ย่านชุมชนเก่าบ้านห้วยหยวก


ละติจูด 18.8117741449 , ลองจิจูด 100.530593475

พิกัด

บ้านห้วยหยวก หมู่ที่ 6 ตำบลแม่ขะนิง อำเภออำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน รหัสไปรษณีย์ 55110

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

ย่านชุมชนเก่า

ความสำคัญ/ลักษณะ

ประวัติความเป็นมา  ชุมชนบ้านห้วยหยวก ส่วนใหญ่เป็นชุมชนชาวเขาเผ่าม้ง ซึ่งมีหลายตระกูลแซ่อาศัยอยู่ร่วมกัน เป็นหมู่บ้านขนาดกลาง ตระกูลแซ่ดังนี้ คือ แซ่เล้า แซ่โซ้ง แซ่หลี แซ่เฮ้อ แซ่วื้อ เดิมชาวบ้านม้งมีถิ่นฐานอยู่ที่ดอยภูคา อำเภอปัว  เมื่อปี พ.ศ. 2490 ได้อพยพมาอยู่ที่บ้านภูเค็ง จนถึงปี พ.ศ. 2517 ต่อมาปี พ.ศ. 2518  ชาวม้งบางส่วนได้ชักชวนกันมาทำไร่ทำสวนแบบอพยพถิ่นฐานกระจายแยกย้ายไปตามหมู่บ้านต่างๆ  ในตำบลแม่ขะนิง  ได้แก่ บ้านห้วยไฟ บ้านตะเคียนทอง บ้านห้วยนางิ้ว และบางส่วนได้อพยพมาตั้งรากฐานที่บ้านห้วยหยวก ในระยะแรกนั้นประมาณ 20 หลังคาเรือน ซึ่งขณะนั้นหมู่บ้านห้วยหยวก เป็นหมู่บ้านสาขาหมู่บ้านป่าแพะ หมู่ที่ 3 ตำบลยาบหัวนา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยมีนายเก้า แซ่เล้า เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518–2533 จนกระทั่งในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 บ้านห้วยหยวกได้รับอนุญาตจากทางราชการให้แยกเป็นหมู่บ้านออกจากหมู่บ้านป่าแพะ ตั้งเป็นหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ โดยใช้ชื่อว่า“หมู่บ้านห้วยหยวก”  หมู่ที่ 6 ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นการอยู่รวมกันของสองเผ่า  คือชาวม้ง กับชาวมลาบรี (เผ่าตองเหลือง)

           ปัจจุบัน ชุมชนบ้านห้วยหยวกมีผู้คนอาศัยอยู่เป็นชนเผ่า 2 ชาติพันธุ์ คือ 1) ชาติพันธุ์ชนเผ่าม้ง มีประชากร 738 คน เป็นชาย จำนวน 361 คน และหญิง 349 คน มีบ้านที่อยู่อาศัย จำนวน 110 หลังคา และมีจำนวน 178 ครัวเรือน   2) ชาติพันธุ์มลาบรี  มีประชากร 170 คน  เป็นชาย จำนวน 80 คน และหญิง 90 คน มีบ้านที่อยู่อาศัย จำนวน 33 หลัง และมีจำนวน 41 ครัวเรือน 

           1)ชาติพันธุ์ชนเผ่าม้ง  ชุมชนบ้านห้วยหยวกส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าม้ง เป็นชุมชนที่อาศัยอยู่ก่อน  ซึ่งมีหลายตระกูลแซ่ อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้านขนาดกลาง ตระกูลแซ่ ดังนี้ คือ แซ่เล้า แซ่โซ้ง  แซ่หลี แซ่เฮ้อ  แซ่วื้อ เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดอยภูคา  อำเภอปัว  จังหวัดน่าน เมื่อปี พ.ศ. 2490 ได้อพยพมาอยู่ที่ดอยภูเค็ง จนถึงปี พ.ศ.2517 ต่อมาปี พ.ศ.2518 ชาวม้งบางส่วนได้ชักชวนกันมาทำไร่ทำสวน แยกอพยพ

ถิ่นฐานแยกย้ายไปตามหมู่บ้านต่างๆ ในตำบลแม่ขะนิง ได้แก่ บ้านห้วยไฟ บ้านตะเคียนทอง บ้านห้วยนางิ้ว และบางส่วนได้อพยพมาตั้งรากฐานที่บ้านห้วยหยวก ในระยะแรกประมาณ 20 หลังคาเรือน  ซึ่งในขณะนั้นหมู่บ้านห้วยหยวก เป็นหมู่บ้านสาขาหมู่บ้านป่าแพะ หมู่ที่ 3  ตำบลยาบหัวนา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยมี นายเก้า แซ่เล้า เป็นหัวหน้าหมู่บ้านตั้งแต่ พ.ศ.2518 – 2533  จนกระทั่งในวันที่  21 กรกฎาคม พ.ศ.2534 บ้านห้วยหยวกได้รับอนุญาตจากทางราชการให้แยกเป็นหมู่บ้านออกจากหมู่บ้านป่าแพะ ตั้งเป็นหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ โดยใช้ชื่อว่า บ้านห้วยหยวก หมู่ที่ 6  ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน  ปัจจุบัน ชุมชนบ้านห้วยหยวกเป็นการอยู่รวมกันของสองชนเผ่า  คือ ชนเผ่าม้ง กับชนเผ่ามลาบรี (ตองเหลือง)  ซึ่งแต่ละชนเผ่าต่างก็มีวัฒนธรรมประเพณี และภาษาพูดเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

           2)ชาติพันธุ์มลาบรี (เผ่าตองเหลือง) ในประวัติศาสตร์และตำนานบอกเล่าทำให้เชื่อว่าชาวตองเหลืองมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณแม่น้ำโขง แขวงไชยบุรี ประเทศลาว สำหรับชนเผ่าตองเหลืองในประเทศไทยในอดีตเคยอาศัยอยู่ดอยภูเค็ง ตำบลแม่ขนิง  และได้กระจายอยู่หลายจังหวัด เช่น แพร่ พะเยา น่าน ปัจจุบันมีเผ่าตองเหลืออาศัยอยู่สองจังหวัด คือ น่าน แพร่ ในการดำรงชีวิตในช่วงนั้น ได้อาศัยการหาของป่า  เพื่อนำมาแลกสิ่งของจำเป็น เสื้อผ้า มีด อาหาร  ในปัจจุบันชนเผ่าตองเหลืองในประเทศไทย  มีอยู่ 3 จุด ได้แก่ 1) ชุมชนบ้านห้วยหยวก  ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน 2) บ้านท่าวะ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และ 3) บ้านห้วยฮ่อม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ทั้ง 3 จุดมีประชากรทั้งสิ้น 300 คน โดยที่ชุมชนบ้านห้วยหยวก มีเผ่าตองเหลืองอาศัยมากที่สุด และชนเผ่าตองเหลืองจะเรียกตัวเองว่า “มลาบรี” หมายความว่า

“คนป่า คือจะไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง จะเร่ร่อนไปหาแหล่งอาหารและสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ในป่าโดยทำเป็นเพิงมุงด้วยใบตอง ปูพื้นรองด้วยใบตอง โดยจะย้ายที่ก็ต่อเมื่ออาหารในบริเวณนั้นหมดหรือน้อยลง พร้อมกับใบตองเหลืองพอดี ทั้งนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับใบตองเหลือง ก็จะย้ายไปหาบริเวณอื่นหรือแหล่งอาหารอื่นต่อไป จนเป็นที่มาของคำว่า “ผีตองเหลือง” หรือ“มลาบรี” หมายความว่า “คนป่า” ซึ่งจะอาศัยอยู่ในป่า สำหรับคำว่า“ผีตองเหลือง” นั้น เป็นชื่อเรียกของชาวบ้านทางภาคเหนือ ที่ใช้เรียกเพราะชาวมลาบรี มีพฤติกรรมหรืออากัปกิริยาที่ไม่กล้าที่จะพบปะคนแปลกหน้า หายตัวเร็ว ทำตัวเหมือนกับผี ผมเผ้ารุงรัง ไม่อาบน้ำ มีกลิ่นตัวเหม็น เพราะต้องทำตัวกลมกลืนกับป่า เพื่อป้องกันยุงและสัตว์ร้าย  ในช่วงเวลาต่อๆ มา ได้พบปะผู้คนชนต่างเผ่ามากขึ้น เช่น ชาวม้ง ชาวเมี้ยน ชนพื้นเมือง  ได้รับจ้างใช้แรงงานทำสวน ทำไร่ แลกกับสิ่งของเครื่องใช้ เช่น ข้าว อาหาร เสื้อผ้า มีด และต่อมารู้จักใช้เงินจึงเปลี่ยนการแลกแรงงานกับสิ่งของเป็นการแลกแรงงานกับเงินและได้พบปะ ผู้คนมากขึ้น จึงอยากมีชีวิตความเป็นอยู่เช่นเดียวกับคนทั่วไปอยากมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งและอยากได้สัญชาติไทย จึงได้ชักชวนพี่น้องชาวมลาบรี มาอยู่รวมกันกับพี่น้องชาวม้ง  ณ ชุมชนบ้านห้วยหยวก โดยครั้งแรกเข้ามาอยู่ด้วยกัน 10 ครอบครัว เป็นชุมชนเล็กๆ โดยมี นายศรี  สุชนคีรี เป็นผู้นำชุมชนในขณะนั้น อาชีพหลักของชนเผ่ามลาบรี(เผ่าตองเหลือง) คือ หาของป่า ทำไร่ และรับจ้างชนเผ่าม้ง ทำไร่ และมีอาชีพที่ถือว่าเป็นรายได้เสริมของผู้หญิงชนเผ่ามลาบรี คือการถักถุงย่าม โดยทำจากเถาวัลย์ ภาษาของชนเผ่าตองเหลือง เรียกว่า “ทะแป้ด”  โดยการนำมาลอกเปลือกและทำเป็นเส้นและย้อมด้วยสีไม้ธรรมชาติ ขายให้กับนักท่องเที่ยว  สำหรับผู้ชาย คือ สานกระปุกใส่ของที่ทำจากไม้ไผ่ หรือหวาย

           ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านห้วยหยวก(ชนเผ่ามลาบรี)  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมหมู่บ้านชนเผ่ามลาบรี เมื่อพ.ศ.2550 ทรงมีความห่วงใยเรื่องความเป็นตัวตนของชนเผ่ามลาบรี(ผีตองเหลือง)จะสูญหาย จึงทรงมีพระราชดำริแนวทางการพัฒนาให้ชุมชนชาวมลาบรีอยู่กับป่ามีชีวิตแบบดั้งเดิมแต่สามารถรู้เท่าทันโลก เสริมสร้างคุณภาพชีวิตชนเผ่ามลาบรีให้ดีขึ้น ด้วยความเป็นมนุษย์และสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมการศึกษาให้แก่บุตรหลาน เข้าศึกษาต่อตั้งแต่ระดับอนุบาล  ประถมและมัธยมศึกษา การดูแลสุขอนามัยรวมถึงอนุรักษ์สืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชนเผ่าแบบดั้งเดิมให้คงอยู่สืบไป ปัจจุบันการคุ้มครองสภาพของชนเผ่ามีการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรม อีกทั้งให้มีการส่งเสริมการปลูกข้าว เพื่อบริโภค และสร้างรายได้ เพื่อการใช้จ่ายในครอบครัวของชุมชนมลาบรี(ผีตองเหลือง) ในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธารชุมชนบ้านห้วยหยวก ตามพระราชดำริฯ

ชุมชนบ้านห้วยหยวก มีพื้นที่ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง ลักษณะภูมินิเวศเป็นพื้นที่ลาดชันอยู่ในเขตป่าที่โอบล้อมด้วยธรรมชาติ  การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของชนเผ่าม้ง และชนเผ่ามลาบรี ดังนี้

  1. ชนชาวม้ง จะอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำไร่ทำสวน แต่ละครอบครัวจะมีที่ทำกินเป็นของตนเอง 

ซึ่งมีการจับจองมาตั้งแต่บรรพบุรุษสืบทอดต่อการมา  ปัจจุบันไม่มีพื้นที่ที่ขยายการทำกิน การทำไร่ทำสวนนั้นมีการเผาไร่เพื่อการเพาะปลูกพืชในปีต่อไป  หากไม่มีการป้องกันเรื่องการเผาป่าซึ่งจะมีผลเสียต่อสภาพสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้  ชาวม้ง   มีการทำไร่ข้าว ไร่ข้าวโพด ทำสวนเป็นปกติของการดำรงชีวิตและวิธีไม่ซับซ้อน  แต่ปัจจุบันนี้เริ่มมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้อย่างแพร่หลาย ชาวม้งยังมีรายได้ที่ยังไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับพืชผลทางการเกษตร และพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ขิง ข้าว ข้าวโพด ลิ้นจี่ อะโวคาโด  เป็นต้น  ส่วนที่อยู่อาศัยมีลักษณะเป็นบ้านชั้นเดียวไม่ยกพื้น ชาวม้งนิยมสร้างบ้านแบบดั้งเดิม มุงหลังคาด้วยหญ้าคาล้อมรอบด้วยไม้ไผ่นำมาสับ  เป็นฟากปูพื้น  แต่ปัจจุบันเริ่มมีการนำเอาสังกะสีมุงหลังคา ภายในบ้านมีการจัดแยกส่วนๆ  ตามค่านิยมประเพณีดั้งเดิม มีประตูอยู่สองประตู คือประตูผีบรรพบุรุษ  และประตูรับแขกจะติดผ้า และกระดาษ (คล้ายผ้ายันต์) เป็นผีเรือนตรงกันข้ามประตู แล้วมีการแบ่งแยกสัดส่วนชัดเจน  เช่น เตาไฟ ห้องนอน

ห้องบุตร กั้นเป็นห้องๆ  ชนเผ่าม้งจะมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองใช้สื่อสารในครอบครัว และชุมชน

  1. ชนเผ่ามลาบรี  ใช้พื้นที่สูงไหล่เขาการสร้างบ้านเรือนเป็นที่พักอาศัยลักษณะติดพื้นดินเรียนแบบบ้านชาวม้ง  มีประชากรอาศัย

จำนวน 170  คน และ 33 หลังคา 41 ครัวเรือน บ้านเรือนพักอาศัยขนาดเล็กทำจากไม้ไผ่ มีจุดเด่นที่การสานลายของประตูบ้านที่ทจากไม้ไผ่ หรือไม้จากป่าหลังคามุงด้วยหญ้าคา ฝาบ้านทำด้วยไม้ไผ่ทำเป็นฟาก มีจุดเด่นที่การสานลายของประตูบ้านจากไม้ไผ่  มีอาชีพรับจ้างทำไร่ และหาของป่า  โดยส่วนใหญ่แล้วจะอาศัยอยู่กับธรรมชาติ(ป่า)  พื้นที่ชุมชนมลาบรีนี้ เป็นสถานที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเพื่อเยี่ยมชมวิถีการดำเนินชีวิต ทั้งปัจจุบันและแบบดั่งเดิม มีการจำลองวิถีชีวิตมีการสร้างอาชีพ การถักถุงย่ามใส่ของที่ทำจากเถาวัลย์ หรือภาษามลาบรี เรียกว่า “ทะแป๊ด” เป็นของฝากของที่ระลึก

ชุมชนบ้านห้วยหยวก ชนเผ่าแหล่งต้นน้ำแม่ขะนิง ถือเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการตั้งถิ่นฐาน  การใช้ที่ดินหรือการใช้ทำเลพื้นที่อยู่ร่วมกันของชนเผ่าทั้งสอง ที่มีความแตกต่างทางประเพณีนิยม ซึ่งเป็นตัวแทนของวัฒนธรรม  หรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม     มีชนเผ่าอาศัยอยู่ 2 ชาติพันธุ์ มีประชากรทั้งหมด จำนวน 908 คน จำนวน 143 หลังคา 219 ครัวเรือน  คือ 1) ชาติพันธุ์ชนเผ่าม้ง 2) ชาติพันธุ์ มลาบรี หรือตองเหลือง  จะใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม คำว่า“มลาบรี”ความหมายว่า“คนป่า”ใช้ชีวิตอยู่ในป่า  ซึ่งในปัจจุบันชนเผ่าตองเหลือง ก็ยังพึ่งพาอาศัยป่าอยู่กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม หาของป่าเก็บมาเป็นอาหาร ซึ่งเป็นวิถีที่เรียบง่าย ไม่ต้องดิ้นรนอะไรมากมายใช้ป่าธรรมชาติเป็นแหล่งทำมาหากินมีวัฒนธรรมการแบ่งปันอาหารให้กัน มีภาษาเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง การตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นกลุ่มของชนเผ่า มีวัฒนธรรมประเพณีที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟู “การรำตะลึงไม้ไผ่” โดยมีเครื่องดนตรี คือการเป่าแคนเคาะกระบอกไม้เป็นจังหวะ

ย่านชุมชนเก่าห้วยหยวก เป็นชุมชนที่มีขนาดไม่ใหญ่ เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนเผ่าม้งและชนเผ่ามลาบรี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตร  การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาไม่กระทบต่อลักษณะโดยรวมของพื้นที่  การเข้าไปในพื้นที่ชุมชนบ้านห้วยหยวก เพื่อสัมผัสถึงวิถีชีวิตของคนทั้ง 2 ชนเผ่า/ชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นได้ทั้งมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ทั้งเผ่าม้ง และชนเผ่ามลาบรี มีความสมบูรณ์ปานกลางถึงน้อยเพราะว่าสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของชุมชนถูกคุกคามเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากประชากรเพิ่มและมีปฎิสัมพันธ์กับสังคมภายนอก ทำให้วัฒนธรรมทางธรรมชาติและศิลปกรรมเริ่มจางหาย แต่ก็ยังคงสภาพประเพณีของชนเผ่าทั้งสอง ด้านการแต่งกาย การละเล่น ภาษาพูด และอื่นๆ

ย่านชุมชนเก่าบ้านห้วยหยวก เป็นชุมชนที่อาศัยอยู่กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ ในเรื่องของอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย แต่อย่างไรก็ตามยังคงสภาพความเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าม้ง และชนเผ่ามลาบรี และยังคงอยู่เช่นเดิมในอดีต โดยสามารถรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของ ชนเผ่าของตนไว้ได้เป็นอย่างดี ไม่เลือนหายไปตามกลาเวลา ในภาพรวมจึงนับว่ามีความแท้ค่อนข้างสูงความเป็นชนเผ่าด้านวัฒนธรรม สำหรับชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง มีภาษาพูดเป็นของตนเอง โดยใช้ภาษาอังกฤษทับศัพท์เป็นภาษาเขียน นับถือผี ดั้งเดิมและนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนมาก ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ มีวัฒนธรรมประเพณี การแต่งกายเป็นเอกลักษณ์  ทุกปีจะมีการจัดกิจกรรมประเพณีปีใหม่ม้ง  มีการละเล่น เช่น เป่าแคน โยนลูกช่วง เล่นลูกข่าง ฯลฯ ประเพณีแปงผี รับขวัญ มีปฎิสัมพันธ์กับธรรมชาติ จิตวิญญาณ มีผู้นำของขนเผ่าม้ง และในส่วนความเป็นชนเผ่ามลาบรี มีเอกลักษณ์ มีภาษาพูดเป็นภาษามลาบรี มีจิตวิญญาณและความรู้สึกที่มีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาศัยอยู่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี  มีความเอื้ออาทรและเกื้อหนุนในการแบ่งปันอาหารต่อกันและกัน มีวิถีการดำเนินชีวิตอาศัยธรรมชาติ พึ่งพาป่า และมีผู้นำชนเผ่ามลาบรี

 

บ้านห้วยหยวก เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวมลาบลี โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมหมู่บ้านชนเผ่ามลาบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยมีแนวพระราชดำริเสริมสร้างคุณภาพชีวิตชนเผ่ามลาบุรีหรือตองเหลืองให้ดีขึ้น ในเรื่องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมการศึกษาให้แก่บุตรหลานเข้าศึกษาต่อตั้งแต่ประถมและมัธยมการดูแลสุขอนามัย รวมถึงอนุรักษ์สืบสานขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชนเผ่าแบบดั้งเดิมให้คงอยู่สืบไป ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง มีเรือนพักอาศัยขนาดเล็กทำจากไม้ไผ่ มีจุดเด่นที่การสานลายของประตูบ้านที่ทำจากไผ่ เป็นสังคมขนาดเล็ก ประกอบอาชีพหาของป่า และรับจ้างทั่วไป ทำนา ทำไร่

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

ย่านชุมชนเก่าบ้านห้วยหยวก  เป็นพื้นที่ราบสูงภูเขาสลับซับซ้อน เสี่ยงจากภัยจากธรรมชาติ ดินโคลนถล่ม เพราะการถูกบุกรุกหรือทำลายโดยประชาชนในพื้นที่เผาป่าเพื่อทำไร่ข้าวโพด ทำสวน ในการหาเลี้ยงชีพ การใช้ประโยชน์ไม่เหมาะสมยังขาดการจัดระเบียบในพื้นที่ให้สมดุลกลมกลืนกับธรรมชาติ คนอยู่กับป่าอาศัยป่าอยู่  ถึงแม้นจะมีปัญหามากแต่โดยรวมยังคงคุณค่าควรแก่การยกย่องให้เป็นมรดกจังหวัด เนื่องจากเป็นย่านชุมชนเก่าที่มีเอกลักษณ์ ด้านการเป็นชุมชนชาติพันธุ์  โดยเฉพาะชนเผ่ามลาบรีมีเพียงแห่งเดียวของจังหวัดน่าน ที่สามารถอยู่ร่วมกับชนเผ่าม้งได้ แม้ในด้านสภาพแวดล้อมจะมีปัญหาเนื่องจากลักษณะเฉพาะตัวของชนเผ่าทั้งสองมีวิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน  ซึ่งในอนาคตเมื่อมีการประกาศให้รับรู้ว่าเป็นแหล่งอันควรอนุรักษ์ที่มีเอกลักษณ์แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหา รวมถึงส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น

สภาพปัญหาโดยรวม 

ชนเผ่าม้ง

  1. การแต่งกาย ขาดการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่า
  2. ด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติป่าไม้ถูกทำลาย เพราะเผาป่าเพื่อปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด ขิง หรืออื่นๆ
  3. ขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์เชิงนิเวศ ทำให้เกิดปัญหาแหล่งน้ำต้นทุนขาดหายแห้งในฤดูแล้ง น้ำไม่เพียงพอในการอุปโภคบริโภค แต่ในฤดูฝนน้ำจะกัดเซาะหน้าดินชะล้างดินโคลนเป็นร่องลึก ไหลไปตามถนน ป่าไม้และต้นน้ำถูกทำลาย 

ชนเผ่ามลาบรี

  1. เนื่องจากชุมชนมลาบรี เป็นชาติพันธุ์กลุ่มน้อยในพื้นที่ตำบลแม่ขะนิง ลำน้ำแม่ขะนิง ซึ่งเป็นชาติพันธุ์ที่ไม่ค่อยจะยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมภายนอกเท่าที่ควร
    1. ปัญหาการจัดอาคารสถานที่พักอาศัยไม่เป็นระเบียบ
    2. ปัญหาไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง
    3. ปัญหาน้ำอุปโภค-บริโภคไม่เพียงพอในช่วงฤดูแล้ง
    4. ปัญหาไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้เพียงพอและมั่นคง
    5.  ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในกลุ่มชนเผ่ามลาบรีการถักกระเป๋าถุงย่ามที่ทำจากเถาวัลย์ ไม่ได้รับความนิยมและขาดตลาดรองรับ
    1. การตีเหล็กกำลังจะสูญหายไปจากชนเผ่า เนื่องจากไม่มีผู้สืบทอด มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
    2. เด็กเยาวชนเผ่าชาวมลาบรี จะอยู่กันเป็นกลุ่มสังคม และไม่ทันต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสังคมภายนอก
    3. การส่งเสริมการศึกษาจึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเพราะเด็กจะหนีเรียนตลอด เพื่อเข้าไปอยู่ในป่า
    4. ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมและสุขภาพ (ความรู้และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ทัศนคติ ความเชื่อ และพฤติกรรมสุขภาพ)
    5. ปัญหาด้านสุขภาพและการเจ็บป่วย พบว่าชาวมลาบรีมักมีการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลต่อปัญหาสุขภาพ รวมไปถึงปัญหาเรื่องการบาดเจ็บและการเสียชีวิตที่เกิดจากอุบัติเหตุ นอกจากนี้ภาวะความแปรปรวนทางจิตและพฤติกรรมนำไปสู่การฆ่าตัวตาย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม สังคมและเศรษฐกิจ

แก้ไขเมื่อ

2021-10-20

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร