ละติจูด 16.4200289966 , ลองจิจูด 101.160006041
พิกัด
ตำบลในเมือง อำเภออำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ รหัสไปรษณีย์ 67000
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์
ความสำคัญ/ลักษณะ
ประวัติความเป็นมา
กำแพงเมืองเพชรบูรณ์ได้ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางสมัย กรุงศรีอยุธยา เมื่อประมาณ 500 ปีที่แล้ว ประกอบด้วยแนว กำแพงเมืองทั้ง 4 ด้าน มีป้อมปราการทั้ง 4 มุม ได้แก่ ป้อมศาลเจ้าพ่อ ป้อมถนนหลักเมือง ป้อมสนามชัย ป้อมศาลเจ้าแม่ และมีประตูเมืองอยู่ กึ่งกลางกำแพงแต่ละด้านทั้ง 4 ทิศ ได้แก่ ประตูโพธิ์เย็น ประตูดาว (ประตูผี) ประตูประชาสรรค์ และประตูชุมพล ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึงการสร้างเมืองเพชรบูรณ์ ในคราวที่เสด็จมาตรวจราชการที่เมืองเพชรบูรณ์ เมื่อ พ.ศ.2447 ความว่า “ตัวเมืองเพชรบูรณ์เป็นเมืองที่มีป้อมปราการสร้างมาแต่โบราณ เห็นได้ว่าตั้งเป็นเมืองด่านหน้าโดยเลือกที่ชัยภูมิตรงแนวภูเขาเข้ามาใกล้กับลำน้ำป่าสัก ทางเดินทัพแคบกว่าแห่งอื่น ตั้งเมืองสกัดทางน้ำปราการทั้งสองฟาก เอาแม่น้ำป่าสักไว้กลางเมือง เช่น พิษณุโลก สังเกตตามรอยที่ยังปรากฎเห็นได้ว่า สร้างเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกสร้างในสมัยกรุงสุโขทัย แนวปราการขนาดยาวด้านละ 20 เส้น เดิมเป็นแต่ถมดินปักเสาระเนียดข้างบน มาสร้างใหม่ในที่อันเดียวกันกับเมืองสมัยกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง ร่นแนวเข้ามา และมีป้อมปราการรายรอบสำหรับสู้ข้าศึกจะยกมาแต่ล้านช้าง”
องค์ประกอบสำคัญของแหล่งมรดก
ป้อมปราการ ประตูเมือง และกำแพงเมืองเก่าของเมืองเพชรบูรณ์ สร้างขึ้นใน 2 ยุค ดังนี้
1. สมัยแรกอยู่ในยุคสุโขทัย ลักษณะกำแพงเมืองจะเป็นรูปวงรี สร้างเป็นคันดินและคูน้ำ ปัจจุบันยังสามารถพบได้ ตามถนนสันคูเมืองทั้งหมด อ้อมไปทางสำนักงานยาสูบเพชรบูรณ์ ตามคูน้ำข้างโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ไปจนบรรจบกับแนวถนนสันคูเมืองอีกทีหนึ่ง
2. สมัยที่ 2 สร้างขึ้นประมาณยุคกลางของกรุงศรีอยุธยา สันนิฐานว่าน่าจะเป็นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะมีกำแพงเมืองหลายแห่งได้ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะอย่างเดียวกันในสมัยนั้นด้วย แนวกำแพงเมืองในยุคนี้จะมีลักษณะ 4 เหลี่ยมจัตุรัส และมีขนาดเล็กกว่ายุคสุโขทัย ประกอบด้วยป้อมปราการและกำแพงที่ก่อสร้างด้วยอิฐ โดยเฉพาะที่ประตูเมืองจะมีหินทรายประกอบจำนวนมากด้วยสาเหตุที่ต้องสร้างป้อมปราการและกำแพงเมืองให้แข็งแรงขึ้นนั้นเพราะได้มีการนำปืนไฟเข้ามาใช้ในการศึกสงครามระหว่างกันในภูมิภาคนี้ พระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นจึงได้บัญชาให้หัวเมืองต่าง ๆ เปลี่ยนแนวกำแพงเมืองจากคันดินคูน้ำ ให้เป็นกำแพงอิฐถือปูนประกอบด้วยศิลา อันจะคงทนสามารถต่อสู้กับการยิงปืนไฟได้
กำแพงเมืองในยุคที่ 2 ยังคงมีซากและแนวให้เห็น คือ ป้อมปราการ 4 มุม ซึ่งการสร้างป้อมทุกแห่งอยู่ล้ำแนวกำแพงออกมาเป็นลักษณะธนู
- ป้อมที่ 1 คือป้อมที่เป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองในปัจจุบัน
- ป้อมที่ 2 คือป้อมที่อยู่บริเวณทางเลี้ยวถนนหลักเมืองก่อนจะไปทางวัดโพธิ์เย็น
- ป้อมที่ 3 คือป้อมที่อยู่ด้านในของถนนสนามชัยก่อนถึงแยกต้นหว้า
- ป้อมที่ 4 คือป้อมที่อยู่บริเวณศาลเจ้าแม่ ตรงสุดถนนเพชรรัตน์ ซึ่งป้อมทั้งหมดจะก่อด้วยอิฐสูงกว่ากำแพงเมือง ด้านบนปูด้วยอิฐเป็นรูปก้างปลา มีอิฐที่เป็นรูไว้ใช้ปักเสาไม้เพื่อทำหลังคา
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
ป้อมปราการ ประตูเมือง และกำแพงเมืองเก่าของเมืองเพชรบูรณ์บางจุดขาดการดูแลถูกทิ้งร้าง บางจุดไม่หลงเหลือโบราณสถานให้เห็น
แก้ไขเมื่อ
2024-08-23
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | รายละเอียด | งบประมาณ | เอกสาร | สถานะ |
---|
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | งบประมาณ | วันที่รายงาน | เอกสาร |
---|