ละติจูด 16.077464485969 , ลองจิจูด 103.73510615864
พิกัด
ตั้งอยู่ที่วัดศรีรัตนาราม บ้านยางกู่ ตำบลมะอี จังหวัดร้อยเอ็ด ตำบลมะอึ อำเภออำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด รหัสไปรษณีย์ 45170
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
วัด วัดร้าง ศาสนสถาน
ความสำคัญ/ลักษณะ
ปรางค์กู่ หรือ ปราสาทหนองกู่ สร้างในพุทธศตวรรษที่ 18 ตามแบบศิลปะเขมรสมัยพระเจ้า
ชัยวรมันที่ 7 ปัจจุบัน ปรางค์กู่ คือ กลุ่มอาคารที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับอาคารที่เชื่อกันว่า คืออโรคยาศาลตามที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหม อันประกอบด้วย ปรางค์ประธาน บรรณาลัย กำแพงพร้อมซุ้มประตูและสระน้ำนอกกำแพง กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนปรางค์กู่เป็นโบราณสถานใน พ.ศ.2478
ปรางค์กู่มีลักษณะผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าย่อเก็จ มีมุขโถงยื่นออกมาทางทิศตะวันออกเป็นประตูทางเข้า อีก 3 ด้านที่เหลือเป็นประตูหลอก โดยทั่วไปนับว่าปรางค์กู่ยังคงสภาพเดิมไว้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ โดยเฉพาะปรางค์ประธานศิลาแลงชั้นหลังคาคงเหลือ 3 ชั้น และมีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ตอนบน นอกจากนี้ภายในกำแพงด้านหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังพบโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บรักษาไว้ใต้อาคารไม้ ได้แก่ ทับหลังสลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณภายในซุ้มเรือนแก้วหน้ากาล
กล่าวกันว่าทับหลังนี้เป็นทับหลังหน้าประตูมุขของปรางค์ประธาน เสากรอบประตู 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่ง
มีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสาศิวลึงค์ขนาดใหญ่พร้อมฐานที่ได้จากทุ่งนาด้านนอกออกไป และชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นฐานของพระสังกัจจายน์ปูนปั้น คะเนอายุว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 18
สำหรับบรรณาลัยเป็นอาคารก่อด้วยศิลาแลง ในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันตก หน้าอาคารมีห้องมุข หน้าห้องมุขมีประตู ส่วนกำแพงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กึ่งกลางกำแพงด้านทิศตะวันออกเป็นซุ้มประตู (โคปุระ) รูปกากบาท กึ่งกลางกำแพงด้านทิศเหนือและใต้มีห้องเล็กๆ ด้านละหนึ่งห้อง หน้าประตูพบฐานอาคารก่อด้วยศิลาแลงในผังรูปกากบาท สันนิษฐานว่าเป็นพลับพลาเครื่องไม้จากการพบหลักฐานหลุมเสารอบอาคาร
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
-
แก้ไขเมื่อ
2023-09-22
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | รายละเอียด | งบประมาณ | เอกสาร | สถานะ |
---|
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | งบประมาณ | วันที่รายงาน | เอกสาร |
---|