ละติจูด 18.5506728518 , ลองจิจูด 98.788565385
พิกัด
ตำบลต้นธง อำเภออำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
วัด วัดร้าง ศาสนสถาน
ความสำคัญ/ลักษณะ
วัดรมณียาราม (กู่ละมัก) ตั้งอยู่เลขที่ 222 บ้านศรีย้อย หมู่ 4 ตำบลต้นธง อำเภอ เมือง จังหวัด ลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ทั้งหมด 10 ไร่ 2 งาน 37 ตารางวา เสนาสนะประกอบด้วย เจดีย์กู่ระมัก วิหาร กุฏิสงฆ์ ศาลาบาตร ห้องประชุม ศาลาเปรียญ และ โรงครัว ปูชนียสถานประกอบด้วยพระพุทธรูปปางสมาธิศิลปละโว้ เศียรพระพุทธรูป เศียรพระฤๅษี ศิลปะละโว้ ธรรมาสหลวงที่ใช้สำหรับแสดงพระธรรมเทศนา ซึ่งสร้างโดยครูบาเจ้าศรีวิชัยและ องค์เจดีย์กู่ละมักที่มองเห็นนี้ เป็นองค์เจดีย์ที่สร้างครอบองค์เดิมโดยบารมีและฝีมือของครูบาเจ้าศรีวิชัย โดยมีการจัดงานฉลองเสนาสนะ(ปอยหลวง) เมื่อวันที่ 10 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2475 ใช้เวลาในการก่อสร้าง 1 เดือน องค์เจดีย์กู่ละมักถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และ เป็นที่เคารพกราบไหว้ของผู้คนทั้งหลาย ประวัติความเป็นมาของแหล่งโบราณคดีวัดมณียาราม (กู่ละมัก) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมืองลำพูน ริมฝั่งแม่น้ำกวงฝั่งตะวันตก ในเขตตำบลบ้านธง อำเภอเมือง ฯ ตามพงศาวดารโยนก ได้กล่าวถึง การสร้างมหาเจดีย์ในวัดกู่ละมัก โดยพระนางจามเทวีโปรดให้นายธนูศิลป์ยิงธนูเสี่ยงทาย เพื่อหาสถานที่สร้างมหาเจดีย์ ธนูมาตกริมฝั่งแม่น้ำกวงด้านทิศตะวันตก บริเวณที่เป็นวัดกู่ละมักปัจจุบัน พระนางจามเทวีจึงโปรดให้ก่อมหาเจดีย์ตรงจุดที่ลูกธนูตกแล้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน จากการขุดค้น เมื่อปี พ.ศ. 2534 ปรากฏร่องรอยมนุษย์สามชั้นวัฒนธรรม ระยะแรกโบราณวัตถุที่พบส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนภาชนะดินเผาแบบหริภุญชัย ชิ้นส่วนเครื่องประดับสำริด และถ่านที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ มีอายุอยู่ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 15-16 ระยะที่สอง พบชิ้นส่วนเครื่องถ้วยล้านนา ในพุทธศตวรรษที่ 20-21 เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน พุทธศตวรรษที่ 18-20 และราชวงศ์หมิง พุทธศตวรรษที่ 20-21 ปะปนอยู่กับเครื่องถ้วยหริภุญชัย ระยะที่สามพบร่องรอยของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน โดยพบชั้นดินที่นำมาปรับพื้นที่ภายในวัด โบราณวัตถุที่พบมีหลายอย่างที่เป็นศิลปะหริภถุญชัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริเวณวัดแห่งนี้มีร่องรอยว่าเคยเป็นที่ตั้งศาสนสถานรุ่นเก่า ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
-
แก้ไขเมื่อ
2020-12-03