วัดไผ่ดำเจริญศุข


ละติจูด 13.825566 , ลองจิจูด 100.923652

พิกัด

ต.ศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา 24000 ตำบลศาลาแดง อำเภออำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ 24000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดไผ่ดำเจริญศุข ตั้งอยู่ ๑๔ บ้านไผ่ดำ หมู่ที่ ๔ ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๙ ไร่ ๒ งาน อาณาเขตทิศเหนือ จรดโรงเรียนมัธยมไผ่ดำพิทยาคมรัชมังคลาภิเษก ทิศใต้ จรดคลองแสนแสบ ทิศตะวันออก จรดบ้านเอกชน ทิศตะวันตก จรดโรงเรียนไผ่ดำกัลยาพิริยะประชาสรรค์ อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๗ หอสวดมนต์ เป็นอาคารไม้ กุฏิสงฆ์ จำนวน ๑๓ หลัง ศาลาอ่านหนังสือ ๑ หลัง โรงครัว ๒ หลัง โรงเลี้ยงอาหาร ๑หลัง ห้องน้ำ ๕ หลัง ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถวัดไผ่ดำเจริญศุข การก่อสร้างวัดไผ่ดำเจริญศุข มีหลักฐานทีบันทึกถึงการนก่อสร้างทีไม่เป็นลายลักษณ์ษรแน่นอนต้องอาศัยจากการสืบปากคำของผู้ที่เคยเคยรู้เคยได้ยินมาหรือได้เคยรวมการก่อสร้างในศานสนสถานนั้นมาสันนิษฐานว่าวัดไผ่ดำคงจะสร้างขึ้นก่อนในสมัย๕ซึ่งได่รับคำบอกเล่ามาจาก คุณยายพริ้งศรีพฤกษ์ ท่านได้เคยมาช่วยทางขนดินมาถมที่ทำเป็นฐานสำหรับสร้างสร้างโบสถ์หลักปัจจุบัน เมื่อสมัยที่ท่านยังเป็นสาวๆ อยู่ ดังนั้น เมื่อนับมาขณะนี้เป็นระยะเวลาถึงร่วม ๑๐๐ ปีมาแล้ว วัดไผ่ดำเจริญศุขก็คงจะต้องสร้างขึ้นก่อนโบสถ์ในลักษณะของสำนักสงฆ์หรือเป็นวัดมาก่อนหน้านี้แล้วด้วยประมาณว่าคงจะมี อายุมากกว่า ๑๐๐ ปี ขึ้นไป แต่เดิมวัดไผ่ดำเจริญศุขตั้งอยู่บนฝั่งใต้ครองแสนแสบ เขตท้องที่หมู่ที่ ๕ ซึ่งเยื้องๆ กับปัจจุบันไปทางตะวันตกประมาณ ๓๐๐ เมตรต่อมาภายหลังได้ทำการย้ายมาสร้างทางฝั่งใต้ของคลองแสนแสบใหม่ โดยใช้ชื่อเดิมว่าวัดไผ่ดำเจริญศุข ตั้งอยู่ในเขตท้องที่หมู่ที่๔ตำศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา มีที่ดินซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์อีกหลายแห่งด้วย ในสมัยก่อนวัดไผ่ดำเจริญศุขได้สร้างหอฉันและหอสวดมนต์ไว้ตรงกลางและมีกุฎิพระสงฆ์สร้างไว้รอบๆ โดยมีชานไม้ต่อถึงกันหมดและในระยะต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงสร้างแยกออกต่างหางเป็นหลังๆไม่มีนอกชานผ่านถึงกัน อีกแบบเรือนไทยหลังค่าสูงมุงด้วยจากสังกะสีและกระเบื้อง ซึ่งอยู่ในแนวเดียวกับปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีหลวงพ่อยิ้มอยู่หน้าพระอุโบสถวัดไผ่ดำเจริญศุข โดยมีพุทธลักษณะเฉพาะต่อพระโอษฐ์(ปาก) มีลักษณะยิ้มจึงเป็นที่มาของการเรียกว่า “หลวงพ่อยิ้ม” มีความเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพกราบไหว้ขอพรเรื่องต่างๆ และโดยเฉพาะเรื่อง ห้ามฝน เวลามีงานบุญถ้าไม่ต้องการให้ฝนตกก็จะบนหลวงพ่อยิ้มด้วย หัวหมู ขนมเปี้ยะ พวงมาลัย ประทัด ผ้าห่มสไบ หรืออย่างใดอย่างตามปราถนา

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2019-07-26

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร