ละติจูด 7.21537836 , ลองจิจูด 100.59580488725
พิกัด
ตำบลบ่อยาง อำเภออำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90000
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
อนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน สถาน หลักเมือง
ความสำคัญ/ลักษณะ
นางเงือกทอง (Golden Mermaid) เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของแหลมสมิหลา จ.สงขลา ได้นักท่องเที่ยวจำนวนมากนิยมจะไปถ่ายภาพคู่กับนางเงือก โดย “นางเงือกทอง” ถูกสร้างขึ้นตามนิยายปรัมปราของไทยโบราณ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ได้บอกเล่าไว้ว่า
“วันดีคืนดีนางเงือกจะมานั่งหวีผมบนชายหาดด้วยหวีทองคำ วันหนึ่งบังเอิญว่ามีชายชาวประมงเดินผ่านมา ทำให้นางเงือกตกใจ รีบหนีลงทะเลไปโดยลืมหวีทองคำไว้ ฝ่ายชาวประมงเห็นดังนั้นก็เก็บหวีทองคำไว้และเฝ้าคอยนางเงือกที่หาดนั้นเสมอ แต่นางเงือกก็ไม่เคยปรากฏกายให้เห็นอีกเลย”
นอกจากนี้ แผ่นจารึกที่ประติมากรรมนางเงือกทอง สร้างขึ้นในปี 2509 ในท่านั่งหวีผม ซึ่งได้หล่อขึ้นด้วยบรอนซ์รมดำ โดยฝีมือการออกแบบ ปั้น และหล่อ โดยอาจารย์จิตร บัวบุศย์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพาะช่าง ด้วยงบประมาณราคา 60,000 บาท ซึ่งทุกๆ วันที่ 1 เมษายน ถือเป็นวันเกิดของนางเงือกทองอีกด้วย
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
เมื่อเวลาประมาณ 22.00 น. คืนวันที่ (26 ธ.ค.2562) ได้เกิดเสียงระเบิดดังขึ้น 2 จุดในเวลาไล่เลี่ยกัน บริเวณชายหาดแหลมสมิหลา เขตเทศบาลนครสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา โดยจุดที่เกิดระเบิดอยู่ตรงบริเวณ “รูปปั้นนางเงือกทอง” ซึ่งเป็นแลนด์มาร์ก และ “รูปปั้นหนูกับแมว” บริเวณใกล้กันที่แสดงถึงตำนานความเป็นมาคู่เมืองสงขลา โดยอยู่ห่างกันประมาณ 200 เมตร โดยแรงระเบิดทำให้หางของนางเงือกทอง สัญลักษณ์ของจังหวัดสงขลาขาดออกจากลำตัว
ปัจจุบันมีการซ่อมแซมและรับขวัญ เรียบร้อยแล้ว
แก้ไขเมื่อ
2020-10-30
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | รายละเอียด | งบประมาณ | เอกสาร | สถานะ |
---|
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | งบประมาณ | วันที่รายงาน | เอกสาร |
---|