วัดศรีบุญเรือง


ละติจูด 18.1399310173 , ลองจิจูด 100.138348036

พิกัด

ตำบลในเวียง อำเภออำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ รหัสไปรษณีย์ 54000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

      วัดศรีบุญเรืองเป็นวัดเก่าแก่ที่ไม่ปรากฏว่าสร้างตั้งแต่สมัยใด และใครเป็นผู้สร้าง สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในยุคสร้างบ้านแปลงเมือง คือมีอายุประมาณ 200 ปีขึ้นไป ผู้สร้างน่าจะเป็นเจ้าเมืองหรือลูกหลานของเจ้าเมืององค์ใดองค์หนึ่ง เนื่องจากการสร้างวัดต้องใช้กำลังคนและกำลังทรัพย์

      ตามประวัติได้มีการเริ่มบันทึกที่พญาแสนศรีขวาเป็นผู้บูรณปฏิสังขรณ์ บุตรของพญาแสนศรีขวาคือ พญาประเสริฐชนะสงครามราชภักดี ต่อมา            “แม่เจ้าคำป้อ” :ซึ่งเป็นบุตรของพระยาประเสริฐฯ ได้สมรสกับ “พระวิชัยราชา” (นามเดิมว่า ขัติ หรือเจ้าหนานขัติ) ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการบูรณะซ่อมแซม และอุปการะวัดนี้มาตลอดอายุขัยของท่านทั้งสอง

      หากสันนิษฐานการสร้างวัดศรีบุญเรืองนี้ แบ่งได้ 2 แนวทาง คือ แนวทางสถานที่ตั้งของวัด และแนวทางประวัติศาสตร์การสืบเชื้อสายของเจ้าหลวงเมืองแพร่ หลักฐานของสถานที่ตั้ง การสร้างบ้านแปลงเมืองสมัยโบราณ การปกครองทางฝ่ายเหนือจะมีเจ้าผู้ครองนคร หรือเจ้าหลวงปกครองในแต่ละเมือง ภูมิประเทศที่ตั้งก็คือ คุ้มเจ้าหลวงจะอยู่ตรงกลางสร้างกำแพงเมืองล้อมรอบ มีประตูเข้า – ออก 4 ทิศ ด้านนอกกำแพงเมืองมีคูน้ำล้อมรอบ ส่วนลูกหลานผู้สืบเชื้อสายเจ้าหลวงได้สร้างบ้านเรือนกระจัดกระจายอยู่ภายในกำแพงเมืองนั้นเรียกว่า ในเวียง ส่วนผู้อยู่นอกกำแพงเมืองออกไปเรียกว่า นอกเวียง หลังจากสร้างบ้านแปลงเมืองได้ไม่นานจึงได้มีการสร้างวัดขึ้น

      การสร้างวัดในแต่ละวัดจะต้องมีเนื้อที่มากกว่าการสร้างบ้านเรือน ก็เลยมีความคิดที่จะสร้างอยู่ติดกับกำแพงเมือง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่มีจำนวน 5 วัด คือ วัดหัวข่วง วัดศรีชุม (วัดศรีจุม) วัดหลวง วัดพระนอนและวัดศรีบุญเรือง สมัยก่อนทางเดินรอบกำแพงเมืองด้านในจะเป็นทางเท้าเท่านั้น ไม่ได้เป็นถนนรอบเมืองเช่นในปัจจุบัน จึงสันนิษฐานว่าความเก่าแก่ของวัดทั้ง 5 วัดนี้คงมีความเป็นมายาวนานพอๆ กัน

     ในสมัยก่อนการสร้างวัดขึ้นสักแห่ง จะต้องมีที่ดินกว้างขวาง การก่อสร้างก็ต้องใช้เงินมิใช่น้อย ตลอดจนแรงงานคนด้วย หากว่าเจ้าหลวงองค์ใดองค์หนึ่งไม่ได้สร้าง ก็ต้องเป็นบุตรหลานผู้สืบเชื้อสายเจ้าหลวงเท่านั้นที่จะสร้างได้

     องค์ประกอบสำคัญของแหล่งมรดก

  1. พระอุโบสถ
  2. พระประธานในพระอุโบสถ
  3. พระธาตุวัดศรีบุญเรือง
  4. อนุสาวรีย์ศรีวิจัย โข้

      ภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศรีบุญโญภาส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปเชียงแสน สร้างด้วยปูนปั้นลงรักปิดทอง และถือเป็นพระพุทธรูป 1 ใน 300 องค์ที่มีพุทธลักษณะงดงามในประเทศ

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2019-08-27

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร