แหล่งศิลปกรรมย่านชุมชนเก่า อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ : ตลาดชุมแสง


ละติจูด 15.894655 , ลองจิจูด 100.309517

พิกัด

ตลาดชุมแสง ตำบลชุมแสง อำเภออำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ 60120

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

ย่านชุมชนเก่า

ความสำคัญ/ลักษณะ

ตลาดชุมแสง เป็นตลาดเก่าร้อยปีชุมแสง มีบรรยากาศของความเป็นชุมชนริมแม่น้ำน่านที่เก่าแก่แต่งดงามคลาสสิก มีวิถีชีวิตของชาวตลาดที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน ในอดีตมีความน่ารักและมิตรภาพดี ๆ จากชาวบ้าน และอยู่ใกล้สถานีรถไฟชุมแสง เสน่ห์ของที่นี่คืออาคารบ้านเรือนแบบโบราณอายุกว่า 100 ปี บรรยากาศอบอวลด้วยความคลาสสิค ชาวบ้านใช้ชีวิตกินอยู่อย่างเรียบง่าย ตลาดแห่งนี้แสดงถึงวิถีชีวิตชาวบ้านที่ยังคงดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย แต่ยังคงแฝงไว้ด้วยกลิ่นอายความเก่าเอาไว้อย่างลงตัว และยังมีสะพานหิรัญนฤมิต หรือสะพานแขวนสะพานแห่งนี้สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2552 เพื่อให้ผู้คนจากสองฟากฝั่งแม่น้ำน่านสัญจรข้ามไป - มา โดยห้ามรถยนต์ 4 ล้อวิ่งผ่าน อนุญาตเฉพาะจักรยาน มอเตอร์ไซค์ และเดินเท้าเท่านั้น

คำว่า “ชุมแสง” มีผู้เล่าสืบต่อกันมาเป็น 2 ทาง คือ มีต้นไม้ชนิดนี้ เรียกว่า “ต้นชุมแสง” มีลักษณะคล้ายกับต้นแจง สมัยก่อนมีขึ้นอยู่ทั่วไปใบคล้าย ใบมะปราง เขียวชอุ่มตลอดปี โบราณใช้ทำยารักษาโรคพรายเลือดลมสตรี ผลของต้นชุมแสงชาวบ้านจะเก็บไปใช้เป็นลูกกระสุนสำหรับธนู ต้นชุมแสงจึงเป็นสัญลักษณ์ประจำถิ่นต่อมา ได้ใช้เป็นชื่อบ้านเรียกว่า “บ้านชุมแสง”

นอกจากนี้ ในสมัยพระเจ้าตากสิน ได้นำกองทัพออกทำการปราบก๊กต่าง ๆ ได้ตั้งค่าย และเป็นที่สะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ หรือแสง สำหรับปราบก๊กเจ้าเมืองพิษณุโลก ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณที่ตั้งค่ายแห่งนั้นว่า “คลังแสง” และต่อมาได้เรียกเพี้ยเป็น “ชุมแสง”

จะเห็นได้ว่าตลาดชุมแสง มีความเจริญรุ่งเรืองทางการค้าขาย เพราะมีการคมนาคมที่สะดวกโดยมีแม่น้ำน่านเป็นทางสัญจรหลักมาแต่อดีต อีกทั้งยังมีสถานีรถไฟสายเหนือ (สถานีชุมแสง) ที่มุ่งสู่เชียงใหม่วิ่งผ่านมาตั้งแต่ พ.ศ. 2450 ที่แห่งนี่จึงเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญ ในการขนถ่ายสินค้าระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง และมีชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินค้าขายเป็นจำนวนมาก และสินค้าหลักที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่ตลาดแห่งนี้ก็คือ “ข้าว” โดยพ่อค้าและเกษตรกรจากทั้งอำเภอหนองบัว อำเภอท่าตะโก(จังหวัดนครสวรรค์) และจากจังหวัดใกล้เคียง จะนำข้าวเปลือกมาขายที่ ตลาดชุมแสง

ตลาดชุมแสงนี้มีโรงสีข้าวเก่าถึง 6 โรง ปัจจุบันยังเหลืออยู่ไม่กี่แห่ง ว่ากันว่าเรือบรรทุกข้าวมานั้นจอดเรียงรายเต็มลำน้ำน่านคึกคักเป็นอย่างยิ่ง ยังไม่รวมเกวียนบรรทุกข้าวอีกนับร้อยเล่มที่มาจอดเรียงราย เมื่อพ่อค้ามาซื้อขายข้าวแล้วก็ต้องแวะพักค้างคืนมอีกทั้งต้องซื้อของกินของใช้บรรทุกเกวียนหรือเรือกลับบ้าน ทำให้ในตลาดชุมแสงจึงเป็นย่านเศรษฐกิจตลาดที่เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก พอมีถนนหลายสายตัดผ่าน รถยนต์สามารถขนส่งสินค้าได้ทั่วถึง การคมนาคมทางเรือ และรถไฟลดความสำคัญลง ทำให้ตลาดชุมแสงเงียบเหงาลง กลายเป็นตลาดเก่าไม่ได้เป็นชุมทางเศรษฐกิจสำคัญเหมือนในอดีตต่อไป

อย่างไรก็ตาม หากใครได้มาเยือนตลาดชุมแสงในปัจจุบันนี้ จะพบว่าผู้คนยังต้อนรับด้วยมิตรไมตรี

และมีเล่าเรื่องราวความรุ่งเรืองในอดีตเล่าขานให้นักท่องเที่ยวได้ฟัง ภายในตลาดที่ไม่ลาดชิมของอร่อยมากมาย อาทิ ก๋วยเตี๋ยวราดหน้านายโก๊ะ หมูย่างร้านเจ๊บ๊วย กวยจั๊บโบราณเจ๊ฮุง หมูสะเต๊ะเจ๊ลั้ง ร้านไอศกรีมกะทิ ผัดไทยร้อยคิว ข้าวมันไก่อาเฮง เป็นต้น

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2022-08-01

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร