สถาปัตยกรรมมรดกทางวัฒนธรรม : พุทธศาสนสถาน - วัดนครสวรรค์


ละติจูด 15.701309 , ลองจิจูด 100.135575

พิกัด

วัดนครสวรรค์ ตำบลปากน้ำโพ อำเภออำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ 60000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดนครสวรรค์ เดิมมีนามว่า "วัดหัวเมือง" เพราะตั้งอยู่ก่อนจะเข้าถึงตัวเมือง สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. ๑๙๗๒ เดิมหน้าวัดอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีต้นโพธิ์และพระปรางค์มองเห็นเด่นชัดสำหรับผู้สัญจรทางน้ำ ต่อมาสายน้ำได้เปลี่ยนทิศทางห่างออกไปจากวัดประมาณ ๑๐๐ เมตร

พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีกำแพงโดยรอบทั้ง ๔ ด้านและมีประตูเข้า-ออกได้ ๔ ด้าน ที่ดินตั้งวัดนี้ได้ถูกถนนสวรรค์วิถีตัดผ่าน แบ่งเนื้อที่ออกเป็น ๒ แปลง เป็นเขตสังฆาวาสและเขตพุทธาวาส

แต่เดิมประมาณ พ.ศ.๑๙๗๒ ทางราชการได้เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา (มีศิลาจารึกเป็นหลักฐาน) เป็นที่พำนักอยู่จำพรรษาของเจ้าคณะจังหวัด เป็นสถานที่สอบธรรมและบาลีสนามหลวงตลอดมา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๓ ชาวบ้านได้พบช้างเผือก ๑ เชือก ที่เมืองนครสวรรค์ จึงได้ประกอบพิธีทางศาสนาที่วัดนี้ แล้วนำถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่เมืองลพบุรี ซึ่งได้พระราชทานนามช้างเผือก นั้นว่า "เจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์"

อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มีพระอุโบสถกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๖ เมตร บูรณะเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ ศาลาการเปรียญ กว้างยาวด้านละ ๓๔ เมตร เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ มีกุฏิสงฆ์จำนวน ๑๕ หลัง เป็นอาคารคอนกรีต ๙ หลัง อาคารไม้สัก ๒ ชั้น ๑ หลัง ห้องสมุดจตุรมุขกว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๑๒ เมตร เป็นอาคารคอนกรีต หอระฆังจตุรมุขสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง อาคารเรียนพระปริยัติธรรม กว้าง ๒๔.๕๐ เมตร ยาว ๒๘.๕๐ เมตร เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น มีมุขหน้าและหลัง พระวิหารสร้างด้วยอิฐโบราณแผ่นใหญ่ บูรณะเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ อาคารสำนักงานมูลนิธิการกุศล ๑ หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศล ๕ หลัง และฌาปนสถานแบบเตาอบคอนกรีตเสริมเหล็ก

สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในพระอุโบสถ ขนาดพระเพลากว้าง ๒.๕๐ เมตร สร้างด้วยทองเหลืองมีพระนามเรียกกันว่า "หลวงพ่อศรีสวรรค์" พระพุทธรูปใหญ่ ๒ องค์ ในพระวิหารเรียก       "พระผู้ให้อภัย" และมีพระพุทธรูปอื่นอีก ๒ องค์ในพระวิหาร นอกจากนี้ ยังมีพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัยปางมารวิชัยอีก ๔ องค์ พระเจดีย์เก่าอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถ ๓ องค์ พระปรางค์ซึ่งปรักหักพังมีเพียงซากและรากฐานปรากฏอยู่

ใน พ.ศ. ๒๕๕๔ เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) เสด็จทางชลมารคไปทรงเททองหล่อพระพุทธชินราชจําลองที่จังหวัดพิษณุโลก ได้เสด็จมาทรงเยี่ยมและเห็นความสําคัญของวัดนี้ จึงทรงโปรดให้ย้ายพระครูสวรรค์วิถีสุทธิอุตตมคณาจารย์สังฆปาโมกข์ (หลวงพ่อครุฑ) เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์จากวัดเขา (วัดจอมคีรีนาคพรต) มาพํานักอยู่ประจําที่วัดนี้ ในการย้ายนั้นได้จัดเป็นการใหญ่มาก มีขบวนการแห่แบบเวสสันดร จํานวน ๑๓ ขบวน พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคํารบผู้บัญชาการทหารสมัยนั้น จัดขบวนส่งท่านด้วย

พ.ศ. ๒๔๕๔ สมเด็จพระราชินีพระพันปีหลวง และสมเด็จพระมาตุจฉา เสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ ได้เสด็จมาทรงบําเพ็ญพระราชกุศลในวันพระราชสมภพและวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จ-พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) พร้อมด้วยเจ้านายอีกหลายพระองค์ ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์เพื่อปฏิสังขรณ์พระอารามนี้ด้วย

พ.ศ. ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สําหรับเป็นทุนสร้างพระอุโบสถหลังปัจจุบันครอบหลังเดิมไว้ พร้อมกับได้พระราชทาน      พระบรมฉายาลักษณ์เป็นโลหะทองแดงขนาดใหญ่ไว้เป็นอนุสรณ์ในพระอุโบสถด้วย

พ.ศ. ๒๕๑๕ สมเด็จพระภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพรรณวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ได้ประทานผ้าพระกฐินมาทอดถวายที่วัดนี้ ครั้นถึง พ.ศ. ๒๕๒๔ วัดนครสวรรค์จึงได้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2021-10-05

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร