ละติจูด 19.18355 , ลองจิจูด 99.4984
พิกัด
47Q 0552396 UTM 2121214 ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภออำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57260
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
วัด วัดร้าง ศาสนสถาน
ความสำคัญ/ลักษณะ
วัดแม่เจดีย์หรือวัดพระธาตุแม่เจดีย์ ตั้งอยู่บนยอดดอยแม่เจดีย์ หมู่ที่ 3 บ้านแม่เจดีย์ ตำบลแม่เจดีย์ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เป็นวัดเก่าแก่ของเวียงป่าเป้า โดยถูกทิ้งรกร้างมาเป็นเวลา 968 ปี สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 1583 โดยพระเจ้าอโนมารธามังช่อกษัตริย์พม่า เป็นวัดร้างตกสำรวจ คณะกรรมการจึงขอยกวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่ประจำ ต่อมาจึงขอพระราชทานวิสูงคามสีมาประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าณ วันที่ 7 ธันวาคม 2549 ประกาศราชกิจจานุเบกษาฉบับทั่วไป เล่มที่ 124 ตอนที่ 4 กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ
นับตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2531 ทางคณะสงฆ์พร้อมคณะกรรมการโดยมีพระไพบูลย์ พัฒนาภิรักษ์ (ถวัลย์ ปรกกโม) ได้นำพระสงฆ์สามเณร ทายก ทายิกา มาบูรณะปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมองค์พระเจดีย์ทั้งสององค์ ให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงและได้รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุจากพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก จึงได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นอีก 1 องค์ ทางทิศตะวันตก รวมเป็นเจดีย์ 3 องค์
บริเวณโดยรอบองค์พระธาตุพระธาตุแม่เจดีย์มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน ภูมิทัศน์ทั่วไปร่มรื่น ต่อมาทางวัดได้รับอนุมัติจากกรมป่าไม้ให้จัดสร้างสวนป่าชุมชน และศูนย์สาธิตพระพุทธศาสนากับกรมป่าไม้ ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยย่าคำมา เป็นสถานที่ฝึกอบรมศึกษา ดูงาน และพักผ่อนหย่อนใจในพื้นพื้นที่ประมาณ 7,200 ไร่
พระธาตุแม่เจดีย์มีตำนานเล่าขานยาวนานมาตั้งแต่ พ.ศ. 1583 โดยพระเจ้าอโนรธามังช่อ ได้แต่งตั้งฑูตไปศรีลังกาเพื่อขอคัมภีร์พระไตรปิฎกกับพระพุทธรูปทำด้วยแก้วมรกต จากกลับเรือถูกพายุพัดหลงทางมาที่ปากแม่น้ำโขง จึงถูกกษัตริย์กัมพูชายึดเรือและสิ่งของไว้ทั้งหมด จากนั้นเป็นเวลาเกือบปี พระเจ้าอโนรธามังช่อทราบเรื่องเข้า จึงได้แต่งตั้งฑูตไปกัมพูชาเพื่อขอคืนพระไตรปิฎก ส่วนพระแก้วมรกตหากกษัตริย์กัมพูชาอยากได้ก็จะไม่ขอคืน แต่กษัตริย์กัมพูชาไม่ยอมคืนให้แม้แต่อย่างเดียว พระเจ้าอโนรธามังช่อจึงยกทัพพม่ามาทางเชียงลาว (เชียงรายในปัจจุบัน) เมื่อมาถึงตำบลแม่เจดีย์ (ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ ในปัจจุบัน) ก็ทรงสร้างพระเจดีย์ขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาในปี พ.ศ. 1585 โดยองค์พระธาตุได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ 2 ครั้ง ครั้งแรกโดยชาวเงี้ยว แต่ไม่ทราบเวลาที่แน่ชัด ครั้งที่ 2 โดยพระครูไพบูลพัฒนาภิรักษ์ (ถวัลย์ ปรกฺกโม) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแม่เจดีย์องค์ปัจจุบัน ขณะขึ้นมาปฏิบัติธรรม เมื่อได้เห็นสภาพชำรุดทรุดโทรมขององค์พระธาตุเนื่องจากกาลเวลาและขาดการบำรุงรักษา จึงได้เป็นผู้นำร่วมกับพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา ทำการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมศิลปากร จนอยู่ในสภาพที่มั่นคงและงดงามดังเช่นปัจจุบัน
สำหรับพระพุทธรูปทองคำนั้น เพิ่งมีการขุดค้นพบเมื่อเดือนธันวาคม 2550 จากการตัดถนนเพื่อปรับพื้นที่ทำถนนจากสวนสาธารณะบ้านชุ่มเมืองเย็นไปยังถนนอีกเส้นหนึ่ง ทำให้พบตลับสัมฤทธิ์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและวัตถุโบราณจำนวนหนึ่ง และในคืนนั้นเองท่านพระครูได้นิมิตถึงพระภิกษุสงฆ์ชื่อครูบาแสงมา มาบอกว่าจะพาไปเอาพระพุทธรูปทองคำและสมบัติต่างๆ ในบริเวณพื้นที่ที่ตัดถนน ซึ่งเป็นของนายอ้าย แสนบ่อแก้ว และกำชับให้สร้างพระเจดีย์ทรงพระเจดีย์บนดอยตุงองค์เดิมพร้อมอุโบสถหลัง หนึ่งด้วย เมื่อสะดุ้งตื่นท่านจึงตัดสินใจเดินทางไปยังจุดที่ได้นิมิตขึ้น และขุดพบพระพุทธรูปทองคำ 2 องค์ คือ พระพุทธรูปสิงห์หนึ่ง และพระพุทธรูปสิงห์สาม พร้อมสายสังวาลย์
นอกจากนั้นยังมีพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุแม่เจดีย์ ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมเก็บรักษาพระเครื่อง วัตถุโบราณ เพื่อจรรโลงและสืบทอดพระพุทธศาสนา แหล่งศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม
พระเครื่องที่จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุแม่เจดีย์ มีที่มาจาก 3 แหล่งด้วยกัน
1. กรุวัดน้อย
เมื่อปลายปี 2550 พระครูไพบูลย์ได้ขุดพบพระทองคำ 2 องค์ สิงห์หนึ่งและสิงห์สาม สร้อยสังวาล พระธาตุ และพระเครื่องอีกจำนวนมาก พระเครื่องต่างๆ ถูกบรรจุในภาชนะดินเผาชุกไว้ใต้ฐานพระอุโบสถของวัดน้อย และบริเวณใกล้เคียง
ในนิมิตของพระครูไพบูลย์นั้น “ครูบาแสงมา” เล่าให้ท่านฟังว่า พระเครื่องเหล่านี้สร้างที่อินเดีย แล้วนำเข้ามาในสุวรรณภูมิ โดยเจ้าหญิงมุณีแสงธรรม ผ่านพม่าเข้ามาทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน พระครูไพบูลยังได้ขุดพบแผ่นจารึกเป็นภาษาล้านนา เมื่อถอดความแล้วได้ข้อความที่ตรงกัน จึงใช้อ้างอิงเป็นหลักฐาน พระเครื่องในกลุ่มนี้มักประดับด้วยแก้วหลากสี สวยงาม
2. พระที่นำมาจากกรุงเทพฯ
พระในกลุ่มนี้ได้แก่ พระวังหน้า พระสมเด็จกรุวัดอินทร์ และพระเครื่องอื่นๆ ในราวปี 2460-2480 พ่อค้าชาวจีนท่านหนึ่งนามว่า “พด” มีภูมิลำเนาอยู่ในละแวกวัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ ท่านมีอาชีพล่องเรือสินค้าขึ้นล่องระหว่างกรุงเทพฯ-ลำพูน ได้รู้จักและสนิทสนมกับหม่อน (ทวด) ของพระครูไพบูล หม่อนจึงยกที่นาให้แปลงหนึ่ง ซึ่งพ่อค้าพดได้สร้างยุ้งฉางขนาดใหญ่ แล้วนำพระเหล่านี้มาเก็บไว้ทุกเที่ยวที่ขึ้นมา แต่ต่อมาท่านและลูกชายได้เสียชีวิตลงโดยไม่มีทายาท จึงคืนที่นาพร้อมสิ่งของในยุ้งฉางให้หม่อน ต่อมาหม่อนแบ่งเป็นสมบัติให้เณรอ้าย แสงปินตา (ตา) และตกทอดมาถึงพระครูไพบูล
เมื่อสร้างหอพระทองคำเสร็จใน 2552 พระครูไพบูลเห็นว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ถึงเวลาอันควรแล้วที่จะนำพระเหล่านี้ออกมาแสดงให้ผู้คนที่มาสักการะพระทองคำให้ชม
3. ได้รับบริจาค
พระและวัตถุโบราณที่ผู้มีจิตศรัทธานำมาบริจาคสมทบและที่พระครูไพบูลเก็บสะสมเอง
ครูบาศรีวิชัยรุ่นที่ 2475 (รุ่นสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ) เป็นพระที่เจ้าแก้วเนาวรัตน์ผู้เป็นเชื้อสายของครูบาศรีวิชัยได้นำมาถวายหลังจากที่ทราบว่าพระครูไพบูลต้องการสร้างรูปหล่อครูบาศรีวิชัยองค์ใหญ่ที่สุดในโลก
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
-
แก้ไขเมื่อ
2022-07-27
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | รายละเอียด | งบประมาณ | เอกสาร | สถานะ |
---|
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | งบประมาณ | วันที่รายงาน | เอกสาร |
---|