ละติจูด 19.5209 , ลองจิจูด 100.3018
พิกัด
13 ถนนสิทธิประชาราษฎร์ หมู่ที่ 4 ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ตำบลหย่วน อำเภออำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา รหัสไปรษณีย์ 56110
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
วัด วัดร้าง ศาสนสถาน
ความสำคัญ/ลักษณะ
วัดแสนเมืองมา ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ.2527 สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2400 และได้รับบูรณะครั้งใหญ่ 2 ครั้ง คือในช่วงต้นของปี พ.ศ.2490 และ พ.ศ.2532 รูปแบบของวิหารสร้างขึ้นตามแบบสถาปัตยกรรมของไทลื้อผสมผสานกับสถาปัตยกรรมล้านนา รูปแบบของวิหารสร้างขึ้นตามแบบสถาปัตยกรรมของไทลื้อผสมผสานกับสถาปัตยกรรมล้านนาอย่างลงตัว หลังคาเป็นแบบสองชั้น ลดหลั่นกันสองระดับ หลังคามีลักษณะโค้งลาดต่ำคลุมพระวิหารมุงด้วยแป้นเกล็ด ช่อฟ้าทำด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปหงส์ตามแบบศิลปะไทลื้อ หน้าบันประดับด้วยไม้ฉลุลวดลายเป็นรูปเทพพนมรายล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา เป็นวิหารที่วิจิตรสวยงาม ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธาน พระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทองมีลักษณะเด่นคือ สร้างตามพุทธศิลป์ที่เป็นจารีตนิยมของไทลื้อ ซึ่งนิยมสร้างพระพุทธรูป มีพระเมาลีเป็นรูปเปลวเพลิง (สัญลักษณ์ของการตรัสรู้) พระกรรณยาวจรดพระอังสะ (แสดงถึงพระปัญญาคุณ) พระพักตร์ทรงเหลี่ยมแย้มสรวล อิ่มเอิบ (แสดงถึงพระกรุณาธิคุณ) และพระพักตร์ดูอ่อนเยาว์ (แสดงถึงพระวิสุทธิคุณ) องค์พระประธานสร้างโดยคงลักษณะตามพุทธศิลป์แบบจารีตไทลื้อ เป็นเพียงองค์เดียวที่มีอยู่ในอำเภอเชียงคำในขณะนี้ ภายในวิหารนี้ยังมีธรรมาสน์ แบบจารีตดั้งเดิมของไทลื้อที่สร้างขึ้นมาพร้อมพระวิหารหลังนี้ สร้างด้วยไม้ตั้งอยู่บนฐานอิฐก่อสูงมีผนังไม้ทึบรอบทั้งสี่ด้าน ลักษณะผายออก รอบนอกประดับด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษามีบันไดและทางขึ้นอยู่ด้านหน้า ใช้สำหรับพระภิกษุสามเณรแสดงธรรมเทศนา บนผนังรอบๆ วิหาร มีรูปวาดประวัติความเป็นมาของชาวไทลื้อ ที่เดินทางอพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนาทางตอนใต้ของประเทศจีน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนับเป็นระยะเวลาประมาณ ๒๐๐ ปี
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
-
แก้ไขเมื่อ
2022-03-01
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | รายละเอียด | งบประมาณ | เอกสาร | สถานะ |
---|
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | งบประมาณ | วันที่รายงาน | เอกสาร |
---|