ชุมชนโบราณบ้านไพลขลา


ละติจูด 15.343953 , ลองจิจูด 103.544949

พิกัด

บ้านไพรขลา ตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ตำบลไพรขลา อำเภออำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32190

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์

ความสำคัญ/ลักษณะ

ชุมชนไพรขลาเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณมาตั้งแต่บุคสมัยทวารดี ลพบุรี เพราะมีหลักฐานทางใบราณคดี ที่พบใบสิมมาใหญ่-สิมมาน้อย มีหินศิลาแลงที่ก่อสร้างกู่ ปราสาท มีคูน้ำคันดินเป็นวงล้อมรอบหมู่บ้าน แต่ประวัติศาสตร์ของการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนยุคปัจจุบัน จากคำบอกเล่าได้เริ่มมา ประมาณ 100 กว่าปี โดยกลุ่มแรกเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เขมร จากบ้านขาม บ้านยางกระจับ บริเวณบ้านไพรขลาเป็นโนนบ้านเก่า มีความอุดมสมบูรณ์ จึงอพยพมาตั้งจำนวน 7 ครอบกรัว แต่อยู่มาไม่นานมีเสือใหญ่คู่หนึ่งที่มาจากบริเวณสิมมาใหญ่-สิบมาน้อย ออกมาคอยรบกวนสัตว์เลี้ยงอยู่เป็นประจำ จนเป็นที่หวาดกลัวของชาวบ้าน จึงอพยพกลับบ้านเดิม และเรียกบริเวณนี้ว่า "เปรยขลา" (เปรย แปลว่า ป่าคงหรือไพร ขลา แปลว่า เสือ) จนกระทั่งเพี้ยนและได้กลายมาเป็น "ไพรขลา" ในปัจจุบัน ต่อมากลุ่มหลวงพิบูลย์ ได้พาครอบครัวและญาติพี่น้องอพยพจากบ้านหูลิง อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อที่จะไปบ้านเดิมที่บ้านแสนตาลอก อ.พิมาย จ.นครราชสีมา เมื่อไปถึง อ.พยัคภูมิพิสัยได้ข่าวว่าบ้านเดิมมีการสู้รบกัน จึงตัดสินใจอพยพลงมาทางทิศใต้และเดินทางเลียบฝั่งน้ำมูลจนมาพบบริเวณบ้านไพรขลาเป็นป่าโนนบ้านเก่ามีความอุคมสมบูรณ์ จึงได้สร้างบ้านแปลงเมืองเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

พื้นที่ตั้งชุมชน เมื่ออดีตเป็นชุมชนโบราณ และมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ปัจจุบันมีการบุกรุกจับจอง และถมที่เพื่อการพัฒนาชุมชน ทำให้เหลือร่องรอยแหล่งน้ำชุมชนโบราณ คือ หนองท่าไทร หนองท่าโพน หนองช้างตาย หนองท่าหัวขัว และหนองหัวนอน ส่วนทรัพยากรป่าไม้ชาวบ้านส่วนใหญ่จะไปใช้ประโยชน์ป่าที่ยู่ ตำบลหนองเรือที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลเป็นหลัก

แก้ไขเมื่อ

2022-08-14

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร