โบสถ์เก่า วัดป่าเรไรทอง


ละติจูด 15.6547507 , ลองจิจูด 101.1171927

พิกัด

วัดป่าเรไรทอง ตำบลท่าโรง อำเภออำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ รหัสไปรษณีย์ 67130

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

ประวัติความเป็นมา

            เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) ทรงกระทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว ทรงเห็นว่าตำแหน่งเจ้าเมืองศรีเทพได้ว่างลง บุตรชายของพระยาประเสริฐสวามิภักดิ์เจ้าเมืองคนเก่าที่นามเดิมว่า “จุ้ย” ซึ่งรับราชการเป็นทหารช่วยบ้านเมืองมานาน ผู้เป็นบิดาก็ทรงรู้จักมักคุ้นอยู่ อีกทั้งเป็นคนพื้นบ้านนี้อยู่แล้ว รู้จักการบ้านการเมือง สภาพบ้านเมืองและคุ้นเคยกับชาวบ้านอย่างดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็น “พระศรีถมอรัตน์” ตำแหน่งเจ้าเมืองศรีเทพสืบแทน ต่อมาในสมัยท่านได้มีส่วนช่วยเหลือประเทศชาติปกป้องอธิปไตยจากการรุกรานของพม่าและข้าศึกต่างๆ อาทิ จัดให้มีการเกณฑ์ราษฎรมาฝึกทหาร สะสมเสบียงส่งไปช่วยเหลือกองทัพไทย ปราบปรามโจรผู้ร้ายที่คอยดักปล้นสะดมราษฎร ช่วยทำนุบำรุงพระศาสนาด้วยการนำชาวบ้านก่อสร้างและปฏิสังขรณ์วัด เข้าวัดทำบุญฟังธรรมอยู่เนืองๆ นอกจากนั้นยังเป็นผู้เสนอให้สมุหนายกที่กำกับกรมวัง (ขณะนั้นเมืองศรีเทพอยู่ในการปกครองขึ้นต่อพระนครโดยตรง) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลกิจการพระศาสนาให้พิจารณาประกาศจัดตั้งเป็นวัดให้ถูกต้อง ๑ แห่ง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๐ ได้แก่ วัดป่าเรไรทอง (ตั้งอยู่ในเขตตัวอำเภอวิเชียรบุรีในปัจจุบัน) เพื่อเป็นวัดประจำเมือง และกำกับดูแลในกิจการราชการต่างพระเนตรพระกรรณ จนราษฎรมีความเป็นอยู่สงบสุขเรียบร้อยดี ในความดีความชอบที่ท่านกระทำจึงโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์สูงขึ้นเป็น “พระยาประเสริฐภักดี” จนกระทั่งช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พระยาประเสริฐภักดีมีอายุมากแล้วก็ต้องพ้นเกษียณราชการ และต่อมาในช่วงรัชกาลที่ ๓ ท่านจึงถึงแก่อนิจกรรม วัดป่าเรไรทอง สร้างขึ้นเมื่อ ๒๕ พฤษภาคม ๒๓๔๐ เดิมบริเวณวัดเป็นป่าไม้หนาทึบ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๓๔๕

 องค์ประกอบสำคัญของแหล่งมรดก

๑. โบสถ์เก่าสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา       

๒. ศาลาการเปรียญ

๓. หอสวดมนต์

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

            โบสถ์เก่า วัดป่าเรไรทอง จากสภาพปัญหาที่พบเห็นโดยรวมถือว่ามีปัญหาในด้านขาดการดูแลรักษา ขาดการจัดระเบียบในพื้นที่โดยรอบของแหล่งศิลปกรรม และได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของหน่วยงานของภาครัฐ จึงทำให้คุณค่าของศิลปกรรมนั้นลดค่าลง

แก้ไขเมื่อ

2024-10-29

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร