ละติจูด 15.227268 , ลองจิจูด 104.86639
พิกัด
เลขที่ 2 ถนนพรหมราช-สุนทรวิมล ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ตำบลในเมือง อำเภออำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34000
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
วัด วัดร้าง ศาสนสถาน
ความสำคัญ/ลักษณะ
ธรรมาสน์ตั่งขาสิงห์วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อทั้งสองหลังสร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง ประกอบด้วย ส่วนขาสิงห์ ส่วนฐานบัว ส่วนพื้นและพนักพิง ประดับตกแต่งด้วยการพิมพ์รักกระแหนะเป็นลวดลายลายดอกประจำยาม ลายเกล็ด ลายแข้งสิงห์ ลายกรวยเชิง ตั่งหลังหนึ่งไม่มีการปั้นหน้าสิงห์ที่ขา ส่วนตั่งที่มีหน้าสิงห์เป็นการปั้นเพิ่มเติม และมีการเพิ่มผ้าทิพย์ทั้งสามด้าน ลงรักปิดทอง ประดับกระจก บางส่วนทาสีชาด
เอกลักษณ์โดดเด่น เป็นธรรมาสน์ตั่งขาสิงห์ที่มีรูปแบบเช่นเดียวกับธรรมาสน์ตั่งขาสิงห์หลังอื่น ๆ ที่พบในอำเภอเมืองอุบลราชธานี มีพนักพิงด้านหลัง
ธรรมาสน์ตั่งขาสิงห์หลังที่ ๑ เก็บรักษาอยู่ในอุโบสถ บริเวณช่องเก็บของด้านหลังฐานชุกชีพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ มีขนาดความสูง ๔๑ เซนติเมตร ยาว ๘๑ เซนติเมตร พนักพิงสูง ๖๐ เซนติเมตร กว้าง ๓๖ เซนติเมตร ความสูงรวมพนักพิง ๙๔ เซนติเมตร พนักพิงอาจทำขึ้นใหม่ มีการพ่นจารึกคำว่า “วัดใต้” ไว้บนธรรมาสน์และพนักพิง มีสภาพความสมบูรณ์พอใช้ มีร่องรอยเคยถูกปลวกทำลาย ส่วนด้านบนตั่งแตกผุบางส่วน ลวดลายหลุดร่อนไปบ้าง
ธรรมาสน์ตั่งขาสิงห์หลังที่ ๒ เก็บรักษาที่กุฏิเจ้าอาวาส ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มีขนาดความสูง ๔๓ เซนติเมตร ยาว ๘๐ เซนติเมตร พนักพิงสูง ๖๔ เซนติเมตร กว้าง ๓๓ เซนติเมตร สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ไม่มีร่องรอยชำรุด
ธรรมาสน์ตั่งขาสิงห์เป็นโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่สำคัญของวัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ยังมีการใช้งานอยู่เป็นประจำสำหรับการสวดพระปาติโมกข์และการแสดงพระธรรมเทศนสในวันพระใหญ่เดือนละ ๒ ครั้ง
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
ธรรมาสน์ตั่งขาสิงห์หลังที่ ๑ เก็บรักษาในอุโบสถ มีสภาพที่ค่อนข้างชำรุด ควรมีการบูรณะโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่ออนุรักษ์และยืดอายุให้ใช้งานได้ต่อไป ส่วนหลังที่ ๒ มีสภาพดี
แก้ไขเมื่อ
2022-09-30
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | รายละเอียด | งบประมาณ | เอกสาร | สถานะ |
---|
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | งบประมาณ | วันที่รายงาน | เอกสาร |
---|