สุขาภิบาลท่าฉลอม


ละติจูด 13.538196 , ลองจิจูด 100.272143

พิกัด

ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ๗๔๐๐๐ ตำบลท่าฉลอม อำเภออำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร รหัสไปรษณีย์ 74000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์

ความสำคัญ/ลักษณะ

กำเนิดสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย ท่าฉลอมเดิมเป็นตำบลหนึ่งในการปกครองของอำเภอสมุทรสาครตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีนตรงข้ามกับตำบลมหาชัยซึ่งที่ตั้ง ของจังหวัดสมุทรสาครในอดีตการคมนาคมระหว่างตำบลท่าฉลอมกับตำบลมหาชัยมีอยู่ทางเดียว คือต้องนั่งเรือข้ามฟากแม่น้ำท่าจีนซึ่งมีท่าเรืออยู่หน้าเมืองจึงเป็นที่มาของเพลงท่าฉลอมกับมหาชัยที่ครูเพลงชาลีอินทรวิจิตรแต่งให้ชนินทร์ นันทนาคร ร้องจนโด่งดังเป็นเพลงอมตะที่ชาวสมุทรสาครและคนทั่วไปรู้จักเพลงนี้เป็นอย่างดีแต่ปัจจุบันถนนและสะพานตัดข้ามแม่น้ำท่าจีนเชื่อมต่อถนนพระราม ๒ ถึงท่าฉลอมจึงทำให้การคมนาคมมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น สุขาภิบาลท่าฉลอมตำบลท่าฉลอมอำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสาครเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯมีพระบรมราชโองการประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลตลาดท่าฉลอมพร้อมกับพระราชทานชื่อถนนว่าถนนถวาย ซึ่งประชาชนชาวตำบลท่าฉลอมได้ร่วมมือการสละที่ดินและเงินสร้างไว้เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคมพศ ๒๔๔๘ จนถึงวันนี้ก็นับ เป็นเวลาได้ ๑๐๖ ปีแล้ว ย้อนอดีตไปในปีพ.ศ ๒๔๔๐พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ มีพระราชดำริที่จะกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นโดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้ พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. (รัตนโกสินทรศกที่) ๑๑๖ ขึ้น ภายหลังที่ทรงส่งคนไปศึกษาดูงานการปกครองในแถบประเทศยุโรปและได้เริ่มการทดลองศึกษาขึ้นในกลุ่มกรุงเทพมหานครสุขาภิบาลนี้ในชั้นต้นให้มีหน้าที่ทำลายขยะมูลฝอย การจัดเก็บที่ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะของประชาชนทั่วไปจัดการห้ามต่อไป ภายหน้าอย่าได้ปลูกสร้างหรือซ่อมโรงเรือนที่จะเป็นเหตุให้เกิดโรค ขนย้ายสิ่งโสโครกและสิ่งรำคาญของมหาชนไปให้พ้นเสีย การบริหารงานของสุขาภิบาลกรุงเทพฯนี้ดำเนินการโดยข้าราชการทั้งหมดโดยมีเสนาบดีกระทรวงนครบาลเป็นผู้กำหนดเมื่อพิจารณารูปแบบการปกครองแล้วจึงไม่อาจกล่าวได้ว่า สุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. ๑๑๖ เป็นการปกครองท้องถิ่น เนื่องจากประชาชนมิได้มีส่วนร่วมแต่อย่างใด เป็นการดำเนินการโดยข้าราชการและใช้จ่ายงบประมาณจากส่วนกลาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งเสด็จประพาสเมืองนครเขื่อนขันธ์(เมืองพระประแดงสมุทรปราการ) เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๔ ทรงทอดพระเนตรเห็นสภาพตลาดเมืองนครเขื่อนขันธ์สกปรกมาก และทรงมีพระราชดำรัสในที่ประชุมเสนาบดีว่า"โสโครกเหมือนกับตลาดท่าจีน"(ตลาดท่าฉลอม) จึงเป็นเหตุให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยร้อนพระทัยมากทรงคิดหาวิธีร่วมกับพระยาพิชัยสุนทรผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสาครทางพระยาพิชัยสุนทรจึงได้เชิญกำนันผู้ใหญ่บ้านและพ่อค้าชาวจีนในตลาดท่าฉลอมมาประชุมเพื่อร่วมกันพิจารณาหาทางปรับปรุงแก้ไขซึ่งได้ข้อสรุปว่าประชาชนและพ่อค้าชาวจีน ยินดีที่จะออกเงินซื้ออิฐปูถนน แต่ขอให้ทางผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ทำถนนโดยใช้แรงงานนักโทษทำการปรับพื้นดินและเก็บกวาดขยะมูลฝอยขนไปเททิ้งเป็นครั้งคราว โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จออกตรวจดูการดำเนินงานก่อสร้างถนนในวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๒๔ ถนนสายนี้ข้าราชการพ่อค้าประชาชนได้เรี่ยไรกันเป็นจำนวนเงิน ๕,๔๗๒ บาท เป็นถนนปูอิฐกว้าง ๒ วายาว ๑๔ เส้น ๑๔ วา และทรงมีพระดำริว่าถนนสายนี้เป็นของราษฎรได้ลงทุนเสียสละเงินเป็นจำนวนมาก หากไม่มีแผนรองรับการซ่อมแซมไว้ให้ดีแล้วอาจชำรุดเสียหาย ต้องเห็นเป็นโอกาสที่ดีที่จะใช้ภาษีโรงร้านให้เป็นภาษีสำหรับสุขาภิบาลจึงกราบบังคมทูลขอพระราชทานเงินภาษีโรงร้านตลาดท่าฉลอมมาใช้ทำนุบำรุงท้องถิ่นในกิจการ ๓ ประเภทคือ ซ่อมแซมถนนจุดโคมไฟให้มีแสงสว่างในเวลาค่ำคืนและจัดจ้างคนงานสำหรับกวาดขยะมูลฝอย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า สุขาภิบาลท่าฉลอม เป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีพระบรมราชโองการประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๘ (ร.ศ.๑๒๔) จนถึงวันนี้นับเป็นเวลา ๑๐๙ ปี ถึงแม้ว่าตำบลท่าฉลอมในปัจจุบัน จะเปลี่ยนแปลงจากเดินไปมาก เมื่อเทียบกับท่าฉลอมเมื่อ ๑๐๐ กว่าปี แต่ ท่าฉลอม ก็ยังได้ชื่อว่าเป็น ปฐมบทแห่งการปกครองท้องถิ่นไทย สำหรับการจัดงาน ๑๘ มีนา สุขาภิบาลท่าฉลอม นั้น เทศบาลนครสมุทรสาครได้ เริ่มจัดงาน ๑๘ มีนา สุขาภิบาลท่าฉลอม มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันนับเป็นปีที่ ๒๖ ต่อมาเมื่อ วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๓ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยกำหนดให้ วันที่ ๑๘ มีนาคม ของทุกปี เป็นวัน ท้องถิ่นไทย ซึ่งในปีนี้ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร่วมกับ เทศบาลนครสมุทรสาคร กำหนดจัดงานวันท้องถิ่นไทย ภายใต้ชื่อ "๑๐๙ ปี เฉลิมฟ้าท่าฉลอม ๑๘ มีนา สุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรกของประเทศไทย วันท้องถิ่นไทย” ระหว่างวันที่ ๑๔ – ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๗ ที่บริเวณวัดสุทธิวาตวราราม (วัดช่องลม)พระอารามหลวง ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยภายในงานจะจัดให้มีการทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งตอนเช้า พิธีถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ การจัดกิจกรรมรำลึกวันสุขาภิบาลท่าฉลอม การจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ การแสดงจินตภาพประกอบแสง สี เสียง และสื่อผสม อีกทั้ง ภายในงานยังประดับตกแต่งสถานที่และบรรยากาศภายในงานแบบย้อนยุค สมัย รัชกาลที่ ๕ นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ รองผู้ว่าฯ สมุทรสาคร ฝากว่า ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมเที่ยวงาน "๑๐๙ ปี เฉลิมฟ้าท่าฉลอม ๑๘ มีนา สุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรกของประเทศไทย วันท้องถิ่นไทย”

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2021-09-10

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร