วัดบูรพาราม


ละติจูด 14.884417 , ลองจิจูด 103.49308

พิกัด

ตำบลในเมือง อำเภออำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

     วัดบูรพาราม ตั้งอยู่เลขที่ 330 ถนนจิตรบำรุง  ตำบลในเมือง  อำเภอมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต มีเนื้อที่ 10 ไร่ 65 ตารางวา เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรีหรือ ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีอายุประมาณ 200 ปี เท่ากับอายุเมืองสุรินทร์ สร้างโดย พระยาสุรินทร์ศรีณรงค์จางวาง (ปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์คนแรกสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2300 ถึง พ.ศ. 2330 โดยประชาชนร่วมกันสร้างขึ้น เรียกว่า “วัดบูรพ์” เดิมเป็นวัดมหานิกายเป็นวัดเก่าแก่มีพัฒนาการที่ยาวนานตามยุคตามสมัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโสอ้วน) ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑล และอนุมัติให้วัดบูรณ์เป็นวัดในสังกัดธรรมยุตและได้นิมนต์พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ซึ่งปฏิบัติธุดงค์กรรมฐานอยู่ให้มาประจำอยู่ที่วัดบูรพาราม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และร่วมเป็นคณะพระสังฆาธิการวัดบูรพารามได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นสถานปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสุรินทร์ แห่งที่ 1 ตามมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 20/2549 วันที่ 29 กันยายน 2549 พระราชวรคุณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัด (ธ) เป็นเจ้าสำนัก

แหล่งศิลปกรรมที่สำคัญของวัดบูรพาราม

  • หลวงพ่อพระชีว์ (หลวงพ่อประจี) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก  ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด คาดว่าสร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดบูรพาราม รับเป็นปูชนียวัตถุ ที่ชาวสุรินทร์เคารพบูชาถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของเมืองสุรินทร์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี หรือในสมัยต้น กรุงรัตนโกสินทร์ มีอายุประมาณ 200 ปี เท่าๆ กับอายุเมืองสุรินทร์
  • พระอุโบสถหลังใหญ่ กว้าง 15 เมตร ยาว 32 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2479 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2493 ปัจจุบันปรับปรุงโครงสร้างใหม่และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติที่งดงาม
  • วิหารจตุรมุข ประดิษฐานพระคู่เมือง (หลวงพ่อพระชีว์) แบบทรงไทย สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2506 ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2538 โดยปรับปรุงให้มีความวิจิตรมากขึ้น มีบันไดทางขึ้นวิหาร 2 ทาง มีรูปปั้นหุ่นพญานาคลักษณะศิลปะไทยเลื้อยลงตามระเบียงบันไดทั้งสองข้าง
  • พระปฏิมากร พระพุทธชินราชจำลอง พระประธานประจำวัด หน้าตักกว้าง 1 เมตร 49 เซนติเมตร  สูง 2 เมตร 19 เซนติเมตร โดยประมาณ ลักษณะปางสะดุ้งมาร ประดิษฐานในพระอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2489

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2021-09-06

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร