สถาปัตยกรรมมรดกทางวัฒนธรรม : อาคารพาณิชย์ในเมืองนครสวรรค์ - ตลาดลาว


ละติจูด 15.706631 , ลองจิจูด 100.14376

พิกัด

ตลาดลาว ตำบลปากน้ำโพ อำเภออำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ 60000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

ย่านชุมชนเก่า

ความสำคัญ/ลักษณะ

นครสวรรค์ได้คลายความสําคัญด้านเศรษฐกิจแบบรัฐกึ่งกลาง แลกเปลี่ยนสินค้า กลายเป็นเมืองผ่าน เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ และภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ เมื่อมีการสร้างสถานีรถไฟขึ้นที่ตําบลหนองปลิง คือสถานีรถไฟนครสวรรค์ในปัจจุบัน ทําให้ความสําคัญในแม่น้ำแควใหญ่และการใช้เส้นทางน้ำลดลง ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อมีการใช้เส้นทางรถยนต์และการเปิดสะพานเดชาติวงศ์ ใน พ.ศ. ๒๔๙๓ นครสวรรค์ก็ยิ่งหมดความสําคัญในลักษณะชุมทางสินค้าลง การซื้อขายแบบเดิมและสภาพความคึกคักของตลาดที่มีพ่อค้ามาชุมนุมเพื่อเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ ก็เลื่อนหายไปด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม ความรุ่งเรืองด้านการค้าและย่านการค้าในอดีต ยังคงทิ้งร่องรอยไว้ให้พบเห็นสถาปัตยกรรม บ้านเรือน ร้านค้าลักษณะในอดีตก็ยังมีให้เห็นอยู่ทั่วไป บริเวณตลาดลาว และตลาดสะพานดํา นอกจากนี้ แหล่งการค้ายุคกลางที่ได้รับอิทธิพลจากชาวจีน ก็มีศูนย์กลางการค้าอยู่บริเวณย่านการค้าถนนโกสีย์ (ตึกแดง ตึกเหลือง ตลาดบ่อนไก่ และตลาดชุนหงษ์)

ตลาดลาว เป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างนครสวรรค์กับเมืองสําคัญทางเหนือ เช่น ตาก กําแพงเพชร เชียงใหม่ ฯลฯ ชาวนครสวรรค์เรียกคนไทยทางเหนือที่มาค้าขายว่า “พวกลาว” จึงเรียกตลาดนี้ว่า “ตลาดลาว” พวกลาวจะนําสินค้าประเภทไม้สักและของป่า เช่น หวาย ชัน น้ำมันยาง สีเสียด เปลือกไม้ น้ำผึ้ง ฯลฯ มาขาย ขากลับจะบรรทุกพวกข้าวและเกลือกลับไป นอกจากนี้ยังมีพวกมอญนําโอ่งมาขายด้วย

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2021-10-05

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร