เมืองเก่ากำแพงเพชร


ละติจูด 16.489803 , ลองจิจูด 99.516195

พิกัด

ตำบลในเมือง อำเภออำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร รหัสไปรษณีย์ 62000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

เมืองเก่า เมืองประวัติศาสตร์

ความสำคัญ/ลักษณะ

เมืองกำแพงเพชรปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่ครั้งใช้นามว่าชากังราว ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18-19 ในสมัยสุโขทัยโดยมีเมืองนครชุมตั้งอยู่ร่วมสมัยที่อาจจะเกิดขึ้นก่อนเมืองชากังราวไม่นานนัก จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าเมืองกำแพงเพชรหรือเมืองชากังราวและเมืองนครชุมเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่และมีความสำคัญที่สุดในบรรดากลุ่มเมืองบนสองฝั่งแม่น้ำปิง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้น จัดตั้งมณฑลขึ้นในหัวเมืองชั้นใน 4 มณฑล ซึ่งเมืองกำแพงเพชรได้ถูกจัดให้อยู่ในมณฑลนครสวรรค์ มีการตัดถนนสายสำคัญของเมือง ได้แก่ ถนนราชดำเนินและถนนเทศาและยังเกิดชุมชนร้านค้าขึ้นตามแนวถนนทำให้เมืองกำแพงเพชรเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว กำแพงเมืองของเมืองกำแพงเพชรทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำปิงมีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ ทางฝั่งนครชุมกำแพงเมืองมีลักษณะเป็นกำแพงดิน 3 ชั้น มีคูน้ำ 2 ชั้นล้อมรอบ แต่ปัจจุบันเหลือกำแพงเพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนทางฝั่งชากังราวเดิมเป็นกำแพงดินต่อมามีการสร้างกำแพงศิลาแลงเทินขึ้นบนกำแพงดินเดิม ตอนบนทำเป็นแท่งอย่างเสมาสี่เหลี่ยมปาดมุม ปัจจุบันเหลือป้อมอยู่ 9 หลัง แต่เชื่อว่าเดิมน่าจะมีอยู่ 10 หลัง คือ มีป้อมมุมเมือง ทางด้านทิศใต้ริมแม่น้ำอีกป้อมหนึ่ง แต่ละด้านของกำแพงเมืองมีประตูเมืองนับรวมแล้วได้ประมาณ 10 ช่อง ลักษณะสถาปัตยกรรมน่าจะได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตกคือโปรตุเกส ในช่วงสมัยอยุธยาตอนต้น ประมาณรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991-2031) บริเวณกึ่งกลางกำแพงเมืองด้านที่ติดกับริมแม่น้ำปิงมีประตูเมืองที่เรียกว่าประตูดั้น และมีป้อมเจ้าจันทร์เป็นป้อมโดดอยู่บริเวณหน้าประตู ซึ่งใช้เป็นป้อมหลักในการสังเกตการณ์บริเวณคุ้งแม่น้ำปิงที่โอบโค้งเข้ามาและใช้ประตูดั้นเป็นจุดควบคุมการเข้าออกและเป็นทางเข้าหลักสำหรับการ ติดต่อระหว่างเมืองทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำ นอกกจากนี้จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบแนวการสร้างถนนที่เรียกกันว่าถนนพระร่วงเชื่อมต่อระหว่างเมืองบางพานมายังกำแพงเพชรสันนิษฐานว่าเป็นเส้นทางติดต่อกับหัวเมืองทางตอนเหนือโดยมีทางเข้า-ออกทางด้านประตูวัดช้าง รูปแบบสถาปัตยกรรมในเมืองกำแพงเพชรจะใช้อิฐและศิลาแลงเป็นวัสดุพื้นฐานแล้ว ซึ่งมีแหล่งอยู่ใกล้ ๆ กับโบราณสถานนั้น ๆ เช่น บ่อสามแสนที่แหล่งศิลาแลงขนาดใหญ่ภายในเขตอรัญญิก ช่างเมืองกำแพงเพชรใช้เทคนิควิธีการสกัดเป็นแท่งหรือท่อนที่มีขนาดใหญ่ยาวตลอดโดยไม่มีการต่อรวมทั้งวิธีการก่อผนังโค้งดังเช่นมณฑปวัดพระสี่อิริยาบถซึ่งระบบวิธีการนี้ไม่ปรากฏที่อื่น โบราณสถานในเขตเมืองเก่ากำแพงเพชร ได้แก่ วัดศาสนสถานทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงบริเวณอรัญญิกและภายในเขตกำแพงเมืองเก่าชากังราว ได้แก่ วัดพระธาตุ วัดพระแก้ว วัดพระนอน วัดช้างรอบ วัดช้าง วัดวิหารงาม วัดอาวาส ใหญ่ วัดอาวาสน้อย และวัดกะโลทัย ส่วนศาสนสถานทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง บริเวณเมืองนครชุมและบริเวณ อรัญญิก ได้แก่ วัดพระบรมธาตุนครชุม วัดหนองพิกุล วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองลังกา วัดซุ้มกอ และ วัดหม่องกาเล

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

1. ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่ากำแพงเพชร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2553

แก้ไขเมื่อ

2018-11-08

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร