วัดเทพนิมิตร


ละติจูด 13.69888 , ลองจิจูด 101.089061

พิกัด

495 ถนนศุภกิจ ตำบล หน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา 24000 ตำบลหน้าเมือง อำเภออำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ 24000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดเทพนิมิตร ตั้งอยู่ที่ตําบลหน้าเมือง (สมัยก่อนเป็นตําบลบ้านใหม่) เดิมเข้าใจว่าเป็นที่พํานักสงฆ์มาก่อน เพราะที่ดินแปลงนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ พระอ่อน เทวนิโภ (ภายหลังเป็นพระครูศิริปัญญามุนี) พํานักอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ได้เดินทางมาพํานักอยู่ ณ ที่นี้และมีวิริยะแรงกล้าที่จะสร้างวัดขึ้น จึงได้แสดงธรรมเทศนาแก่ทายกทายิกาในละแวกนั้น จนมีผู้ศรัทธาชักชวนกนซื้อที่ดินถวายอีก และยกเย้าเรือนถวายเป็นกุฏิสงฆ์ พระอ่อน เทวนิโภ ได้ลงมือสร้างกุฏิสงฆ์ให้เป็นระเบียบเพียงพอแก่พระภิกษุสามเณร สร้างหอฉันท์ หอสวดมนต์ และศาลาเล็ก ๆ อีก ๒ หลัง จนปี พ.ศ. ๒๔๑๘ ได้เริ่มสร้างพระอุโบสถขึ้น เสร็จในราว พ.ศ. ๒๔๒๒ แล้วขนานนามว่า “วัดเทพนิมิตร” และมอบให้พระอาจารย์ท้วมปกครองวัดแทน ปัจจุบันวัดเทพนิมิตรมีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๕ ไร่เศษ ตั้งอยูในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ได้แก่ พระประธานประจําพระอุโบสถ เป็นพระเก่าแก่มีอายุหลายร้อยปี พระครูศิริปัญญามุนี(อ่อน เทวนิโภ) ได้มาจากวัดแห่งหนึ่งทางจังหวัดราชบุรี เนื้อทองสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง ปางสมาธิ สังฆาฏิ จีวร ลายดอกพิกุล กล่าวกันว่า ถ้าใครจะทํางานบุญในวัดหรือนอกวัดก็ดี ถ้าหากฝนจะตกหรือเป็นฤดูฝน เมื่อได้บนบานท่านแล้ว ฝนจะไม่ตกเลยแม้ฟ้าจะครึ้มฝนก็ไม่ตก หรือผู้ที่ไม่อยากเป็นทหารถ้าได้บนบานท่านแล้ว ก็มักจะรอดพ้นจากการถูกเกณฑ์ทหารไปได้ (ชาวบ้านเรียกพระประธานองค์นี้ว่า “หลวงพ่อโต” และนิยมบนด้วยประทัด) อนึ่งวัดนี้ได้รับพระราชทานพระรูปหล่อรัชกาลที่ ๘ รูปหนึ่ง เป็นทองแดงลักษณะกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๔๔ ซม. เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ ซึ่งปัจจุบันพระบรมรูปหล่อนี้ประดิษฐานไว้ด้านหน้าพระอุโบสถวัดเทพนิมิตร

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2019-08-06

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร