ละติจูด 15.868877 , ลองจิจูด 100.26252
พิกัด
พิพิธภัณฑ์ราชาจระเข้ยักษ์ “พญาด่างเกยไชย” ตำบลเกยไชย อำเภออำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ 60120
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
ย่านชุมชนเก่า
ความสำคัญ/ลักษณะ
อาคารพิพิธภัณฑ์ราชาจระเข้ยักษ์ “พญาด่างเกยไชย” หลังนี้ พระครูนิธานปุญญาภิวัฒน์ (สมบุญ อาจิตปุญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดเกยไชยเหนือ (บรมธาตุ) เจ้าคณะอำเภอชุมแสง พร้อมด้วยคณะกรรมการวัดเกยไชยเหนือ (บรมธาตุ) ชาวบ้านตำบลเกยไชย ตำบลท่าไม้ และตำบลใกล้เคียงของอำเภอชุมแสง ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของบ้านเกยไชยที่มีความรุ่งเรืองจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
อาคารพิพิธภัณฑ์ฯ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ซึ่งมีขนาดความกว้าง 17.60 เมตร ความยาว 40.50 เมตร ภายในอาคารชั้น 1 เป็นอาคารที่จัดแสดงนิทรรศการ 5 โซน ประกอบด้วย
1) ชาติ
2) ศาสนา
3) พระมหากษัตริย์ โดยมีการจัดแสดงพระราชกรณียกิจของพระองค์ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย รวมทั้งพระบรมฉายาลักษณ์ พระฉายาลักษณ์ และพระรูป พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
4) ประวัติความเป็นมาของราชาจระเข้ยักษ์ “พญาด่างเกยไชย” รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวกับชาติพันธุ์ของจระเข้ (ทั้งจระเข้น้ำจืดและจระเข้น้ำเค็ม 23 สายพันธุ์ จากทั่วโลก) ทั้งในรูปแบบนิทรรศการและเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
5) มีห้องประชุมขนาดใหญ่ นอกจากนั้น อาคารพิพิธภัณฑ์ฯ หลังนี้ ยังได้รับการคัดเลือกและมีมติเป็นเอกฉันท์จากข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ของอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นสถานที่ที่บรรจุเถ้าดอกไม้จันทน์เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ของอำเภอชุมแสง เพื่อให้พสกนิกรชาวไทยได้มีโอกาสถวายความจงรักภักดี และถวายสักการะพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 9 ต่อไป
อาคารด้านบนชั้นที่ 2 เป็นสถานที่จัดแสดงรูปปั้นราชาจระเข้ยักษ์ “พญาด่างเกยไชย” ซึ่งออกแบบและปั้นโดยช่างฝีมือท้องถิ่น คือ นายประเทือง แสงวิเศษ และคณะ รูปปั้นราชาจระเข้ยักษ์ “พญาด่างเกยไชย” มีขนาดลำตัว กว้าง 7.60 เมตร ยาว 44 เมตร และมีขนาดความสูง 6.30 เมตร ตามลำดับ ณ ปัจจุบันเป็นรูปปั้นจระเข้มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ ภายในลำตัวของรูปปั้นราชาจระเข้ยักษ์ “พญาด่างเกยไชย” เป็นห้องกราบไหว้พระ สถานที่สำหรับวิปัสสนากรรมฐาน และจัดแสดงซากจระเข้ที่สต๊าฟ หรือใช้เทคนิคการทำให้ซากสัตว์คงสภาพเหมือนมีชีวิตของจริงเอาไว้ เพื่อให้เยาวชน ตลอดจนบุคคลทั่วไป ได้ศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้แห่งนี้
คณะสงฆ์วัดเกยไชยเหนือ (บรมธาตุ) ร่วมกับ คณะกรรมการวัดฯ ได้จัดงานพิธีบวงสรวงและวางศิลาฤกษ์ ในวันพฤหัสบดี ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559 โดยทำการเริ่มเจาะเสาเข็ม เมื่อวันจันทร์ ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559 และเริ่มก่อสร้างอาคารฯ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ตามลำดับ และเปิดให้เยี่ยมชมใน พ.ศ. 2561 และมีการจัดงานพิธีเปิดอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
-
แก้ไขเมื่อ
2022-08-01
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | รายละเอียด | งบประมาณ | เอกสาร | สถานะ |
---|
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | งบประมาณ | วันที่รายงาน | เอกสาร |
---|