ธาตุก่องข้าวน้อย


ละติจูด 15.764113 , ลองจิจูด 104.207705

พิกัด

ตำบลในเมือง อำเภออำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร รหัสไปรษณีย์ 35000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

บ้านตาดทองเป็นชุมชนโบราณตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงสมัยทวาราวดีตามตำนานอุรังคนิทาน (พระธาตุพนม) มีข้อความว่าชาวสะเดาตาดทองได้นำของมาช่วยพบหลักฐานการอยู่อาศัยเป็นแหล่งฝังศพและมีเศษภาชนะแบบที่พบในทุ่งกุลาร้องไห้มีเนินดินขนาดราว ๕๐๐ X ๖๕๐ เมตรรูปวงรีมีคูน้ำล้อมรอบ แต่ปัจจุบันทางหลวงตัดผ่านกลางเนินจนแบ่งออกเป็นสองฟากและมีบ้านเรือนตั้งอยู่หนาแน่นพระธาตุตาดทองจากรูปแบบสถาปัตยกรรมสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 24 และอาจจะมีความเกี่ยวเนื่องกับนิทานพื้นบ้านเล่าสืบกันมาว่าเมื่อผู้คนในแถบอำเภอรัตนบุรีทราบข่าวการบูรณะพระธาตุพนม * แต่เมื่อจึงพร้อมใจกันรวบรวมวัตถุมงคลสิ่งมีค่าเพื่อนำไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนมเดินทางถึงบ้านตาดทองได้พบกับชาวบ้านสะเดาตำบลตาดทองที่ไปช่วยบูรณะพระธาตุเดินทางกลับมาบ้านเพราะการบูรณะพระธาตุพนมได้เสร็จสิ้นแล้วผู้คนเหล่านั้นจึงพร้อมใจกันสร้างเจดีย์บรรจุของมีค่าที่ตนนำมาชาวบ้านสะเดาจึงนำถาดทองที่ใช้อัญเชิญของมีค่านำไปบรรจุในพระธาตุพนมมารองรับของมีค่าที่ชาวอำเภอรัตนบุรีที่จะนำไปบรรจุไว้ในเจดีย์ที่กำลังสร้างจึงเรียกพระธาตุตาดทองหรือพระธาตุถาดทองลักษณะสถาปัตยกรรมพระธาตุตาดทองเป็นเจดีย์ทรงมณฑปยอดบัวเหลี่ยมในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสสร้างก่ออิฐถือปูนรูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไปส่วนฐานตอนล่างเป็นฐานเขียงรองรับชั้นชุดฐานบัวท้องไม้ลูกแก้วอกไก่ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 2 เมตรก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตรช่วงกลางขององค์ธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้านถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆสอบเข้าหากันส่วนยอดรอบนอกของธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5x5 เมตรส่วนมณฑปทำย่อเก็จมีซุ้มพระทั้ง 4 ด้านเดิมคงมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ยอดซุ้มโค้งแบบซุ้มหน้านางภายในประดับปูนปั้นลายพรรณพฤกษาเสาซุ้มทำลายแสงตาเวน (ตะวัน) ประดับกระจกส่วนยอดเป็นบัวเหลี่ยมทำย่อเก็จเป็นรูปบัวเหลี่ยมมีเครื่องยอดซ้อนกัน 3 ชั้นยอดแหลมโดยรอบมีใบเสมาสมัยทวารวดีและกลุ่มเจดีย์รายจำลองทรงบัวเหลี่ยมด้านหน้าพระธาตุตาดทองมีอูบมุงแบบพื้นถิ่นอีสานในผังเหลี่ยมจัตุรัสลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมหลังคาโดมเอนลาดสอบเข้าหากันสันหลังคาประดับปูนปั้นรูปนาคยอดหลังคาในตอนกลางเป็นเจดีย์ขนาดเล็กภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยฝีมือช่างพื้นถิ่นอีสานนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มากและในช่วงเดือนเมษายนจะมีประเพณีสรงน้ำพระและปิดทองเชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้นโบราณคดีเอกลักษณ์ของพระธาตุตาดทองคือการออกแบบรูปทรงเจดีย์ที่สวยงามและเป็นพระธาตุแห่งหนึ่งที่อาจจะเกี่ยวข้องนิทานเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่อีกทั้งมีประวัติอ้างอิงเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การสร้างพระธาตุพนมกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานพระธาตุตาดทองในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 27 กันยายน 2479 และประกาศกำหนดเขตที่ดินในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 15 มกราคม 2552 เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 59 ตารางวาโบราณสถานแห่งนี้ได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดในปี พ.ศ. 2545 ผู้ใดบุกรุกทำลายโบราณสถานมีความผิดตามกฎหมาย

บ้านตาดทองเป็นชุมชนโบราณตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงสมัยทวาราวดีตามตำนานอุรังคนิทาน (พระธาตุพนม) มีข้อความว่าชาวสะเดาตาดทองได้นำของมาช่วยพบหลักฐานการอยู่อาศัยเป็นแหล่งฝังศพและมีเศษภาชนะแบบที่พบในทุ่งกุลาร้องไห้มีเนินดินขนาดราว ๕๐๐ X ๖๕๐ เมตรรูปวงรีมีคูน้ำล้อมรอบ แต่ปัจจุบันทางหลวงตัดผ่านกลางเนินจนแบ่งออกเป็นสองฟากและมีบ้านเรือนตั้งอยู่หนาแน่นพระธาตุตาดทองจากรูปแบบสถาปัตยกรรมสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 24 และอาจจะมีความเกี่ยวเนื่องกับนิทานพื้นบ้านเล่าสืบกันมาว่าเมื่อผู้คนในแถบอำเภอรัตนบุรีทราบข่าวการบูรณะพระธาตุพนม * แต่เมื่อจึงพร้อมใจกันรวบรวมวัตถุมงคลสิ่งมีค่าเพื่อนำไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนมเดินทางถึงบ้านตาดทองได้พบกับชาวบ้านสะเดาตำบลตาดทองที่ไปช่วยบูรณะพระธาตุเดินทางกลับมาบ้านเพราะการบูรณะพระธาตุพนมได้เสร็จสิ้นแล้วผู้คนเหล่านั้นจึงพร้อมใจกันสร้างเจดีย์บรรจุของมีค่าที่ตนนำมาชาวบ้านสะเดาจึงนำถาดทองที่ใช้อัญเชิญของมีค่านำไปบรรจุในพระธาตุพนมมารองรับของมีค่าที่ชาวอำเภอรัตนบุรีที่จะนำไปบรรจุไว้ในเจดีย์ที่กำลังสร้างจึงเรียกพระธาตุตาดทองหรือพระธาตุถาดทองลักษณะสถาปัตยกรรมพระธาตุตาดทองเป็นเจดีย์ทรงมณฑปยอดบัวเหลี่ยมในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสสร้างก่ออิฐถือปูนรูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไปส่วนฐานตอนล่างเป็นฐานเขียงรองรับชั้นชุดฐานบัวท้องไม้ลูกแก้วอกไก่ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 2 เมตรก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตรช่วงกลางขององค์ธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้านถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆสอบเข้าหากันส่วนยอดรอบนอกของธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5x5 เมตรส่วนมณฑปทำย่อเก็จมีซุ้มพระทั้ง 4 ด้านเดิมคงมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ยอดซุ้มโค้งแบบซุ้มหน้านางภายในประดับปูนปั้นลายพรรณพฤกษาเสาซุ้มทำลายแสงตาเวน (ตะวัน) ประดับกระจกส่วนยอดเป็นบัวเหลี่ยมทำย่อเก็จเป็นรูปบัวเหลี่ยมมีเครื่องยอดซ้อนกัน 3 ชั้นยอดแหลมโดยรอบมีใบเสมาสมัยทวารวดีและกลุ่มเจดีย์รายจำลองทรงบัวเหลี่ยมด้านหน้าพระธาตุตาดทองมีอูบมุงแบบพื้นถิ่นอีสานในผังเหลี่ยมจัตุรัสลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมหลังคาโดมเอนลาดสอบเข้าหากันสันหลังคาประดับปูนปั้นรูปนาคยอดหลังคาในตอนกลางเป็นเจดีย์ขนาดเล็กภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยฝีมือช่างพื้นถิ่นอีสานนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มากและในช่วงเดือนเมษายนจะมีประเพณีสรงน้ำพระและปิดทองเชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้นโบราณคดีเอกลักษณ์ของพระธาตุตาดทองคือการออกแบบรูปทรงเจดีย์ที่สวยงามและเป็นพระธาตุแห่งหนึ่งที่อาจจะเกี่ยวข้องนิทานเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่อีกทั้งมีประวัติอ้างอิงเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การสร้างพระธาตุพนมกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานพระธาตุตาดทองในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 27 กันยายน 2479 และประกาศกำหนดเขตที่ดินในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 15 มกราคม 2552 เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 59 ตารางวาโบราณสถานแห่งนี้ได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดในปี พ.ศ. 2545 ผู้ใดบุกรุกทำลายโบราณสถานมีความผิดตามกฎหมาย

ลักษณะสถาปัตยกรรมของเจดีย์ที่มีสภาพสมบูรณ์นั้นเป็นทรงบัวเหลี่ยมในผังแปดเหลี่ยมตามแบบศิลปะพื้นถิ่นอีสานกำหนดอายุในพุทธศตวรรษที่ 23 มีส่วนฐานเป็นชั้นหน้ากระดานขนาดเล็กเรียงลดหลั่นกันรับฐานบัวและมีชั้นคล้ายบัวหงายขนาดใหญ่ถัดขึ้นมาเป็นบัวแปดเหลี่ยมรับปลียอดและฉัตรอันเป็นลักษณะเจดีย์ที่นิยมสร้างในเมืองหลวงพระบางและเวียงจันทน์ด้วยเช่นเดียวกันเอกลักษณ์ของเจดีย์วัดทุ่งสะเดาหรือธาตุลูกฆ่าแม่คือการผูกนิทานพื้นบ้านให้เข้ากับประวัติความเป็นมาของเจดีย์กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานพระธาตุก่องข้าวน้อยวัดทุ่งสะเดาในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 27 กันยายน 2479 โดยเจดีย์องค์ที่มีสภาพสมบูรณ์ (องค์ลูก) ได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดในปี พ.ศ. 2555 ส่วนเจดีย์องค์ที่เหลือเพียงส่วนฐาน (องค์แม่) ได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดในปี พ.ศ. 2537 ผู้ใดบุกรุกทำลายโบราณสถานมีความผิดตามกฎหมายดังนั้นจึงสันนิษฐานใหม่ว่าธาตุวัดทุ่งสะเดาน่าจะเป็นธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ตามตำนานเล่าขานเพราะมีขนาดเล็กคน ๆ เดียวสามารถสร้างได้ส่วนธาตุก่องข้าวน้อยหรือพระธาตุตาดทองบ้านตาดทองมีขนาดใหญ่พอ ๆ กับพระธาตุอานนท์วัดมหาธาตุซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะตัวบุคคลคนเดียวไม่มีความรู้เรื่องช่างไม่สามารถทำได้จึงสมควรเรียกขานธาตุก่องข้าวน้อยที่บ้านตาดทองเสียใหม่ว่าพระธาตุตาดทองหรือพระธาตุถาดทอง

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2021-05-31

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร