กรุโครงกระดูก บ้านโคกมะกอก


ละติจูด 13.7105891 , ลองจิจูด 102.0985366

พิกัด

บ้านโคกมะกอก หมู่ที่ 9 ตำบลเขาสามสิบ อำเภออำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว รหัสไปรษณีย์ 27000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

          กรุโครงกระดูกบ้านโคกมะกอก เป็นแหล่งโบราณคดี ลักษณะภูมิประเทศเป็นเนินดินทรงกลมวงรีขนาดประมาณ 60 x 150 เมตร ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน 0 – 1 เปอร์เซ็นต์ สูงจาก ระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 69 เมตร จุดสูงสุดเนินดินแหล่งโบราณคดีสูงจากพื้นนาโดยรอบราว 2 เมตรเศษ ทางด้านทิศใต้ของเนินมี “คลองนาใน” ไหลผ่านเป็นแหล่งน้ำสำคัญ ด้านตะวันออกของเนินมีการ ขุดสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ไม่มากนัก การสำรวจของกรมพัฒนาที่ดินพบว่าลักษณะดินของบ้านโคก มะกอกเป็นดินชุดนครพนม (Nn : NakhonPhanom series) เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบ ตะกอนน้ำพา ปัจจุบันพื้นที่ของเนินดินแหล่งโบราณคดีชาวบ้านใช้เป็นพื้นที่ทำการเกษตรกรรม ปลูกมะม่วง  ยูคาลิปตัส และข้าวโพด เกือบกึ่งกลางเนินมีถนนลูกรังสายโคกมะกอก-เขาฉกรรจ์ผ่านกลาง หลักฐานสำคัญทางโบราณคดี จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2539 พบโบราณวัตถุซึ่งถูกลักลอบขุดกระจาย อยู่บนผิวดิน บางส่วนถูกเก็บรักษาไว้กับชาวบ้าน บางส่วนท่านเจ้าอาวาสวัดโคกมะกอกเก็บรักษาไว้ เช่น ชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์ จำนวน 30 – 40 โครง ทั้งหมดอยู่ในสภาพแตกหักไม่สมบูรณ์บางส่วนถูกขุด ขึ้นมากองไว้ข้างหลุมที่ถูกลักลอบขุด บางส่วนถูกน้ำไปเก็บรักษาไว้ในศาลเขนาดเล็ก ทางด้านทิศตะวันออก ของเนินดิน ประกอบด้วย ชิ้นส่วนกะโหลกศีรษะ กระดูกแขนและขา ซี่โครง กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน ฯลฯ ในเดือนตุลาคม 2539 ชาวบ้านได้ทำการขุดหาโบราณวัตถุทางด้านทิศตะวันออกของเนินดินใกล้กับถนนสายโคกมะกอก-เขาฉกรรจ์ พบโครงกระดูกมนุษย์จำนวน 3 โครง นอนหงายหันศีรษะไปทางด้านทิศใต้ ฝังรวมอยู่กับโบราณวัตถุประเภทอื่น ๆ

          แหล่งโบราณคดีบ้านโคกมะกอก เป็นแหล่งที่ฝังศพของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอน ปลาย (อายุราว 2500-1500 ปีมาแล้ว) จากหลักฐานที่พบโครงกระดูกมนุษย์ถูกฝังร่วมอยู่กับสิ่งของเครื่องมือ เครื่องใช้เครื่องประดับ และภาชนะดินเผารูปแบบต่าง ๆ รวมถึงชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ประเภทวัวและควาย
ซึ่ง อาจจะนำมาใช้ประกอบอาหาร แสดงให้เห็นว่าชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่บริเวณนี้มีความเชื่อ เกี่ยวกับพิธีกรรมการฝังศพ มีการอุทิศสิ่งของต่าง ๆ รวมทั้งอาหารให้แก่ผู้ตาย สะท้อนถึงความเชื่อในเรื่อง เกี่ยวกับวิญญาณ ความเชื่อในเรื่องการเกิดใหม่ และอาจรวมไปถึงความเชื่อในเรื่องการเปลี่ยนสถานภาพจาก โลกที่อาศัยอยู่ไปสู่อีกโลกหนึ่งหรืออีกภาวะหนึ่ง นอกจากนี้น่าจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับชุมชนสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ตอนปลายอื่น ๆ ที่อยู่อาศัยในบริเวณแหล่งโบราณคดีเขาฉกรรจ์และบริเวณโดยรอบ รวมทั้งการ ติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรมกับอินเดีย ดังได้พบหลักฐานประเภท ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ซึ่งแหล่ง วัตถุดิบหินคาร์เนเลียนคุณภาพสูงจะอยู่ในลุ่มแม่น้ำสินธุของอินเดีย และมีการผลิตลูกปัดส่งเป็นสินค้าออกกัน อย่างแพร่หลายในดินแดนเอเชียตะวันตก แถบเมดิเตอร์เรเนียน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อราว 2500- 2000 ปีมาแล้ว ผ่านเมืองท่าอริกาเมดุ (Arikamedu) ทางตะวันออกของอินเดียใต้ ส่วนหลักฐานประเภท ลูกปัดแก้วหลากสีแบบ “trade wind beads” หรือ “mutisalah” เป็นสิ้นค้าที่อินเดียผลิตขึ้นส่งออกเมื่อ ประมาณ 1500-500 ปีมาแล้ว โดยส่งออกจากทางใต้ของอินเดียผ่านพ่อค้าชาวอินเดีย อาหรับ และจีน และ นักเดินเรือตามลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมีการขุดพบจากแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีหลาย แห่ง เช่น เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี แหล่งโบราณคดีคลองท่อม จังหวัดกระบี่ สำหรับวัตถุอื่น ๆ ที่พบได้แก่

  • ภาชนะดินเผา พบเป็นจำนวนมากทั้งที่มีสภาพสมบูรณ์ และแตกหักออกเป็นชิ้นๆ ประเภทหม้อดินเผาก้น กลมทั้งขนาดเลขและขนาดใหญ่ ถ้วยหรือชามดินเผา ถ้วยดินเผาแบบมีเชิง เบ้าดินเผา และอ่างดินเผาลักษณะ เป็นภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ เนื้อดินหยาบมีส่วนผสมของเม็ดทรายขนาดใหญ่จำนวนมาก ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน เผาด้วยอุณหภูมิต่าง พบทั้งแบบผิวเรียบ ผิวเรียบขัดมัน และมีการตกแต่งผิวด้วยลายเชือกทาบ ลายกดประทับ และลายขูดขีด ผิวภาชนะสีน้ำตาล เทา เทาดำ ส้ม และส้มแดง ขนาดความหนา 0.5-1.5 เซนติเมตร ภาชนะดินเผาบางชิ้นมีการตกแต่งส่วนคอและไหล่เป็นสันนูนรูปวงแหวน 2-3 ชั้น
  • ลูกปัด พบทั้งลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินทำด้วยหินคาร์เนเลี่ยน (carnelian) สีส้ม ทรงกลม ขนาดใหญ่ ลูกปัดแก้วพบเป็นจำนวนมาก ลักษณะเป็นลูกปัดแก้วหลากสี แบบที่นักวิชาการบวงท่าน เรียกว่า “ลูกปัดลมสินค้า” หรือ “trade wind beads” หรือภาษาท้องถิ่นแถวมาเลเชียและอินโดนีเชียเรียกกันว่า “mutisalah”
  • เครื่องประดับสำริด ประเภท กำไรสำริด และลูกกระพรวนสำริด
  • เครื่องมือเหล็ก ประเภท ขวานมีบ้อง และปลอกเหล็กรูปวงแหวนกลม
  • หินดุ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการขึ้นรูปภาชนะดินเผา ลักษณะด้ามจับทรงกระบอกกลม อีกด้านทรง กลมแบนบานออก
  • หินลับ ที่ผิวมีร่องรอยการถูกขัดฝน ใช้สำหรับการขัดฝนเครื่องมือหินหรือเครื่องมือโลหะให้เกิดคม
  • แท่นหินบด สำหรับบดอาหาร เมล็ดพืชที่มีเปลือกแข็ง หรือ บดยาสมุนไพร
  • ก้อนตะกั่ว ลักษณะด้านหนึ่งโค้งมน ด้านหนึ่งแบน คาดว่าจะเป็นก้อนวัตถุดิบสำหรับนำไปใช้ทำเครื่องมือ หรือเครื่องประดับ
  • ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ ลักษณะเป็นชิ้นส่วนกระดูกสัตว์เคี้ยวเอื้องประเภท วัว ควาย

ปัจจุบันกรุโคกกระดูกบ้านโคกมะกอก นำไปจัดเก็บรักษาไว้ที่วัดโคกมะกอก

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

การย้ายกรุโครงกระดูกบ้านโคกมะกอก         

        เนื่องจากอาคารที่เก็บกรุโครงกระดูกบ้านโคกมะกอก เกิดการพังชำรุด แม้ว่าจะสร้างอาคารสำหรับเก็บแล้วนั้น เพื่อการรักษาโบราณวัตถุ ปัจจุบันจึงได้เคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาและจัดแสดงที่ วัดโคกมะกอก ต.เขาสามสิบ อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว โดยได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสระแก้ว

 

แก้ไขเมื่อ

2022-12-12

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร