อนุสาวรีย์พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) เจ้าเมืองสกลนคร


ละติจูด 17.169766 , ลองจิจูด 104.142974

พิกัด

ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภออำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

อนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน สถาน หลักเมือง

ความสำคัญ/ลักษณะ

          จัดสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 24 เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2518  คณะกรรมการดำเนินงานโดยหลวงวรนิติปรีชา (วรดี พรหมสาขา ณ สกลนคร) เนติบัณฑิตคนแรกของเมืองสกลนครและอดีตผู้พิพากษา พร้อมด้วยพลตรีหลวงหล้าบันลือฤทธิ์ (หล้า พรหมสาขา ณ สกลนคร)  ข้าราชการบำนาญสังกัดกระทรวงกลาโหม บิดาของพลเอกจตุฤทธิ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร นายกสมาคมชาวสกลนครในปัจจุบัน ได้กราบทูลสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธสถิต มหาสีมาราม สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จทรงเป็นประธานเททองหล่อรูปเหมือนขนาดเท่าครึ่งของตัวจริง  ที่โรงงานบ้านช่างหล่อธนบุรี โดยรูปหล่อทำด้วยโลหะสำริด สิ้นเงินในขณะนั้นจำนวน 40,000 บาท ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2518 การหล่อรูปเหมือนได้เสร็จสิ้น คณะกรรมการดำเนินงานได้ส่งรูปหล่อไปตั้งไว้ชั่วคราวที่ศาลาการเปรียญวัดแจ้งแสงอรุณ เมืองสกลนคร ในขั้นแรกคณะกรรมการประสงค์จะตั้งไว้ ณ ที่สาธารณะแห่งหนึ่ง ในตัวเมืองสกลนคร เช่นเดียวกับอนุสาวรีย์ของบุคคลสำคัญในเมืองอื่น ๆ แต่ก็ไม่อาจทำได้ เพราะการตั้งในที่สาธารณะนั้น จะต้องเป็นการจัดตั้ง โดยทางราชการเท่านั้น ดังนั้น คณะกรรมการจึงทำการก่อสร้างฐานอนุสาวรีย์ด้วยอิฐมอญ ฉาบรอบฐานด้วยปูนซีเมนต์เรียบ ตั้งเสาหล่อด้วยปูนซีเมนต์ขนาบด้านซ้ายและขวาของฐาน ทั้งนี้ เพื่อความสวยงามและแข็งแรง โดยจารึกชื่อและประวัติของท่านในแผ่นเหล็กประดับด้านหน้าของอนุสาวรีย์ ด้านหลังมีฝาประตูเข้าออกเพื่อนำอัฐิเข้าเก็บไว้ภายใน และเมื่อวันที่ 18 เดือนมกราคม พุทธศักราช 2524  คณะกรรมการได้ประกอบพิธีทางศาสนา ทั้งนี้ในเวลา 09.00 น. ได้เชิญรูปปั้นของท่านขึ้นยืนบนฐานอนุสาวรีย์โดยใช้หมุดตรึงเสร็จเรียบร้อย ในเวลา 09.29 น. และได้ทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2524

          ต่อมาพลเอกจตุฤทธิ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร และคณะญาติ  พิจารณาเห็นว่า วัดแจ้งแสงอรุณมีเสนาสนะมากขึ้น ทำให้รอบบริเวณที่ตั้ง                                   อนุสาวรีย์มีพื้นที่แคบลง ประกอบกับสภาพบ้านเมืองมีการขยายตัวทางกายภาพ และเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบเกียรติคุณของท่านเจ้าคุณจันต์ในวงกว้าง ดังนั้น เพื่อความเหมาะสมจึงได้ติดต่อกับทางราชการ เพื่อขอพื้นที่ส่วนหนึ่งบริเวณข้างประตูเมือง เป็นที่ก่อสร้างฐาน            อนุสาวรีย์ และจะเคลื่อนย้ายรูปหล่อของท่านเจ้าคุณจันต์ จากวัดแจ้งแสงอรุณมาประดิษฐานไว้ เมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว คณะญาติ  โดยการนำของนายอาคม พรหมสาขา ณ สกลนคร อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสกลนครและพลเอกจตุฤทธิ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร นายกสมาคมชาวสกลนคร จึงได้เชิญผู้ว่าราชการเมืองสกลนคร (นายทวีป เทวิน) เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างฐานอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พุทธศักราช 2554 และเมื่อการก่อสร้างฐานอนุสาวรีย์แล้วเสร็จ จึงได้ทำพิธีเชิญรูปหล่อเหมือนจากวัดแจ้งแสงอรุณมาประดิษฐานไว้ที่บนฐานอนุสาวรีย์ โดยใต้ฐานบรรจุอัฐิของท่านและบุตรหลาน (เกรียงไกร ปริญญาพล, 2559)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

อนุสาวรีย์พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) เจ้าเมืองสกลนคร ตั้งอยู่บริเวณลานประติมากรรมหนองหารหลวงหรือประตูเมืองสกลนครอยู่ในการดูแลของเทศบาลนครสกลนคร สะดวกแก่ผู้เข้าเยี่ยมชมและแสดงความเคารพ

แก้ไขเมื่อ

2022-10-12

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร