ละติจูด 18.0520361369 , ลองจิจูด 100.116649151
พิกัด
ตำบลสูงเม่น อำเภออำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ รหัสไปรษณีย์ 54130
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
วัด วัดร้าง ศาสนสถาน
ความสำคัญ/ลักษณะ
วัดสูงเม่นสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรล้านนารุ่งเรือง (พ.ศ.2100 – 2207) ไม่มีหลักฐานปรากฏที่แน่ชัด แต่ถือว่าอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากลักษณะพระพักตร์และการก่อสร้างองค์พระประธานของอุโบสถวัดสูงเม่น มีความคล้ายคลึงกับองค์พระประธานของวัดวิชุนราช เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาวเป็นอย่างมาก ซึ่งในสมัยนั้นหลวงพระบางกับล้านนามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยวัดวิชุนราชสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2046 ซึ่งต่อมาครูบากัญจนอรัญวาสีแห่งวัดสูงเม่นก็ไปวัดนี้เพื่อรวบรวมคัมภีร์ พร้อมโดยวัดสูงเม่นมีการบูรณปฏิสังขรณ์ ระหว่างปี พ.ศ.2332 – 2409 ก็พบว่าวัดสูงเม่นมีมาก่อนหน้านั้นแล้ว
ความเป็นมาวัดสูงเม่น
วัดสูงเม่นเคยเป็นศูนย์กลางของชุมชนระดับบ้านมาช้านาน ปัจจุบันมีการรับรู้ถึงสถานะของบ้านสูงเม่นแตกต่างไปจากอดีต ก่อนที่จะศึกษาถึงวรรณกรรมวัดสูงเม่นต่อไป
ชื่อสูงเม่น จะหมายถึงอะไรดูเหมือนรูปศัพท์นี้ไม่ให้ความกระจ่างนัก จากการสำรวจข้อมูลวรรณกรรมท้องถิ่น เพื่อหาร่องรอยของหลักฐาน การเขียนรูปคำ “สูงเม่น” ที่บันทึกด้วยอักษรท้องถิ่น เช่น อักษรธรรมล้านนา (ตั๋วเมือง) อักษรฝักขาม อักษรขอม ฯลฯ ได้ค้นพบ “เส้นใบลาน” เป็นบันทึกคำสั่งเสียของครูบามหาเถร (คณูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดสูงเม่น นักบุญและนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมืองแพร่ (มีอายุราว พ.ศ.2325 – 2410) ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
จากการบอกเล่าสืบต่อกันมาว่าวัดสูงเม่นเดิมเรียกว่า “วัดสุ่งเม้น” เดิมสถานที่ตำบลสูงเม่นเป็นป่าไผ่และทุ่งหญ้า รวมถึงมีป่าไม้เบญจพรรณ มีสัตว์ป่าจำพวก “เม่น” เป็นสัตว์ตระกูลหมูอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากและประกอบกับสถานที่เป็นทำเลดีมีหญ้าและท่าน้ำบริบูรณ์ พวกพ่อค้าวาณิชย์และคนเดินทางในมัยอดีตมักแวะเวียนพักแรมในบริเวณดังกล่าว จนเรียกพื้นที่ในตำบลนี้ว่า “ ป๋างสุ่งเม้น” การที่พวกสัตว์ต่างๆ และ “เม่น” อาศัยอยู่รวมกันมากในบริเวณนี้คนจึงเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า “สุ่ง” ซึ่งได้ชื่อตามสภาพของฝูงเม่นว่า “บ้านสุ่งเม้น” คำว่า สุ่ง หมายถึง โพรง หรือ รู สุ่งเม้น คือ โพรงหรือรูที่เม่นอาศัยอยู่ ต่อมาคนเรียกชื่อหรือสื่อสารคำความหมายก็เปลี่ยนไปจาก “สุ่งเม้น” ปลายมาเป็น “สูงเม่น” มาจนถึงปัจจุบันนี้
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
ประกาศเป็นมรดกจังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555
สภาพปัญหาของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่สำคัญของวัดสูงเม่นในปัจจุบันควรได้รับการแก้ไขเพื่อรักษาไว้ให้เป็นสมบัติแก่อนุชนรุ่นหลังมีดังนี้ 1.ปัญหาการชำรุดของพระอุโบสถ
2.ปัญหาการชำรุดของพระประธานในพระอุโบสถ
แก้ไขเมื่อ
2019-11-12
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | รายละเอียด | งบประมาณ | เอกสาร | สถานะ |
---|
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | งบประมาณ | วันที่รายงาน | เอกสาร |
---|