เมืองเก่าแพร่


ละติจูด 18.143255 , ลองจิจูด 100.138306

พิกัด

ตำบลในเวียง อำเภออำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ รหัสไปรษณีย์ 54000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

เมืองเก่า เมืองประวัติศาสตร์

ความสำคัญ/ลักษณะ

การอยู่อาศัยในช่วงแรกเริ่มบริเวณเมืองแพร่และบริเวณพระธาตุช่อแฮที่มีหลักฐานชัดเจนราวพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 ปรากฏหลักฐานศิลปกรรมที่มีรูปแบบคล้ายกับศิลปะสุโขทัย เช่น วัดศรีชุม วัดพระนอน และหลักฐานที่ได้จากการขุดค้นในพื้นที่วัดศรีชุม ในสมัยของพระเจ้าติโลกราชของอาณาจักรล้านนาเมืองแพร่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของเชียงใหม่เป็นเวลานานศิลปกรรมแบบล้านนาที่ปรากฏคือพระธาตุต่าง ๆ ที่มีลักษณะเจดีย์แบบล้านนา แต่ภายหลังเชียงใหม่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าเป็นเวลาเกือบ 200 ปี แพร่จึงกลายเป็นเมืองสองฝ่ายฟ้าหากใครเข้มแข็งก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของผู้นั้น ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมืองแพร่มีเจ้าหลวงครองนคร แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเป็นมณฑลและเทศาภิบาลก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอำนาจ ทำให้เกิดกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ขึ้น ในปี พ.ศ. 2445 หลักฐานที่หลงเหลือจากเหตุการณ์ในเชิงโบราณคดีและศิลปกรรมคือวัดวาอารามที่มีอิทธิพลศิลปะพม่าซึ่งสร้างขึ้นในช่วงที่มีบริษัทต่างชาติเข้ามาทำสัมปทานและกลายเป็นศูนย์กลางของชุมชนหรือย่านเก่าของเมืองแพร่ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรมมีทั้งโบราณสถานที่เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาและศิลปกรรมแบบล้านนา ในยุคพุทธศตวรรษที่ 14 คือ วัดหลวงและวัดหัวข่วง ส่วนสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเขตเมืองเก่า ได้แก่ คุ้มเจ้าหลวง บ้านคหบดี และบ้านเรือนพื้นถิ่น โบราณสถานในเขตเมืองเก่าแพร่เริ่มต้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 ต่อเนื่องจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ กำแพงเมือง–คูเมือง ประตูเมือง (ประตูชัย ประตูศรีชุม ประตูยั้งม้า ประตูมาร ประตูใหม่) วัดพระบาทมิ่งเมือง วัดหัวข่วง วัดศรีชุม วัดหลวง วัดพระนอน วัดจอมสวรรค์ และวัดสระบ่อแก้ว เมืองเก่าแพร่มีกำแพงเมือง-คูเมืองที่สร้างตามแบบทวารวดีคล้ายกับที่เมืองลำพูนก่อนการสถาปนาอาณาจักรล้านนา ป้อม ประตูเมือง ปรากฏประตูเมือง ๔ ทิศ ได้แก่ ประตูชัยอยู่ทางทิศตะวันออก ประตูศรีชุมอยู่ทางทิศตะวันตก ประตูยั้งม้าอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และประตูมารอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ใจเมืองสันนิษฐานว่าอยู่ในบริเวณติดกับโรงเรียนนารีรัตน์ใกล้กับศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน สภาพเป็นพื้นที่ร่มรื่นมีต้นไม้ใหญ่และศาลขนาดเล็กตั้งอยู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า “ตูบผี” ต่อมามีการตัดต้นไม้ใหญ่ออกและนำเอาหลักศิลาจารึกหลักหนึ่งมาไว้แล้วยึดเป็นหลักเมืองแพร่ ส่วนข่วงเมืองหรือลานกว้างสาธารณะของเมืองเก่า สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นบริเวณกลางเวียงที่อยู่ระหว่างที่ตั้งคุ้มเจ้าหลวงไปจนถึงวัดหัวข่วงกับพื้นที่ระหว่างวัดศรีชุมไปจนถึงวัดพระบาทมิ่งเมือง ข่วงเมืองนี้ใช้เป็นเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและการเมืองเรียกว่าสนามหลวง

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

1. ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่า เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2558

แก้ไขเมื่อ

2018-11-14

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร