ละติจูด 13.4425499818 , ลองจิจูด 99.9462860231
พิกัด
ตำบลบางช้าง อำเภออำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ตำบลบางช้าง อำเภออำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม รหัสไปรษณีย์ 75110
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
วัด วัดร้าง ศาสนสถาน
ความสำคัญ/ลักษณะ
วัดบางพรหม เป็นวัดโบราณสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างมานานมากกว่า 200 ปี ประกาศจัดตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2325 โดยมีความเชื่อเล่าสืบต่อกันมาว่า มีเชื้อพระวงศ์ได้ซื้อที่ดินประมาณ 6 ไร่ เพื่อให้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้น แล้วตั้งชื่อว่า "วัดบางพรหม" ตามชื่อที่ตั้งของวัดตรงปากคลองบางพรหม ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง วัดบางพรหมมีสภาพเหมือนวัดอื่นทั่วไป คือมีช่วงที่เจริญรุ่งเรื่องและเสื่อมทรุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าอาวาส ในสมัยหลวงพ่อกลัดเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้รับความศรัทธาจากชาวบ้านและชุมชนในท้องถิ่นให้ความร่วมมือสนับสนุน จนวัดนี้เจริญขึ้นเป็นลำดับ จนได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2350 ต่อมาในสมัยหลวงพ่อแดงและ หลวงพ่อรุ่ง เป็นเจ้าอาวาสวัด ได้พัฒนาวัดให้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ มีการปฏิสังขรณ์ และก่อสร้างถาวรวัตถุที่จำเป็นแก่วัด วัดบางพรหมจึงดำรงอยู่ได้จนทุกวันนี้ ปัจจุบันวัดบางพรหมเป็นวัดที่สะอาดมีระเบียบเรียบร้อย เพราะความสามารถของเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
วัดบางพรหมสามารถเข้ามานมัสการกราบไหว้สิ่งศักดิ์ที่วัดแห่งนี้ได้ 2 ทาง คือ ทางเรือขึ้นฝั่งที่หน้าวัด ก็จะกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หน้าพระอุโบสถ และภายในพระอุโบสถได้ตามศรัทธาถ้ามาทางรถก็ขับมาตามเส้นทางถนนแม่กลอง-บางนกแขก เลยตลาดน้ำอัมพวาเข้ามานิดหน่อยก็ถึงวัด เดินทางได้สะดวกทั้ง 2 ทาง เมื่อเข้ามาภายในวัดแห่งนี้ก็จะพบโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่สำคัญ ได้แก่
1. พระอุโบสถ อาคารก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องลดชั้น 2 ชั้น ซ้อนกันชั้นละ 3 ตับ ใบเสมาปูนปั้นรูปหัวเม็ดทรงมัณฑ์ เอวเสมาเหนือฐานบัวคอดกิ่ว ตรงมุมสลักเป็นเศียรนาคใบเสมามีลวดลายคล้ายสังวาลย์ประดับ ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธาน แกะสลักด้วยศิลาแดง ปางมารวิชัย สร้างมาพร้อมกับการสร้างวัด เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ด้านหน้าพระอุโบสถมีพระพุทธรูปเก่าแก่ทรงเครื่อง ชาวบ้านเรียกว่าหลวงปู่บางพรหม ไปกราบสักการะขอพรเพื่อความเป็นศิริมงคล
2. วิหารพระพุทธมงคลพรหมรังษี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอู่ทองแกะสลักด้วยหินทรายแดง เป็นชิ้นส่วนและนำมาประกอบลงรักษ์ปิดทอง สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารด้านหน้าที่ติดถนน
3. พระเจดีย์องค์ใหญ่สีทอง ก่ออิฐถือปูนทรงระฆัง ฐานเจดีย์เป็นฐานหน้ากระดานกลมมีบัวซ้อนกัน 5 ชั้น พระพุทธรูปตั้งอยู่โดยรอบฐานเจดีย์ ลักษณะเป็นชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายแดงองค์พระพุทธรูปมีแกนด้านในเป็นไม้ เจดีย์บรรจุพระพุทธรูป ทอง นาก เงิน 1 องค์ สร้างมาพร้อมกับวัด และทางวัดได้ปฏิสังขรณ์ใหม่ เป็นเจดีย์องค์ใหญ่สีทอง
แก้ไขเมื่อ
2023-07-04
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | รายละเอียด | งบประมาณ | เอกสาร | สถานะ |
---|
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | งบประมาณ | วันที่รายงาน | เอกสาร |
---|