วัดปทุมธรรมชาติ


ละติจูด 14.921757 , ลองจิจูด 103.502327

พิกัด

ตำบลนอกเมือง อำเภออำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

    วัดปทุมธรรมชาติ ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดบ้านแกใหญ่ หรือ วัดแกใหญ่ ตั้งชื่อตามหมู่บ้าน  แต่เดิมวัดตั้งอยู่บนที่เนินสูงในดินธรณีสงฆ์ ( ปัจจุบัน คือ หอประชุมและสถานีอนามัยหลังเก่าของบ้านแกใหญ่ หมู่ที่ 10 ) ด้านทิศตะวันตกของวัดที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน ต่อมา พระครูธรรมธัชพิมล ( หลวงปู่ทุน ธฺมมปญโญ ) ท่านได้ย้ายมาสร้างในพื้นที่ปัจจุบัน สาเหตุที่ได้ตั้งชื่อว่า วัดประทุมธรรมชาติ เพราะมีดอกบัวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในสระน้ำ ( ปัจจุบันไม่มีแล้ว ) ซึ่งการขุดใหม่ในครั้งนั้นหน่วยงานราชการในพื้นที่ใช้ทำเป็นปะปาหมู่บ้าน ด้านทิศตะวันออกของอุโบสถในปัจจุบัน

แหล่งศิลปกรรมที่สำคัญของวัดปทุมธรรมชาติ

อุโบสถวัดประทุมธรรมชาติ ตั้งอยู่ภายในวัดประทุมธรรมชาติ บ้านแกใหญ่ หมู่ที่ 1 ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์ เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2460 แล้วเสร็จและมีการผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2462 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ 117 ง หน้า 9 วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 พื้นที่โบราณสถานประมาณ 4 ไร่ 0 งาน 46 ตารางวา ร่องรอยของโบราณสถานที่เหลืออยู่ เป็นอาคารอุโบสถ หรือที่เรียกว่า “สิม” สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธ สร้างโดยการนำของพระครูธรรมธัชพิมล อดีตเจ้าอาวาส ช่างเป็นชาวเขมรที่มาอยู่ที่บ้านแกใหญ่อุโบสถหลังนี้ เป็นสถาปัตยกรรมพื้นบ้าน สร้างด้วยไม้ ขนาด 5 ช่วงเสา กว้าง 7.25 เมตร ยาว 10.60 เมตร หลังคาทรงจั่วสองชั้น ชั้นบนลดมุขด้านหน้าและด้านหลังหน้าบันมีชานจั่วแกะสลักลวดลาย ส่วนบนหลังคาประดับด้วยโหง่ ลำยอง นาคสะดุ้งและหางหงส์ไม้ หลังคาชั้นลดแบบปั้นหยาคลุมตลอดทั้งสี่ด้าน หน้าต่างและประตูเป็นแบบลูกฟักเหมือนกับที่ใช้ในบ้านเรือนทั่วไป ตัวอาคารตั้งอยู่บนพื้นดิน มีเสาไม้สี่เหลี่ยม รวม 24 ต้น ด้านหน้าด้านทิศตะวันออกมีประตูทางเข้า 2 บาน และมีหน้าต่างอยู่ตรงกลาง 1 บาน ด้านหลังด้านทิศตะวันตกมีประตูทางเข้า 2 บาน และมีหน้าต่างอยู่ตรงกลาง 1 บาน ด้านข้างด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้มีช่องหน้าต่างด้านข้างด้านละ 5 บาน จุดเด่นของสิมหลังนี้อยู่ที่หน้าบันมีชานจั่วเป็นไม้แกะสลักลวดลายด้านทิศตะวันออกแกะสลักลวดลายรูปเทพพนม ท่ามกลางลวดลายพันธุ์พฤกษา ด้านทิศตะวันตกแกะสลักลวดลายราหู ท่ามกลางลวดลายพันธุ์พฤกษา นอกจากนี้ยังพบการสลักลวดลายที่ตำแหน่งเชิงชายคาของหลังคาทั้งสองชั้น สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของโบราณสถานอุโบสถ จึงดำเนินการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของโบราณสถาน ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม คงสภาพความเป็นของแท้ดั้งเดิมให้มากที่สุด ทรงคุณค่าในการเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและแหล่งศึกษาหาความรู้ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งได้ดำเนินการจัดทำผังรูปแบบเพื่อการบูรณะเสร็จเรียบร้อยแล้ว

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2021-09-06

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร