วัดแม่ลัว


ละติจูด 20.189877 , ลองจิจูด 100.040209

พิกัด

47Q 608678 UTM 2232831 ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภออำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57110

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดแม่ลัว ตั้งอยู่ เลขที่ 57 บ้านแม่ลัว หมู่ที่ 1 ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 7 ไร่ 2 งาน น.ส.3 เลขที่ 135 อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 106 เมตร จดถนนซอยทิศใต้ประมาณ 106 เมตร จดที่ดินสาธารณะ ทิศตะวันออกประมาณ 116 เมตร จดถนนซอย อาคาร เสนาสนะ ประกอบด้วยอุโบสถ และ กุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุมีพระประธาน เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน วัดแม่ลัว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2380 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร

พระเจ้าแสนแซ่ วัดแม่ลัว ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย วัดบ้านแม่ลัวสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2344 โดยพระครูบาลิน ครูบายะ ครูบาวงศ์ และครูบาแสน มาเป็นเจ้าอาวาสตามลำดับ

ในช่วงที่ครูบาแสน ได้มาจำพรรษาที่วัดบ้านแม่ลัว ใน พ.ศ. 2403 ท่านได้มาบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามที่ได้สร้างมาก่อนหน้านี้เป็นเวลา 51 ปีแล้ว ทางคณะศรัทธาได้กราบนิมนต์พระครูบาแสนขึ้นเป็นเจ้าอาวาสประจำวัดในสมัยนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2404 ครูบาแสนก็ได้นัดประชุมคณะศรัทธาในหมู่บ้านมาปรึกษาหารือกัน เพื่อจะไปเสาะแสวงหาพระพุทธรูปใหม่มาเป็นพระประธานของวัด เนื่องจากพระประธานองค์เดิมที่สร้างด้วยปูนปั้นได้ชำรุดทรุดพังไป จึงได้ตกลงกันไปที่วัดร้างในเขตอำเภอเชียงแสน ซึ่งในสมัยนั้นเมืองเชียงแสนยังมีวัดร้างอยู่มากมายตามในป่า ดังนั้นพระครูบาแสน จึงได้พาคณะศรัทธา จำนวน 8 คน ติดตามไปด้วยทางเท้า พอไปถึงในเขตอำเภอเชียงแสนแล้วจึงช่วยกันค้นเสาะหาไปตามวัดร้างแถวในป่า จึงไปพบพระพุทธรูปองค์หนึ่งมีเครือเถาวัลย์ปกคลุมอยู่เห็นว่าเป็นพระที่สวยงามมากประทับอยู่ในโบสถ์ร้าง บริเวณวัดป่าสักหางเวียง และยังมีต้นโพธิ์ที่กำลังงอกออกต้นเล็กๆที่พระหัตถ์ซ้าย (มือซ้ายวางหน้าตัก) ของพระพุทธรูปด้วย เมื่อเห็นพร้อมตกลงกันแล้วจึงช่วยกันเอาไม้ไผ่ทำเป็นเฉลียงช่วยกันหามมา แต่พอมาถึงลำน้ำแม่ลัว ชาวบ้านไม่สามารถเอาพระพุทธรูปข้ามแม่น้ำไปได้ จึงเอาประทับไว้ที่ริมแม่น้ำไว้ถึง 2 วันและได้มาบอกชาวบ้านให้ไปช่วยกันทำแพแล้วทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปลงแพล่องข้ามแม่น้ำ เมื่อมาถึงฝั่งน้ำอีกฝั่งก็ช่วยกันนำพระพุทธรูปขึ้นเฉลียงหามแห่เป็นขบวนเข้าสู่วัดบ้านแม่ลัว ใน ปี พ.ศ. 2404 แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานบนแท่นแก้วในวิหารที่สร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง มุงด้วยกระเบื้องดินขอ ในสมัยนั้น ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาของวัดในทิศ ใต้ และด้วยพุทธปาฏิหาริย์ ขณะที่อัญเชิญพระแสนแซ่มานั้น ได้มีฝนตกโปรยปราย ทำให้การเดินทางนั้นเย็นชุ่มฉ่ำตลอดทาง (บางแห่งเรียก “พระแสนแซ่” ว่า “พระเจ้าฝนแสนห่า” หรือ “พระเจ้าแสนทองทิพย์”) ประดุจดั่งเทพยดา เทวาอารักษ์ ได้อนุโมทนากับการที่พระพุทธรูปแสนแซ่ จะได้มาประดิษฐานที่วัดบ้านแม่ลัวที่มีสาธุชนกราบไหว้และพระครูบาแสน จึงเอาต้นโพธิ์ที่มากับพระพุทธรูปนั้นปลูกที่ลานวัด เพื่อเป็นสัญลักษณ์เขตวัด และยังเป็นการประกาศพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไปจนถึงปัจจุบันนี้ ภายหลังได้มีทางกรมศิลป์ได้มาตรวจดูและทำการขึ้นทะเบียนไว้ที่กรมศิลป์แล้ว พระพุทธรูปองค์นี้มีชื่อว่า “พระแสนแซ่” (พระสิงห์ 3 สมัยเชียงแสนโบราณ) และในปี พ.ศ. 2526 ได้ทำการย้ายวิหารลงไปสร้างด้านล่างวัด สร้างด้วยปูนเสริมเหล็กแบบถาวร เพื่อความสะดวกของคณะศรัทธาในการกราบไหว้พระแสนแซ่

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2022-07-22

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร