วัดลี


ละติจูด 19.1662 , ลองจิจูด 99.9156

พิกัด

51 ถนนวัดลี หมู่ที่ 2 ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000 ตำบลเวียง อำเภออำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา รหัสไปรษณีย์ 50110

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดลี เป็นชื่อแต่ดั้งเดิม ความหมายคำว่า “ลี” เป็นคำโบราณของไทยทางภาคเหนือ หมายถึงกาดหรือตลาดในความหมาย “วัดลี” ก็คือ วัดที่อยู่ในย่านชุมชนตลาด มีการสันนิษฐานว่า เป็นเมืองยุคแรกๆ ของพะเยา ตั้งแต่สมัยขุนจอมธรรมมาสร้างเมืองพะเยา ปัจจุบันวัดลียังคงใช้ชื่อดั้งเดิมตั้งแต่แรกเริ่มสร้างวัด ตามหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในจารึก วัดลีสร้างเมื่อปีจุลศักราช 857 หรือปี พ.ศ.2038 ตรงกับสมัยของพระเจ้ายอดเชียงราย กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา (เชียงใหม่) พระเจ้ายอดเชียงรายได้มีพระราชโองการให้เจ้าหมื่นหน่อ เทพครู ผู้เป็นพ่อครูหรือพระราชครูของพระเจ้ายอดเชียงราย ขณะนั้นมากินตำแหน่งเป็น “เจ้าสี่หมื่นพะเยา” ฐานะเป็นเจ้าผู้ครองเมือง ได้มาสร้างวัดลีเพื่อเป็นการถวายส่วนบุญ ส่วนกุศลแด่พระเจ้ายอดเชียงราย กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ เจ้าสี่หมื่นพะเยาได้มากระทำพิธีฝังหินกำหนดเขตวัดและ ผูกพัทธสีมาเป็นอุโบสถไว้กับวัดลี ในสมัยของพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์หรือท้าวแม่กุ กษัตริย์อาณาจักรล้านนา ได้เกิดสงครามระหว่างล้านนากับพม่า ทำให้ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นพม่า รวมระยะเวลานานถึง ๒๑๖ ปี ตามหัวเมืองต่างๆ ของล้านนารวมถึงเมืองพะเยาต้องกลายเป็นเมืองร้างไปเป็นเวลายาวนาน วัดลีได้ผ่านการเป็นวัดร้างมาหลายร้อยปีและได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในช่วงปี พ.ศ. 2463 - 2478 โดยครูบาศรีวิชัยมาเป็นผู้นำในการบูรณปฏิสังขรณ์และยกฐานะขึ้นเป็นมาเป็นวัดอีกครั้ง ภายในวัดมีสิ่งที่สำคัญคือ องค์พระธาตุธาตุวัดลี ซึ่งเป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวพะเยา เป็นเจดีย์เก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 21 มีพระพุทธบาทจำลองหินทราย เป็นโบราณวัตถุที่สำคัญของวัดมีมาตั้งแต่ดั้งเดิม พระพุทธรูปหินทรายที่ประดิษฐานอยู่บริเวณองค์พระธาตุเจดีย์เป็นพระพุทธรูปหินทรายองค์ใหญ่ที่สุดในวัดลี และมีความเก่าแก่อยู่คู่กับวัดลีมาช้านาน เป็นพระพุทธรูปหินทรายศิลปะสกุลช่างพะเยาที่มีความสวยงาม โดดเด่นที่พระพักตร์ที่อิ่มเอิบ มีลายผ้าจีวรผาดบริเวณหน้าตักซ้าย พระเศียรเป็นลายตาราง พระเมาลีเป็นเปลวรัศมีที่กว้างใหญ่ นั่งบนฐานราบ ปางมารวิชัย ซึ่งเป็นศิลปะสกุลช่างพะเยาที่หาชมได้ยาก และศิลาจารึกวัดลี เป็นจารึกที่กล่าวถึงประวัติการสร้างวัดลีในปี  พ.ศ. 2308 และเป็นหลักฐานสำคัญชิ้นเดียวที่ทำให้ได้ความเป็นมาของวัดลี

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2022-03-01

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร