เจดีย์กลางน้ำ


ละติจูด 12.6663 , ลองจิจูด 101.24184

พิกัด

ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ตำบลปากน้ำ อำเภออำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง รหัสไปรษณีย์ 21000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

           เจดีย์กลางน้ำ ตั้งอยู่ที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง พระเจดีย์กลางน้ำ ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ขนาดย่อม สูงราว 10 เมตร ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำระยอง ท่างกลางป่าชายเลนที่ยาวเหยียด มีน้ำล้อมรอบ เนื้อที่ราว 52 ไร่ เทศบาลนครระยองได้สร้างสะพานคอนกรีตเข้าไปสู่เจดีย์ เจดีย์นี้สร้าง พ. ศ. 2416 ในสมัย พระยาศรีสมุทรโภคชัยชิตสงคราม (เกตุ ยมจินดา) เป็นเจ้าเมืองระยอง สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ ให้ชาวเรือ หรือผู้โดยสารที่เดินทางผ่านถึงบริเวณนั้นได้ทราบว่ามาถึงเมืองระยองแล้ว สมัยโบราณมีแต่เส้นทางคมนาคม ทางน้ำเพียงทางเดียวเท่านั้นที่จะเข้าสู่ตัวเมืองระยองได้สะดวก ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างเจริญรอยตามแบบ พระสมุทรเจดีย์ หรือ เจดีย์กลางน้ำ เมืองสมุทรปราการที่เป็นสัญลักษณ์ให้บรรดาผู้เดินทางผ่านมา ถึงจุดนี้ทราบว่า ใกล้จะถึงกรุงเทพมหานครแล้ว

          เจดีย์กลางน้ำถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดระยอง และเป็นสิ่งที่ชาวระยองเคารพนับถือมาก ราวกลางเดือน 12 ของทุกปีซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก จะมีงานประเพณีทอดกฐินและงานห่มผ้าเจดีย์กลางน้ำ นอกจากนั้นจะมี งานลอย กระทง แข่งเรือยาว ประเพณีห่มผ้าเจดีย์นั้น ผ้าที่จะนำมาห่มต้องเป็นผ้าสีแดง มีความยาว 6 เมตร ใช้คน 2 คนปีน ขึ้นไปห่มส่วนบนของเจดีย์ บริเวณรอบๆเจดีย์มีการปลูกป่าสน ทำให้ร่มรื่นสวยงามจึงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ของชาวเมืองใน เวลาว่างอีกด้วยปัจจุบันเทศบาลนครระยองได้ทำการบูรณะพระเจดีย์และ บริเวณรอบองค์ อย่าง สวยงาม สร้างสะพานคอนกรีตให้นักท่องเที่ยวได้เดินชมป่าชายเลนอีกด้วย

          พระยาศรีสมุทรโภคชัยชิตสงคราม (เกตุ ยมจินดา) เจ้าเมืองระยอง ให้สร้างเจดีย์นี้ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากเห็นว่าข้าราชการหัวเมืองที่เดินทางไปเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่กรุงเทพฯ ได้ใช้พระเจดีย์กลางน้ำที่ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นจุดสังเกตว่าใกล้จะถึงเมืองหลวงแล้ว จะได้ตระเตรียมข้าวของและแต่งตัวให้เรียบร้อย จึงนำแบบอย่างมาสร้างเจดีย์กลางน้ำที่เมืองระยองบ้าง เมื่อครั้งที่ชาวเมืองระยองยังใช้ทางน้ำที่เมืองระยองบ้าง เมื่อครั้งที่ชาวเมืองระยองยังใช้ทางน้ำเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก พระเจดีย์กลางน้ำเปรียบเสมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวเรือทุกลำ เพราะเมื่อเดินเรือมาถึงบริเวณนี้ก็ถือว่าได้เดินทางมาถึงเมืองระยองอย่างปลอดภัยแล้ว ใน ปี พ.ศ. 2517 ได้มีการบูรณะพระเจดีย์ขึ้นใหม่ให้มีความสวยงาม ความเป็นมาของชุมชน ชุมชนนี้มีโบราณสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์กลางน้ำ เป็นสัญลักษณ์ของชาวระยอง โดยเฉพาะชาวประมง ยามเมื่อออกหาปลากลางทะเลแล้วกลับเข้าฝั่งเมื่อเห็นยอดเจดีย์ ก็ถือว่าได้กลับถึงบ้านแล้วจึงเป็นสถานที่ที่นับถือของชาวระยองอีกแห่งหนึ่ง ลักษณะของเจดีย์เป็นรูปทรงระฆังคว่ำ สูงประมาณ 10 เมตร ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำระยอง มีน้ำล้อมรอบ ประกอบไปด้วยป่าชายเลน ที่ยาวไกลไปตามชายแม่น้ำ เนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ มีถนนถึงสะพานไม้ลูกระนาด ข้ามไปสู่เจดีย์ สถานที่บริเวณเจดีย์ร่มรื่นมีผู้คนเข้าไป พักผ่อนและเยี่ยมชมอยู่เป็นประจำ เจดีย์องค์นี้สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2416 ในสมัยที่พระยาศรีสมุทรโภคชัยโชคชิตสงคราม (เกตุ ยมจินดา) เป็นเจ้าเมืองระยอง จุดประสงค์ในการสร้างก็เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของชาวเรือ หรือผู้โดยสารที่เดินทางผ่านเข้าไปถึงบริเวณนั้น จะได้ทราบว่าเข้ามาถึงเมืองระยองแล้ว สมัยโบราณเส้นทางที่จะเข้าสู่เมืองระยองได้สะดวกก็คือการคมนาคมทางน้ำ ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างเจริญรอยตามแบบ “พระสมุทรเจดีย์” หรือ “เจดีย์กลางน้ำ” จังหวัดสมุทรปราการ ที่เป็นสัญลักษณ์ให้บรรดาผู้เดินทางผ่านมาถึงจุดนี้ทราบว่าใกล้จะถึงกรุงเทพมหานครแล้ว อย่างไรก็ดี เจดีย์กลางน้ำนี้ ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดระยอง และเป็นสิ่งที่ ชาวระยองเคารพนับถือมาก เมื่อถึงวันกลางเดือน 12 ของทุกปี ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก จะมีงานลอยกระทง แข่งเรือ และมหรสพต่าง ๆ ร่วมในงาน “ห่มผ้าพระเจดีย์กลางน้ำ” ซึ่งผ้าที่จะนำมาห่มต้องเป็นผ้าสีแดงมีความยาว 5 เมตร ใช้คนสองคนขึ้นไปห่มส่วนบนทรงระฆังของเจดีย์ บริเวณรอบ ๆ องค์เจดีย์มีการปลูกป่าสน ดูร่มรื่นสวยงาม จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ ของชาวเมืองระยอง และนักท่องเที่ยว เนื่องในท้องถิ่นนี้ หรือสถานที่นี้มีเจดีย์กลางน้ำเป็นสถานที่สำคัญและรู้จักกัน ทั่วไป นายสุรพงษ์ ภู่ธนะพิบูล นายกเทศมนตรีเทศบาลนครระยอง จึงได้ตั้งชื่อชุมชน “สมุทรเจดีย์” เป็นที่ยอมรับทั่วกัน

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2022-02-09

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร