วัดพระพุทธสิหิงค์


ละติจูด 7.573596 , ลองจิจูด 99.685333

พิกัด

ตำบลนาโยงเหนือ อำเภออำเภอนาโยง จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92170

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

       วัดพระพุทธสิหิงค์" หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "วัดหึงค์" แต่สิ่งที่เด่นที่สุดของวัดแห่งนี้ กลับเป็นพระประธาน ซึ่งก็มีชื่อ เหมือนกับชื่อวัด คือ         "พระพุทธสิหิงค์" แต่องค์ที่พุทธศาสนิกชนกราบไหว้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ถือเป็นองค์ใหม่ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทดแทนองค์เก่าที่สูญ หายไป ซึ่งแม้จะมีขนาดและรูปทรงที่แตกต่างกันมาก แต่ความศรัทธาของชาวตรังกลับมิเคยเลือนหาย
       วัดแห่งนี้สร้างขึ้นโดยพระนางเลือดขาว พระชายาของอดีตเจ้าเมืองพัทลุง ซึ่งมีที่มาปรากฏในตำนานของจังหวัดพัทลุง และนิทานพื้นบ้านหลายแห่งในภาคใต้ เนื่องจากเธอเป็นสตรีที่มีใจบริสุทธิ์และศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงได้สร้างศาสนสถานถวายไว้เป็นจำนวนมากมาย โดยเฉพาะในจังหวัดต่างๆ ที่พระนางนำขบวนเดินทางผ่านไป รวมทั้ง "วัดพระพุทธสิหิงค์" ในจังหวัดตรัง
        ตามเพลาตำนานเล่าว่า พระนางเลือดขาว และสามี ได้อัญเชิญพระพุทธ สิหิงค์องค์หนึ่งมาจากลังกาทวีป แต่ขณะเดินทางมาทางเรือ เผอิญเรือได้ล่มลงตรงปากอ่าว ที่ บ้านพระม่วง อ.กันตัง จ.ตรัง แต่พระพุทธสิหิงค์กลับไม่จม องค์พระลอยอยู่บนไม้กระดานแผ่นเดียว
        พระนางจึงได้ให้ต่อเรือขึ้นมาใหม่ แล้วล่องเรือทวนน้ำไปสู่คลองนางน้อย อ.นาโยง จ.ตรัง จนกระทั่งได้ทำเลที่ดี พระนางจึงได้ลงมือสร้างวัดขึ้นมาแห่งหนึ่ง และตั้งชื่อว่า วัดพระศรีสรรเพชรพุทธสิหิงค์ หรือวัดพระพุทธสิหิงค์ ในปัจจุบัน ได้โปรดประดิษฐานพระพุทธ สิหิงค์องค์ดังกล่าวไว้ที่วัดด้วย ในยุคสุโขทัย ประมาณ พ.ศ.1900 หรือเป็นระยะเวลากว่า 650 ปีแล้ว
        พระพุทธรูปองค์นี้ หล่อด้วยสำริด ปางมารวิชัย และมีหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว พระบาทขัดสมาธิเพชร พระเศียรและพระพักตร์กลมป้อม พระอุระนูน
        หลังจากนั้น ได้ยังมีการหล่อพระพุทธ รูปองค์จำลอง ที่มีลักษณะคล้ายๆ กับพระพุทธสิหิงค์องค์ที่สูญหายไปขึ้น 1 องค์ โดยเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ปัจจุบัน ยังคงตั้งประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถวัดพระพุทธสิหิงค์ และยังคงมีพุทธศาสนิกชนไปกราบไหว้บูชาอย่างสม่ำเสมอ
        สำหรับ พระพุทธสิหิงค์องค์จริงนั้น จะไม่มีผู้ใดกล้ามองไปที่พระเนตร ด้วยหากผู้ใดสบพระเนตรพระพุทธรูป จะมีอาการวิงเวียนศีรษะ เนื่องจากแก้วพระเนตรสะท้อนแสงวูบวาบน่าเกรงกลัว ภายหลังทราบว่าแก้วพระเนตรทั้งคู่มีเพชรฝังไว้ และต่อมาหลังจากได้สูญ หายไป ผู้คนจึงสามารถสบพระเนตรได้อย่างสบาย
       หลังจากนั้น ได้มีการเคลื่อนย้ายพระพุทธสิหิงค์ ไปประดิษฐานไว้ ณ วัดหัวเขา ต.นาพละ อ.เมืองตรัง ในยุคที่    พระยาตรังวิทยานุรักษ์พิทักษ์รัฐเสมา เป็นเจ้าเมืองตรัง เมื่อ พ.ศ.2476 เพราะเห็นว่าวัดเดิมมีพระพุทธสิหิงค์ ถึง 2 องค์แล้ว ประกอบกับยังมีองค์ขนาดเล็ก สามารถพาไปได้ง่าย แถมยังอยู่ใกล้กับบ้านเจ้าเมืองตรังยุคนั้นด้วย อีกทั้ง วัดพระพุทธสิหิงค์ ก็เกิดภาวะน้ำท่วมเป็นประจำทุกปีด้วย
       แต่ต่อมา พระครูสุทธิโสภณ อดีตเจ้าอาวาสวัดรัตนาภิมุข (วัดปากเหมือง) และอดีตเจ้าคณะอำเภอนาโยง มีความเป็นห่วงพระพุทธรูปองค์จริงดังกล่าวยิ่ง จึงเสนอให้อัญเชิญกลับสู่วัดพระพุทธ สิหิงค์ดังเดิม แต่ไม่ทันที่จะได้เคลื่อนย้าย ปรากฏว่า พระพุทธสิหิงค์ ได้สูญหายไป เมื่อประมาณ พ.ศ.2526 แม้หลายฝ่ายได้พยายามติดตามกลับคืนมา แต่ก็ไม่ได้ผล หลังจากนั้น ได้มีหล่อพระพุทธรูปองค์จำลองขึ้นมาอีกหลายองค์ และนำไปประดิษฐานในสถานที่ต่างๆ เช่น ภายในพระอุโบสถวัดตันตยาภิรม (วัดต้นตอ) หรือภายในศาลาริมน้ำ สวนสาธารณะ สระกะพังสุรินทร์
       ถึงแม้ว่าพระพุทธรูปจำลององค์จำลอง จะมีรูปลักษณะสวยงามเหมือน กับองค์จริง แต่ความรู้สึกที่ให้ก็ยังเสมือนว่าขาดอะไรไปบางสิ่งบางอย่าง และจนถึงขณะนี้ชาวตรังทุกคนก็ยังมีความหวังว่า สักวันหนึ่งพระพุทธสิหิงค์องค์จริงจะได้ถูกค้นพบและอัญเชิญกลับมาประดิษฐานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอีกครั้ง

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

พระอุโบสถของวัดกำลังอยู่ในการบูรณะ 

แก้ไขเมื่อ

2022-08-15

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร