ละติจูด 19.4854639774 , ลองจิจูด 99.7797869677
พิกัด
ตำบลทานตะวัน อำเภออำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
วัด วัดร้าง ศาสนสถาน
ความสำคัญ/ลักษณะ
วัดสันป่ง จากหลักฐานแผ่นศิลาจารึกของวัดสันป่งโดย ดร. ฮันส์ เพนธ์ ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวผู้เชี่ยวชาญการอ่านศิลาจารึกของสถาบันวิจัยสังคม มหาลัยเชียงใหม่ ที่ได้นำแผ่นศิลาจารึกของวัดสันป่งไปศึกษา พบว่าในอดีตวัดสันป่งเดิมมีชื่อว่า “วัดมหาวัน” ตั้งอยู่ในเมืองออยมีอายุประมาณ 500 กว่าปี ซึ่งเป็นพันนาหนึ่งของสามสิบหกพันนาของอาณาจักรภูกามยาว (รัฐพะเยา) ต่อมาอาณาจักรภูกามยาวได้ตกอยู่ในภาวะสงครามถูกรุกรานจากพม่าต่อมาในปี พ.ศ. 1881 ในสมัยของ ขุนคำลือ (หรือพญาห้าว) ผู้ปกครองอาณาจักรภูกามยาว (รัฐพะเยา) เป็นองค์สุดท้ายได้ถูกพญาคำฟูซึ่งปกครองอาณาจักรล้านนารุกรานจนยึดครองได้สำเร็จ ทำไห้ “วัดมหาวัน”(วัดสันป่ง) ขาดการดูแลรักษาผู้คนอพยพหนีภัยสงครามจนทำให้กลายสภาพเป็นวัดร้าง ต่อมาได้มีประชาชนอพยพข้ามาอาศัยอยู่เพิ่มขึ้น จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านสันโป่งเรียกชื่อตาม โป่งดินเค็ม ที่ออกตามสันดอน และต่อมาได้กลายเป็นชื่อหมู่บ้านใหม่ว่าบ้านสันป่ง พ.ศ. 2474 ครูบาคีลธรรมหรือครูบาศรีวีชัยได้เป็นประธานได้ร่วมมือกับประชาชนได้ทำการบูรณะพระธาตุ (เจดีย์) ร้าง เมื่อได้รื้อซากพระธาตุที่พังลงมาและได้พบว่าศิลาจารึก 1 แผ่น ที่ตั้งอยู่ใต้ฐานพระธาตุ (เจดีย์) ทางทิศเหนือของพระธาตุ ชาวบ้านจึงเก็บรักษาศิลาจารึกไว้ พ.ศ. 2513 เจ้าอาวาสวัดสันป่งในขณะนั้น ได้มอบศิลาจารึกให้กับ ดร.ฮันส์ เพนธ์ นำไปศึกษา ปัจจุบันศิลาจารึกของวัดสันป่งได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน ต่อมา พ.ศ. 2528 ได้มีการบูรณะพระธาตุ (เจดีย์) อีกครั้งโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์จึงได้ทุบพระธาตุ (เจดีย์) บางส่วนและกำแพงแก้วของพระธาตุ (เจดีย์) ลงจนไม่เหลือสภาพเดิมของพระธาตุ (เจดีย์) เอาไว้ พ.ศ. 2536 ได้วางศิลาฤกษ์เพื่อสร้างพระวิหารวัดสันป่งหลังปัจจุบันนี้ พ.ศ. 2550 สำนักงานศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ได้บูรณะพระธาตุ (เจดีย์) วัดสันป่ง ให้คงสภาพเดิมตามแบบที่ครูบาก๋านได้บูรณะโดยอาศัยภาพถ่ายจาก ดร. ฮันส์ เพนธ์ เป็นต้นฉบับ
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
-
แก้ไขเมื่อ
2020-12-03