สะพานข้ามแม่น้ำแคว


ละติจูด 14.0382317649 , ลองจิจูด 99.5068817282

พิกัด

https://drive.google.com/open?id=1nlmSG3vmQjkjYKU4ji9M0DNaTYES3W2T&usp=sharing ตำบลท่ามะขาม อำเภออำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรม พระราชวัง

ความสำคัญ/ลักษณะ

สะพานข้ามแม่น้ำแควเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เป็นสะพานที่สำคัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะสร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลียฮอลันดา และนิวซีแลนด์ประมาณ 61,700 คน สมทบด้วยกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า และอินเดีย อีกจำนวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า ซึ่งเส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้ เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัย ตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง

สะพานข้ามแม่น้ำแควใช้เวลาสร้างเพียง 1 เดือน โดยนำเหล็กจากมลายูมาประกอบเป็นชิ้น ๆ ตอนกลางทำเป็นสะพานเหล็ก 11 ช่วง หัวและโครงสะพานเป็นไม้ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ได้ถูกทิ้งระเบิดหลายครั้งจนสะพานหักท่อนกลาง ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาลไทยได้ซ่อมแซมใหม่ด้วยเหล็กรูปเหลี่ยม เมื่อปี พ.ศ. 2489 จนสามารถใช้งานได้ ปัจจุบัน มีการยกย่องให้เป็น สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ

สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นสะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่โครงสร้างเหล็กครึ่งวงกลม สลับโครงสร้างถัก ตอม่อคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งอยู่ที่ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323ประมาณ 4 กิโลเมตร แยกซ้ายประมาณ 400 เมตร ปัจจุบันใช้เป็นทางสัญจรของรถไฟสายธนบุรี - น้ำตก หรือ ทางรถไฟสายมรณะ ในอดีต

สะพานข้ามแม่น้ำแคว เดิมสร้างขึ้นโดยแรงงานของเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ภายใต้การควบคุมของกองทัพญี่ปุ่น การก่อสร้างใช้เวลาแล้วเสร็จเพียงหนึ่งปี ก่อนจะถูกระเบิดทิ้งทำลายจากกองบินสัมพันธมิตรจนสะพานช่วงกลางพังถล่มลงมา ต่อมาภายหลังสงครามโลกยุติลง รัฐบาลไทยได้ซื้อทางรถไฟนี้ต่อจากอังกฤษมาเป็นเงินจำนวน 50 ล้านบาท แล้วบูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2489 การซ่อมในครั้งนั้นได้ยุบตอม่อกลาง (ตัวที่ 5-6) แล้วสร้างเป็นสะพานเหล็ก 2 ช่วง แทนของเดิม กับเปลี่ยนช่วงสะพานไม้ด้านปลายทางเป็นสะพานเหล็กแทนสะพานไม้ รวมความยาวของสะพานทั้งสิ้น 322.90 เมตร

ปัจจุบันสะพานข้ามแม่น้ำแคว ได้กลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่สำคัญของจังหวัดกาญจนบุรี ได้รับการยกย่องให้เป็น "สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ"เนื้อเริ่องเกี่ยวสะพานแห่งนี้ยังได้รับการไปสร้างเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูดเช่น เดอะบริดจ์ออนเดอะริเวอร์แคว (พ.ศ. 2500) ซึ่งสร้างมาจากนิยายในชื่อเดียวกัน และภาพยนตร์เรื่อง "The Railway Man แค้นสะพานข้ามแม่น้ำแคว" (พ.ศ. 2556) ซึ่งสร้างมาจากชีวประวัติของเชลยศึก ผู้ร่วมสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแคว นอกจากนี้ทางจังหวัดกาญจนบุรีได้มีการจัดงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว ประจำปีทุกปี ซึ่งมีการแสดงสีเสียง ย้อนรำลึกถึงสงครามโลกครั้งที่ 2

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

บริเวณโดยรอบสะพานข้ามแม่น้ำแคว ได้รับปัญหาทัศนียภาพเรื่อยมาทั้งการสร้างแพอาหารที่ล้ำไปกว่าครึ่งของแม่น้ำแคว การสร้างอาคาคารปฏิบัติธรรม 3 ชั้น ของมูลนิธิกวงอิมสุนทรธรรม โดยได้รับการต่อต้านจากชาวเมืองกาญจนบุรี หน่วยงาน สภาต่างๆ ของจังหวัดโดยตลอด ขณะที่ นายสุนทร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ หรือ "เสี่ยฮุก" คหบดีชื่อดังของภาคกลาง ก็ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่าที่นี่มีแต่สิ่งดีงาม และไม่เห็นว่าจะบดบังทัศนียภาพตรงไหน? สุดท้ายศาลเจ้าแห่งนี้ก็สร้างขึ้นแล้วเสร็จในเวลาต่อมา ทำให้มุมมองเมื่อมองไปทางฝั่งตะวันออกของสะพานจะเห็นรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมและศาลเจ้าเป็นฉากหลัง

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ได้มีชาวบ้านเกือบร้อยคน มาถือป้ายประท้วงการนำตู้เทนเนอร์ติดแอร์มาติดตั้งเป็นห้องน้ำชั่วคราว ซึ่งเป็นการบดบังทัศนียภาพสะพานข้ามแม่น้ำแควแต่ต่อมาก็ได้มีการนำตู้นี้ออกไปแล้ว

แก้ไขเมื่อ

2021-05-06

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร