วัดเชตวันหรือวัดหนองหมู


ละติจูด 18.59146 , ลองจิจูด 98.97023

พิกัด

ตำบลริมปิง อำเภออำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดเชตวันหรือวัดหนองหมู ได้ทำการก่อสร้างมานานประมาณ 100 ปี ตามที่ชาวบ้านเขาเรียกกันว่า บ้านหนองหมู เพราะสมัยก่อนบริเวณที่ยังไม่ได้สร้างวัดนั้นเป็นป่าทึบไปหมด ในปี พ.ศ.2440 ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ภายในหมู่บ้านแห่งนี้ ตามปกติมักจะมีหมูป่ามาแสวงหาอาหารบริเวณดังกล่าวเป็นประจำ ชาวบ้านเขาจึงเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า บ้านหนองหมู ต่อมาก็มีชาวบ้าน เข้าไปจับจองเป็นเจ้าของที่ดินบริเวณดังกล่าวเพื่อทำไร่ ทำสวน บ้างก็ย้ายถิ่นฐานมา เขาเรียกหมู่บ้านแห่งนั้นว่า บ้านไร่ ซึ่งติดอยู่กับบริเวณวัดทางตะวันออกเฉียงเหนือ

ครั้งแรกหมู่บ้านแห่งนี้มีประมาณ 30-40 ครอบครัว จะไปทำบุญตักบาตรที่วัดที่เคยไปก็เป็นการลำบากมาก http://umongcity.go.th/weloveumong/images/p096_0_01_03.png ดังนั้นชาวบ้านได้พร้อมใจกันแผ้วถางป่าบริเวณวัดร้าง(ที่วัดปัจจุบัน) เพื่อทำการสร้างวัด โดยมีท่านภิกษุคำแสน สิริธรรม อายุ 28 พรรษา อยู่ที่วัดป่าเส้า เป็นผู้ที่ให้คำแนะนำแก่ชาวบ้านเกี่ยวกับการก่อสร้างวัดแห่งนี้ ต่อมาชาวบ้านได้เก็บก้อนอิฐภายในบริเวณวัดร้างดังกล่าวมีอักษรไทยล้านนาว่า วัดเชตวัน ท่านพระภิกษุคำแสน ก็เลยตั้งชื่อวัดเชตวันมาตราบเท่าทุกวันนี้ จากนั้นพระภิกษุคำแสน ก็นำชาวบ้านพัฒนาก่อสร้าง กุฏิ วิหารและอุโบสถ พระภิกษุคำแสนก็เปิดสำนักรับสอนกัมมัฏฐานทั้งสมถภัมมัฏฐาน และวิปัสสนา กัมมัฏฐานได้มีนักปฏิบัติทั่วสารทิศไปน้อมถวายตัวเป็นศิษย์ นับเป็นจำนวนไม่น้อย โดยอาศัยที่ว่าท่านเป็นนักปฏิบัติและพัฒนาจึงเป็นที่นับถือยำเกรงของคนละแวกนั้น ท่านก็อุทิศใจ - กาย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยเปิดสอนอักษรพื้นเมือง(ไทยล้านนา) ขึ้นเพื่อสอนแก่ผู้ที่ใคร่ในการศึกษาทั่วไป จากนั้นท่านก็สร้างเขาวงกฎขึ้นอีกแห่งหนึ่ง มีเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ ปัจจุบันนี้เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนมัธยมต้นสายสามัญ (โรงเรียนอุโมงค์วิทยาคม) และท่านก็สร้างรอยพระพุทธบาทขึ้นอีกโดยทำเป็นลักษณะคล้ายๆมณฑป มีพระพุทธไสยาสน์ยาว 5 เมตร มีรูปจิตรกรรมต่างๆ อย่างวิจิตรพิสดาร วาระสุดท้ายของการก่อสร้างของท่านก็คือ พระพุทธไสยาสน์ในคูหายาว 6 เมตร ตั้งอยู่ในบริเวณวัด

ต่อจากนั้นไม่นานท่านก็มรณภาพลง ต่อจากนั้นตำแหน่งผู้นำคือเจ้าอาวาสก็คลอนแคลนไม่แน่นอน มีพระภิกษุรักษาการแทนเจ้าอาวาสหลายรูป เช่น พระภิกษุคำด้วง พระภิกษุบุญมา พระภิกษุคำอ้าย พระภิกษุคำหมื่นและพระภิกษุบุญทา แต่นั้นมาก็ว่างลง 2 ปี ญาติโยมก็ไปนิมนต์พระอินตา อินทปญโญ สำนักวัดป่าเส้าในปี 2506 ต่อมาในปี 2508 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส     

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2023-10-09

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร