ละติจูด 17.9359390221 , ลองจิจูด 100.057639992
พิกัด
ตำบลห้วยไร่ อำเภออำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรม พระราชวัง
ความสำคัญ/ลักษณะ
สถานีรถไฟแม่พวก ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ในปี พ.ศ. 2460 กรมรถไฟหลวงได้รื้ออาคารสถานีรถไฟชั่วคราวลงและเริ่มสร้างอาคารสถานีรถไฟแม่พวกหลังปัจจุบัน และมีการเปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2462 ลักษณะผังพื้นอาคารเป็นรูปตัวเอช (H) ลักษณะเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น จำนวน 2 หลัง ระหว่างกลางของอาคาร 2 หลังนี้เชื่อมต่อกันด้วยโถงพักคอยชั้นเดียว โดยอาคารไม้ 2 ชั้น ทางทิศเหนือเคยเป็นที่ทำงาน ห้องนอน และห้องเก็บของของนายสถานี ส่วนอาคารไม้ 2 ชั้น ทางทิศใต้เคยเป็นที่ทำงาน ห้องนอน และห้องเก็บของของผู้ช่วยนายสถานีโครงสร้างอาคารทั้งหมดเป็นไม้ตั้งอยู่บนฐานคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นชั้นล่างและชั้นบนเป็นไม้ ผนังอาคารแสดงโครงเคร่าไม้ที่ใช้รับฝาที่เรียงตัวตามแนวนอนและต่อกันแบบเข้าลิ้น หลังคาอาคารเป็นหลังคาปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ ประตูและหน้าต่างของอาคารเป็นบานลูกฟักไม้สภาพอาคารโดยทั่วไปอยู่ในสภาพปานกลาง โครงสร้างหลักของอาคารอยู่ในสภาพดี ประตูและหน้าต่างอยู่ในสภาพปานกลาง ห้องน้ำผู้ช่วยนายสถานีอยู่ในสภาพทรุดโทรม รั้วไม้บริเวณโถงพักคอยมีองค์ประกอบไม่ครบถ้วน พื้นระเบียงหน้าห้องนอนนายสถานีและหน้าห้องนอนผู้ช่วยนายสถานีมีสภาพปานกลางถึงทรุดโทรม บริเวณห้องโถงและห้องครัวที่ชั้นล่างอาคารทางทิศเหนือมีปัญหาเรื่องปลวกผนังภายนอกของอาคารหลายแห่งมีช่องโหว่ทำให้ไม่สามารถป้องกันน้ำฝนและสัตว์เลื้อยคลานได้ รางระบายน้ำฝนสังกะสีและท่อน้ำฝนสังกะสีมีเฉพาะที่อาคารทางด้านเหนือแต่อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน รอยต่อของหลังคาโถงพักคอยชั้นเดียวกับผนังภายนอกอาคารทิศเหนือและทิศใต้มีรูโหว่ทำให้ไม่สามารถป้องกันน้ำฝนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบประปาไม่สามารถใช้ได้ แต่มีการเดินระบบไฟฟ้าใหม่ สำหรับสภาพพื้นที่โดยรอบอาคารอยู่ในสภาพปานกลาง ต้นไม้ส่วนใหญ่ได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ลานกีฬาคอนกรีตด้านหน้าอาคารทั้ง 2 ลานอยู่ในสภาพดีและมีการใช้สอยทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ห้องน้ำด้านหน้าอาคารมีสภาพทรุดโทรมและสกปรก ถังเก็บน้ำคอนกรีตทั้ง 3 ถังอยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งานจากการศึกษาพบว่าที่หยุดรถไฟแม่พวกและพื้นที่โดยรอบมีความสำคัญในด้านประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีต่อชุมชน และสามารถรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมไว้ได้ ดังนั้นแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาที่มีความเป็นไปได้ คือ การเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยและการปรับปรุงฟื้นฟูจากสถานีรถไฟมาเป็นกิจกรรมร่วมสมัยให้เป็นไปตามความต้องการของสังคมหรือชุมชนเพื่อให้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากพอที่จะรักษาอาคารนั้นไว้ได้ เช่น ศูนย์ข้อมูลและการเรียนรู้หมู่บ้านแม่พวก เป็นต้นอย่างไรก็ตาม แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาที่หยุดรถไฟแม่พวกและพื้นที่โดยรอบจะสามารถดำเนินการจริงได้จนกว่าผู้จัดทำแผนการอนุรักษ์และพัฒนาจะตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าในด้านต่าง ๆ รวมทั้งควรมีนโยบายการพัฒนาอาคารและพื้นที่โดยรอบ มีมาตรการควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมโดยการจัดทำแนวทางการต่อเติมอาคารและการใช้ประโยชน์ภายในและภายนอกอาคาร รวมทั้งสนับสนุนเงินทุนและวัสดุในการดูแลและซ่อมแซมอาคารด้วย
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
-
แก้ไขเมื่อ
2020-12-03