สถานที่สำคัญของอำเภอพยุหะคีรี นครสวรรค์ : เมืองบนและโบราณสถานที่วัดโคกไม้เดน


ละติจูด 15.41382 , ลองจิจูด 100.14915

พิกัด

เมืองบนและโบราณสถานที่วัดโคกไม้เดน ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภออำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ 60130

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

ย่านชุมชนเก่า

ความสำคัญ/ลักษณะ

เมืองบน ตั้งอยู่ริมทางหลวงพหลโยธินกิโลเมตรที่ 204 - 205 ด้านตะวันตกติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขาโคกไม้เดน

ลักษณะของเมืองโบราณ มีกำแพงดิน 2 ชั้น กำแพงชั้นในล้อมพื้นที่วงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 90 เมตร กำแพงชั้นนอกล้อมพื้นที่รูปรียาวประมาณ 300 เมตร กำแพงทั้ง 2 ชั้นต่างมีคูเมืองกว้างประมาณ 10.50 เมตร เป็นเมืองโบราณในสมัยทวารวดี ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13

การค้นพบ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2507 ดร.ควอรตซ์ เวลส์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษ ได้ติดต่อกรมศิลปากรขอไปชมแหล่งโบราณคดี และเมืองโบราณสมัยทวารวดี ที่ ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และ ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี พร้อมทั้งนำภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งทหารฝ่ายสัมพันธมิตรถ่ายไว้ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 แสดงให้เห็นที่ตั้งเมืองโบราณ เมืองบนและโบราณสถานที่วัดโคกไม้เดน กรมศิลปากรจึงได้ยืมภาพถ่ายทางอากาศนี้ไว้ และดำเนินการสำรวจและขุดแต่ง โบราณสถานวัดโคกไม้เดน เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2507

สำหรับตัวเมืองโบราณที่เรียกว่าเมืองบนนั้น ดร.เวลส์ ได้เขียนเล่าเกี่ยวกับการขุดค้นเมืองนี้ไว้ในเรื่อง Muang Bon A Town of Northern Dvaravati ว่า เมืองบนมีกำแพงดินอยู่ 2 ชั้น ชั้นในล้อมพื้นที่วงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 300 หลา ชั้นนอกล้อมพื้นที่รูปรีประมาณ 1,000 หลา กำแพงทั้งสองชั้นต่างมีคูเมืองกว้างประมาณ 35 หลา ขุดขนานกันไป

ทั้งนี้ ในการเปิดหน้าดินเพื่อทำการขุดค้นทางโบราณคดีตามคำอนุญาตของกรมศิลปากรนั้น นอกจากจะได้พบเศษหม้อดินเผา และกระดูกสัตว์เป็นจำนวนมากแล้ว ยังได้พบหลักฐานทางโบราณคดีอีกหลายชิ้น เช่น แผ่นดินเผาจำหลัก รูปเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หินบดยารูปอานม้าพร้อมด้วยลูกหินบด (แบบเดียวกับที่พบที่จังหวัดนครปฐม) คอตะเกียงโรมันทำด้วยดินเผาและโบราณวัตถุอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังพบหลักศิลาจารึกสูงราว 2 ฟุต หลักหนึ่ง ซึ่งชำรุดและลบเลือนไปเกือบหมด แต่ยังเหลือตัวอักษรที่พอมองเห็นได้อยู่สามสี่บรรทัด ซึ่งเมื่อศาสตราจารย์เซเดส์พิจารณาแล้วได้สันนิษฐาน ไว้ว่า เป็นตัวหนังสือในพุทธศตวรรษที่ 13

การขุดค้นของ ดร.ควอตซ์ เวลส์ ได้พบ

1. เศษภาชนะดินเผา

2. กระดูกสัตว์จำนวนมาแ

3. แผ่นดินเผาสลักเกี่ยวกับเรื่องพระพุทธศาสนา

4. แท่นหินบดยา

5. หินบดยา

6. คอตะเกียงโรมันทำด้วยดินเผา

7. ศิลาจารึกสูงประมาณ 2 ฟุต 1 หลัก ซึ่งตัวอักษรชำรุดและลบเลือนหมด แต่ยังเหลือตัวอักษรที่มองเห็น ได้ 3-4 บรรทัด ศาสตราจารย์เซเดส์ สันนิษฐานไว้ว่า เป็นตัวอักษรในพุทธศตวรรษที่ 13

กล่าวโดยสรุป อายุของโบราณสถานจากการขุดค้นเมืองโบราณที่ ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ นับเป็นกุญแจสำคัญในการค้นคว้าประวัติศาสตร์และโบราณคดี (สมัยทวารวดี) เป็นอย่างยิ่ง เมืองโบราณแห่งนี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของพระนางจามเทวีในตำนาน จามเทวีวงศ์และตำนานมูลศาสนา ที่กล่าวถึงการเดินทางของพระนางจากเมืองละโว้ ขึ้นไปครองหริภุญไชย โดยกล่าวถึงชื่อเมืองต่าง ๆ ที่ทรงตั้งขึ้นหลายเมือง รวมทั้งชื่อ “เมืองพระบาง” ปรากฏอยู่ด้วย

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2023-10-19

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร