วัดป่าอาเจียง


ละติจูด 15.267301 , ลองจิจูด 103.489747

พิกัด

ตำบลกระโพ อำเภออำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32120

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดป่าอาเจียง ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เดิมวัดป่าอาเจียงเป็นป่าช้าที่ใช้ฝังศพคนและศพช้าง ในปี พ.ศ. 2516 ผู้ใหญ่เทียม อินทร์สำราญ คุณครูแสวงบุญเหลือ ผู้ใหญ่ดา จงใจงาม คุณครูพุฒ เที่ยงธรรม ได้นำพาชาวบ้านหนองบัวและบ้านตากลางเปิดเส้นทางสายใหม่ใกล้ป่าช้า โดยเป็นทางกฐินก่อน ต่อมาปี พ.ศ. 2535 พระครูปลัดเถรานุวัฒน์ (หลวงพ่อภาวนาพุทโธ) ได้นำพาญาติธรรมสายบุญมาร่วมจัดงานอุปสมบทหมู่แห่ด้วยขบวนช้างที่ป่าช้าแห่งนี้ มีนาคสมัครร่วมโครงการ 200 รูป และเข้าไปปักกลดในป่าช้าแห่งนี้เป็นเวลา  10 วัน ก่อนกลับคืนสู่วัดบ้านเกิดของตน

     วันที่ 16 มกราคม 2563 นายอดิเทพ กมลเวชช์ รองผู้ว่าราชการ ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้ออกใบประกาศรับรองอนุญาตให้ก่อสร้างเป็นวัดป่าอาเจียง และในวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประกาศรับรองให้เป็นวัดป่าอาเจียงอย่างเป็นทางการ เหตุที่ให้ชื่อว่า “วัดป่าอาเจียง” เพราะ อาเจียง แปลว่า ช้าง กล่าวคือ สถานที่สร้างวัดแห่งนี้ช้างเป็นผู้ให้ ช้างเป็นเจ้าของวัด และยังหมายถึง สถานที่ล้อมรอบบริเวณสามเหลี่ยมอำเภอ ผู้คนรู้จักเพราะบุญบารมีของช้างอีกด้วย

แหล่งศิลปกรรมที่สำคัญของวัดป่าอาเจียง

  • สุสานช้าง ตั้งอยู่ภายในวัดป่าอาเจียง หมู่บ้านช้าง บ้านหนองบัว ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สุสานช้างแห่งนี้คือที่เก็บและรวบรวมกระดูกของช้าง ประมาณ 200 เชือก เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตในตำนานของช้าง ซึ่งช้างทุกตัวที่อยู่ในหมู่บ้านที่ตายไป จะต้องนำมาฝังไว้ที่สุสานแห่งนี้และจะมีการประกอบพิธีทางศาสนาเหมือนคน นอกจากนี้ ภายในบริเวณวัด ยังมีสิ่งที่จะเรียนรู้ถึงประวัติของช้าง วิถีชีวิตของช้างด้วย
  • ศาลาเอราวัณ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษา เรื่องราวช้างในพระไตรปิฏก และเรื่องราวของช้างใน จังหวัดสุรินทร์ ให้เห็นถึงวัฒนธรรมความผูกพันของชาวกูยคนเลี้ยงช้าง วิถีชีวิตของคนกับช้าง โดยศาลาเอราวัณมีการสร้างประติมากรรมลายนูนปูนปั้นเป็นรูปช้างหลากหลายแบบและหลายขนาด รอบศาลาเอราวัณ ที่มีความสูงกว่า 30 เมตร สวยงามอลังการ วัดป่าอาเจียงยังมีศาลปะกำ เป็นสถานที่ทำพิธีต่างๆ ตามธรรมเนียมชาวกูย ในอดีตก่อนจะออกไปคล้องช้างจะต้องทำพิธี ปัจจุบันนี้การคล้องช้างจากป่าจะไม่มีเหมือนสมัยก่อน แต่ศาลปะกำยังใช้ประกอบพิธีกรรม เช่น การเซ่นไหว้ การทำนายสภาพความเป็นอยู่ของหมู่บ้าน ฯลฯ

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2021-09-06

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร