกิงเรียกกันทั่วไปว่าในเวลานั้น“ ธาตุหลวงเฒ่า "[4] ปัจจุบันไม่มีใครรู้จักและเรียกภายหลังเสร็จการพระราชทานเพลิงศพของเจ้าพระวิไชยวรราชสุริยวงศ์ขัตติยราช (เจ้าฝ่ายหน้า) และการจัดการราชการบ้านเมืองในนครจำปาศักดิ์แล้วพระยากลาโหมราชเสนาจึงได้อัญเชิญพระแก้วขาวลงมายังกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ. 2355 และเมื่อครั้งเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์สิงหเสนี) ได้ยกกองทัพไปตีนครวียงจันทน์เจ้าอุปราชฝ่ายบุตซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (เจ้าฝ่ายหน้า) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์องค์ที่ 3 พร้อมเจ้าสุวอธรรมา (บุญมา) ได้ร่วมทำการรบด้วยโดยมีอัญญาพระครูหลักคำ (กุ) ผู้มีภูมิความรู้ถนัดในทางโหราศาสตร์เป็นผู้ให้ฤกษ์และทำพิธีตัดไม้ข่มนามซึ่งเป็นพิธีปฐมกรรมอันเป็นการให้ขวัญและกำลังใจแก่ทหารจึงทำให้การรบในครั้งนั้นประสบชัยชนะความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 จึงทรงมีรับสั่งให้เจ้าพระยาราชสุภาวดีนำเจ้าอุปราชฝ่ายบุตและอัญญาพระครูหลักคำ (กุ) เข้าเฝ้าโดยด่วนที่กรุงเทพมหานครทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเจ้าอุปราชฝ่ายบุตเป็นพระสุนทรราชวงศามหาขัตติยชาติประเทศราชชวาเวียงดำรงรักษ์ภักดียศภาไกรศรีพิไชยสงครามเจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทรลำดับที่ 3 (พ.ศ. 2366-2400) พร้อมพระราชทานพระพุทธรูปบูชาสำคัญคือพระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์หรือพระแก้วหยดน้ำค้างอันเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองยโสธรในปัจจุบัน,

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2021-05-26

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร