แหล่งเตาเผาโบราณบ้านบัว


ละติจูด 19.036213 , ลองจิจูด 99.958678

พิกัด

ตำบลแม่กา อำเภออำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา รหัสไปรษณีย์ 56000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

จากการสำรวจแหล่งเตาเผาต่างๆที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณแหล่งน้ำ คูเวียง และจุดเชื่อมเวียงบัวหนึ่งกับเวียงบัวสอง มีบางจุดบางบริเวณที่ยังไม่สามารถสรุปได้ถึงการเป็นแหล่งเตาเผาอย่างชัดเจน กล่าวคืออาจเป็นเพียงเนินดินที่มีเศษดินที่ถูกไฟเผา ตามเกณฑ์การเลือกพื้นที่สำรวจทุกพื้นที่มีสิทธิ์เป็นไปได้หมด แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาเวียงบัวในสมัยโบราณนั้น อาจเป็นเมืองที่สำคัญเมืองหนึ่งของเมืองพะเยาในแง่ของเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อด้านการผลิตเครื่องปั้นดินเผาในสมัยโบราณ

เตาพ่ออุ๊ยแต๋ง มีอาคารโครงสร้างเสาคอนกรีตคลุมหลุมขุดค้นขนาด 3.5x7 เมตร เป็นเตาดินก่อแบบล้านนา ขนาดกว้าง 1.70 เมตร ยาว 5.50 เมตร ไว้ในสภาพเดิมตามที่ขุดค้นพบ มีการก่อกำแพงทึบสูง 80 ซม. ป้องกันการรบกวน  เตาพ่ออุ๊ยแต๋งเป็นเตาชนิดเตาห้องเดี่ยวระบบระบายลมร้อนผ่านโครงสร้างดินก่อฝังอยู่ในดินถม สภาพค่อนข้างดี ซึ่งนอกจากเตาพ่ออุ๊ยแต๋งแล้ว ยังมีแหล่งเตาแฝดของเตาเก๊ามะเฟือง รวมกันเป็น 3 เตา ตัวเตาพ่ออุ๊ยแต๋งตั้งอยู่บนที่ลาดเอียง ปล่องเตาอยู่ในระดับสูงกว่าหน้าเตา มีขนาดยาวประมาณ 5.50 เมตร กว้างประมาณ 1.70 เมตร ปล่องเตารูปกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 35 ซม. ผนังปล่องหนาเฉลี่ย 8-10 ซม. หลังคาเตาส่วนเหนือห้องภาชนะต่อเนื่องกับส่วนที่คลุมเหนือกำแพงกันไฟมีร่องรอยคล้ายการเจาะเปิดอกแล้วเอาก้อนดินโครงสร้างเตาปิดถมไว้   สภาพปล่องเตาโครงสร้างปากปล่องถูกผาลรถไถนาตัดปาดออกไป ส่วนบนของตัวเตาแตกร้าวทั้งหมดเพราะถูกรถไถไถพรวนนาทับหลายครั้ง

เตากลุ่มเก๊ามะเฟือง มีอาคารคอนกรีตหลังคามุงกระเบื้อง 3 หลัง ที่ออกแบบเฉพาะสร้างคลุมหลุมเตาแฝดเก๊ามะเฟือง  กลุ่มเตานี้มี 2 เตาเป็นเตาดินก่อแบบล้านนา สร้างอยู่ในเนินดินเดียวกัน ปล่องเตาอยู่ชิดกันที่กลางเนิน ปากเตาเก๊าะมะเฟือง 1 หันออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในขณะที่ปากเตาเก๊ามะเฟือง 2 หันออกไปทางทิศเหนือ ห่างกันประมาณ 2.50 เมตร ทั้งสองเตามีขนาดใกล้เคียงกัน เฉพาะเตาเก๊ามะเฟือง 1 มีความยาว 5.15 เมตร กว้าง 1.90-2.00 เมตร ปล่องสูง 1.65 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางปล่อง 1.65 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางปล่อง 40-45 ซม. พื้นเตาเป็นดินอัดเรียบและยาทับด้วยดินเหนียวมีกำแพงกันไฟสูง 35 ซม. ห้องภาชนะยาว 2.45 เมตร (วัดจากแนวกำแพงกันไฟไปจรดคอเตา) พื้นห้องภาชนะเป็นดินอัดเรียบในแนวระนาบ เตาลูกนี้มีขนาดห้องไฟค่อนข้างยาว กินพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของความยาว สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ช่องใส่ไฟค่อนข้างแคบและเตี้ยจนตัวคนไม่สามารถลอดเข้าไปได้ ดังนั้น การลำเลียงเครื่องถ้วยชามเข้าบรรจุในห้องภาชนะและการนำเอาเครื่องถ้วยชามที่เผาสุกแล้วออกจาตัวเตาอาจต้องใช้วิธีเจาะเปิดหลังคาเตา และใช้ดินโบกยาปิดทับช่องที่เจาะก่อนเผาแต่ละครั้ง ทำเช่นนี้สลับกันไป นอกจากนี้ยังพบว่าเตาเผาที่เวียงบัวเป็นเตาดินก่อที่ต้องมีฉนวนดินถมทับเพื่อช่วยเก็บความร้อนและเป็นฐานเสริมความแข็งแรงของตัวเตา โดยพบว่ามีการนำเอาดินปูนมาร์ลมาถมทับตรงบริเวณหลังคาเตา คอเตา และรอบปล่องเตา และรอบปล่องเตาเป็นชั้นหนาประมาณ 50-70 :สันนิษฐานว่าเป็นชั้นดินฉนวนที่ช่วยเก็บกักความร้อนและช่วยรองรับการขยายตัวของโครงสร้างเตาที่เป็นผนังดินก่อให้มีความยืดหยุ่นได้ดี โครงสร้างเตาเก๊ามะเฟือง 2 ชำรุดมากไม่สามารถวัดขนาดได้

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2019-08-13

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร