เมืองโบราณดงเวียงแก่น


ละติจูด 20.0999739838 , ลองจิจูด 100.512299983

พิกัด

ตำบลม่วงยาย อำเภออำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57310

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์

ความสำคัญ/ลักษณะ

เวียงแก่น ตั้งอยู่ที่บ้านม่วง ตำบลม่วงยาย อำเภอเวียงแก่น อยู่บนเนินทางทิศใต้ติดตัวอำเภอเวียงแก่น ในบริเวณแอ่งที่ราบระหว่างภูเขาเวียงแก่น ผ่านด้านทิศตะวันตกของเมือง มีแม่น้ำงาวเป็นแม่น้ำสายหลักในพื้นที่ ประวัติความเป็นมาไม่แน่ชัดมีเพียงเรื่องเล่าถึงเหตุการณ์การสู้รบระหว่างเจ้าหลวงเวียงแก่นเจ้าผู้ครองเมืองเวียงแก่นกับพญามังรายมหาราช ที่ทุ่งคาวบริเวณที่ราบนอกเมืองด้านตะวันตกของเวียงแก่นหลังจากนั้นจึงถูกทิ้งร้างมาจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะสำคัญ คือ เป็นเมืองโบราณรูปวงรี ตั้งอยู่บนเนินสูง มีคูน้ำ คันดิน 2 ชั้น ภายในตัวเมือง มีการสร้างกำแพงเมืองและคูเมืองในตอนกลางค่อนไปทางทิศใต้ จากการสำรวจพบเนินโบราณสถาน 5 แห่ง โดยอยู่ทางด้านทิศใต้ 2 แห่งด้านทิศเหนือ 2 แห่งด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่งมีพื้นที่ ประมาณ 286 ไร่ 1 งาน 86.09 ตาราวา กำแพงเมืองด้านทิศเหนือมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ส่วนทิศตะวันออกมีถนนสายบ้านหลู้+เวียงแก่น ตัดทับบนส่วนของกำแพงชั้นนอก ทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ถูกปรับเป็นพื้นที่ทำกินในบางส่วนของกำแพงชั้นนอก ส่วนทางด้านทิศเหนือมีการตัดถนนลูกรังเข้าผ่านไปในตัวเมือง ภายในตัวเมือง มีการสร้างกำแพงเมือง และคูเมืองที่ในตอนกลางค่อนไปทางทิศใต้ของพื้นที่ ทำให้ตัวเมืองถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่ พื้นที่ด้านทิศเหนือจะมีขนาดใหญ่กว่าและมีความสูงมากกว่าและพื้นที่ด้านทิศใต้ แต่ร่องคูเมืองด้านทิศใต้จะมีขนาดลึกกว่าคูเมืองด้านทิศเหนือมาก เวียงแก่นมีประตูทางเข้าทั้งสิ้น 4 ประตู ได้แก่ -ประตูด้านทิศตะวันตก-ประตูด้านทิศใต้ของเมืองด้านใน-ประตูใหญ่ทางด้านทิศเหนือ-ประตูเล็กทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือทั้งนี้ห่างออกไปประมาณ 30 เมตร ทางทิศตะวันตกของเมือง มีสระน้ำขนาดใหญ่ 1 แห่ง ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า หนองคันปัจจุบันมีสภาพตื้นเขินมากเนื่องจากเวียงแก่นยังไม่มีการขุดค้น ขุดแต่งทางโบราณคดีแต่อย่างใด โบราณสถานภายในเวียงจึงมีสภาพเป็นเนินดินที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น ปัจจุบันเป็นป่ารกทึบภายในตัวเมืองไม่มีราษฎรตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ กำแพงเมืองด้านทิศเหนือมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ส่วนทิศตะวันออกมีถนนสายบ้านหลู้-เวียงแก่นตัดทับบนส่วนของกำแพงเมืองชั้นนอกทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ถูกราษฎรปรับเป็นพื้นที่ทำกินในบางส่วนของกำแพงเมืองชั้นนอก ส่วนทางด้านทิศเหนือมีการตัดถนนลูกรังเข้าผ่านไปในตัวเมือง

 

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2022-07-22

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร