กู่บ้านหญ้าคา


ละติจูด 15.794573305623 , ลองจิจูด 102.6173163939

พิกัด

บ้านหญ้าคา หมู่ที่ 5 ตำบลเมืองพล อำเภออำเภอพล จังหวัดขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40120

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

กู่บ้านหญ้าคา หรือโนนหินตั้ง ตั้งอยู่บริเวณทางตอนเหนือของหมู่บ้านประมาณ 500 เมตร พื้นที่โดยรอบเป็นทุ่งนา เนินกู่มีสภาพพื้นที่สูงกว่าโดยรอบมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการค้นพบศิลาแลง มื่อปี พ.ศ. 2542 โดยพบหินจำนวนหนึ่งโผล่ขึ้นมา จากการปรับพื้นที่เพื่อใช้เป็นที่ทำการเกษตร โดยพบโบราณวัตถุ 2 จุด คือ บริเวณทางตะวันตกของเนินดินพบแนวก้อนศิลาแลงก่อเรียงด้านละ 6 ก้อน เป็นลักษณะกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตรงกลางเป็นดิน ก่อเรียงซ้อนกัน 3 ชั้น แนวที่ก่อเรียงวางตามแนวทิศเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก บางก้อนมีลักษณะรอยบากเพื่อการวางทับซ้อนกันอย่างชัดเจน บางก้อนมีการแกะสลักเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ เรียงกัน เข้าใจว่าน่าจะเป็นส่วนของฐานกรอบประตู หรือส่วนของฐานอาคาร ศิลาแลงเหล่านี้มีขนาดต่าง ๆ กัน เช่น กว้าง 35 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร หนา 25 เซนติเมตร , กว้าง 30 เซนติเมตร ขาว 38 เซนติเมตร หนา 23 เซนติเมตร และกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 56 เซนติเมตร หนา 23 เซนติเมตร เป็นต้น และบริเวณทางตะวันออกของเนิน พบแนวก้อนศิลาแลงก่อเรียงเป็นมุม ตรงกลางแนวศิลาแลง พบแท่นฐานประติมากรรมศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีลักษณะเป็นฐานบัวหงาย-บัวคว่ำหน้ากระดาน บัวหงาย ด้านบนตัดเรียบ เจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางเจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยมซ้อนลงไปอีกช่อง สำหรับเป็นที่เสียบประติมากรรม บริเวณใกล้ ๆ กับจุดที่พบแนวศิลาแลงถัดไปทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือห่างประมาณ 2 เมตร ได้พบแท่งหินทรายแกะเป็นรูปโค้งมนที่ปลาย ด้านบนตัดเรียบแกะเป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางเจาะเป็นช่องลึกทรงกรวย เข้าใจว่าน่าจะเป็นแท่นฐานประติมากรรมเช่นกัน แต่เป็นแท่นที่มิได้วางตั้งโชว์ตัวแท่น แต่ใช้ฝังลงไปโผล่พ้นในระดับพื้นอาคาร เพื่อใช้ประดิษฐานประติมากรรมหรือรูปเคารพ แท่นหินทรายนี้ชำรุดหักหายไปซีกหนึ่ง จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านได้เล่าว่าเคยเห็นศิลาแลงก่อเป็นแนวรอบ ๆ เนินทางด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ลักษณะเหมือนแนวกำแพงแต่หมดสภาพไปแล้ว จากการเดินสำรวจพบว่ายังมีก้อนศิลาแลงกระจัดกระจายตามแนวนี้อยู่บ้างไม่มากนัก หากได้ดำเนินการขุดแต่งอาจจะเห็นทั้งแนวกำแพง และแนวรากฐานอาคาร นอกจากนี้ยังพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อเครื่องหินเคลือบสีน้ำตาล  อยู่บริเวณโดยรอบเนินกู่ สันนิษฐานเบื้องต้นว่าโบราณสถานกู่บ้านหญ้าคา มีช่วงอายุสมัยในลพบุรี(พุทธศตวรรษที่ 16-18) ซึ่งน่าจะเป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) และมีการประดิษฐานรูปเคารพอย่างน้อย 2 องค์ (จากการพบแท่นฐานประติมากรรม 2 ชิ้น)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

กู่บ้านหญ้าคา ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน มีการก่อสร้างหลังคาคลุมพื้นที่โบราณสถาน ไม่ได้มีการดูแลรักษาและจัดตั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการ

แก้ไขเมื่อ

2024-02-24

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร