พุทธสถานภูปอ


ละติจูด 16.6234246 , ลองจิจูด 103.6242646

พิกัด

ตำบลภูปอ อำเภออำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ รหัสไปรษณีย์ 46000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

พุทธสถานภูปอ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณปางไสยาสน์ ฝีมือช่างจากสมัยทวารวดี จำหลักบนหน้าผา 2 องค์ เป็นที่เคารพบูชาของชาวจังหวัดกาฬสินธุ์และใกล้เคียง องค์แรกประดิษฐานอยู่บนเชิงเขาทางขึ้น องค์ที่ 2 ประดิษฐานอยู่บนภูปอ นอกจากภูปอจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์อันศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังมีทิวทัศน์ตามธรรมชาติที่สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจอย่างยิ่ง ประชาชนในท้องถิ่นจะจัดงานสมโภชพระพุทธไสยาสน์ประมาณเดือนเมษายนของทุกปี ภูปอ เป็นเขาหินทราย ยอดเขาสูง 336 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง หรือสูง 94 เมตร จากพื้นที่ดินล่าง ทอดตัวตามแนวทางตะวันออก-ตะวันตก ฟากเขาด้านทิศเหนือเป็นเขตอำเภอสหัสขันธ์ ฟากเขาด้านทิศใต้ เป็นเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ แหล่งหินศิลปะถ้ำสมัยประวัติศาสตร์ ณ ที่นี้เป็นภาพสลักรูปพระนอนบนแผ่นหินใต้เพิงผา 2 แห่ง อยู่ทางฟากเขาด้านตะวันตก ในเขตวัดพระอินทร์ประทานพร บ้านโพนคำ ตำบลภูปอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ที่รุ้ง 16 องศา 37 ลิปดาเหนือและแวง 103 องศา 38 ลิปดาตะวันออก ภาพสลัก 2 รูป อยู่บนผาหินต่างระดับกัน ภาพแรกสลักอยู่บนผนังหินใต้เพิงผาเชิงเขา สูงจากพื้นดินราบ (ที่วัด) ประมาณ 5 เมตร ภาพที่สองอยู่บนผนังหินใต้เพิงผา เกือบถึงยอดเขา สูงจากพื้นดินด้านล่างประมาณ 80 เมตร มีบันไดทางขึ้น มีที่พักเป็นระยะ ๆ พระพุทธไสยาสน์องค์ที่ 1 (องค์ล่าง) สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-14 ลักษณะศิลปกรรมสร้างตามศิลปกรรมแบบทวารวดี สกุลช่างอีสาน ความยาวของภาพสลัก 3.30 เมตร กว้าง 1.27 เมตร ภาพสลัก ณ ที่นี้มิได้สลักแต่รูปองค์พระลอย ๆ แต่สลักแผ่นพื้นหินให้เป็นรูปผ้าปูลาดรองพระองค์ และผ้า (หมอน) รองหนุนพระเศียรและรองพระบาททั้งคู่ รอบ ๆ พระวรกายและพระเศียรสลักเป็นรูปประภาวลีที่เส้นกรอบนอกของประภาวลีรอบพระเศียรสลักรูปดวงดอกไม้เป็นระยะ ทำให้ดูคล้ายรัศมีเพิ่มขึ้น องค์พระนอนตะแคงข้างขวาตามแบบสีหไสยา พระเศียรประทับบนพระหัตถ์และพระกรข้างขวาหันสู่ทิศเหนือ พระพักตร์หันสู่ทิศตะวันตก พระพุทธไสยาสน์องค์ที่ 2 (องค์บน) สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 18-19 ลักษณะศิลปกรรมสร้างตามศิลปกรรมแบบทวารวดี ผสมผสานกับพุทธศิลปะแบบสุโขทัย ความยาวของภาพสลักนับจากประภาวลีเหนือเศียรพระจนถึงขอบเตียงปลายพระบาท 5.20 เมตร ส่วนกว้างที่สุด 1.50 เมตร องค์พระสลักนูนจากผนังขึ้นมา 55 เซนติเมตร องค์พระนอนตะแคงขวาตามแบบสีหไสยา พระเศียรหันสู่ทิศเหนือค่อนมาทางตะวันตกเล็กน้อย โดยสลักหินที่รองรับใต้องค์พระให้เป็นแท่นขอบเหลี่ยมต่อด้วยขาคู่หนึ่งซึ่งสลักให้ดูเป็นรูปขาเตียง ภาพสลักนี้มีเส้นโค้งเว้า เน้นสัดส่วนและมีลักษณะอ่อนช้อยกว่าภาพสลักโดยทั่วไป ที่ตั้ง : อยู่ในวัดอินทร์ประทานพร ตำบลภูปอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2023-10-16

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร